วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551

6. ประเด็นที่สนใจใน รม.621

ในวิชา รม.621 “การเมืองการปกครองไทย” ประเด็นที่ผมสนใจ คือประเด็น ของ “อำนาจเศรษฐกิจกับการเมืองไทย” สามารถช่วยให้ ประชาธิปไตย พัฒนา ได้อย่างไร
ระบบอบประชาธิปไตย ทุนนิยม และ เสรีนิยม เป็นสิ่งที่เติบโตไปด้วยกัน และ ระบบทุนนิยม มักก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ความเป็นปัจเจกชน ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยหลักของสังคม ในระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ย่อมไม่เกิดขึ้น เนื่องจากปัจเจกชน ต้องเป็นอิสระไม่พึ่งพาใคร จึงจะมีอิสระต่อความคิด และการตัดสินใจ และถ้าประชาชนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ความเป็นอิสระจะลดลง ต้องพึ่งพานายทุน ทำให้ผู้นำที่ฉลาด สามารถดึงดูด คนยากจน โดยการให้ทรัพย์สินและ ความช่วยเหลือคนจึงมองว่า เศรษกิจ แบบทุนนิยม เป็น ตัวบั่นทอนระบบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม
เจเรมี เบนแทรม ผู้เผยแพร่ ลัทธิประโยชน์นิยม (utilitarianism) ซึ่งมาจากพื้นฐานคำอธิบายลัทธิเสรีนิยมใน ศตวรรษที่ 19 ของ อดัม สมิท นักคิดในกลุ่ม คลาสสิก เคยใช้หลักประโยชน์นี้เรียกร้องเสรีภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะมาแล้ว เห็นว่าเสรีภาพของปัจเจกชนเป็นสิ่งสำคัญ และ ถือว่ามนุษย์ควรมีเสรีภาพเพราะจะทำให้มนุษย์ ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งต่างกับ แนวการอธิบายเดิมตามหลัก เหตุผลนิยม(rationalism) ของ จอห์น ลอค ที่ว่า อิสรภาพและเสรีภาพเป็นสิทธิมูลฐานของมนุษย์ สิทธินี้เกิดมาจากความเป็นผู้เป็นเหตุผลของมนุษย์ เบนแทรม มีความเห็นว่า รัฐทีดีควรเป็นประชาธิปไตย เพราะรัฐประชาธิปไตยรัฐบาลเป็นรัฐบาลของประชาชน เนื่องจากประชาชนเป็นผู้รู้ดีที่สุดว่าสิ่งใดจะนำความพอใจสูงสุดมาสู่เขา ในด้านเศรษฐกิจ เบนแทรมเสนอให้ปัจเจกชนมีสิทธิประกอบกิจการเศรษฐกิจได้ตามใจชอบ ลัทธิเสรีนิยมบนพื้นฐานการอธิบายของเบนแทรมตามหลักแห่งประโยชน์ มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดเศรษฐกิจการเมืองอังกฤษในศตวรรษที่ 19 และเป็นพื้นฐาน ความคิดทางเศรษฐกิจการเมืองของพรรคเสรีนิยมของอังกฤษ
เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficient Economy)
1. ความพอเหมาะพอควร
2. ความมีเหตุมีผล ในการจัดการกับชีวิต ความเป็นอยู่ เศรษฐกิจสังคมอย่างมีหลักวิชา
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี มัหลักประกันว่าสิ่งที่ทำจะมั่นคงยั่งยืน
สามขั้นตอนแก้ปัญหาความยากจน (p.9-11)
1. รอด (survive)
2. พอเพียง (sufficient)
3. ยั่งยืน (sustainable)
เศรษฐกิขชุมชนถูกทำลาย
หนี้ภาคครัวเรือน (แสนกว่าบาท)
ดัชนีความสุขโลก (HPI:happy planet Index) อันดับที่ 32 จาก 178 ประเทศ
กฎหมาย จริยธรรม และความพอเพียง รวมทั้งจารีต ประเพณี วิถีชีวิตของผู้คนที่เชื่อถือและถือกันมาเป็แนวปฏิบัติ
การพัฒนาชุมชนอย่ายั่งยืน (p. 74,ตย.ลุงประยงค์ ผู้ได้รับรางวัล แมกไซไซเมื่อปี 2547)
ตย.ผู้ใหญ่ วิบูลย์ เข็มเฉลิม (ห.๗๗, p8-9)
ชุมชนเรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง
ระบบดีมีพลัง สร้างความยั่งยืน
สู้ด้วยยุทธศาสตร์ รบด้วยปัญญา ชนะด้วยความรู้
ชุมชนเข้มแข็งความฝันกับความเป็นจริง
การแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อสุขภาวะของปวงชน
1. นโยบายการพัฒนาของรัฐ
2. นโยบายของรัฐเพื่อแก้ปัญหาความยากจน
3. แนวคิดและแนวปฏิบัติของชุมชน(p113, ตย.ผู้ใหญ่ วิบูลย์ เข็มเฉลิม, อินแปง, ไม้เรียง,
4. เศรษฐกิจพอเพียง จุดเชื่อมต่อระหว่างแนวทางของรัฐ และ แนวทางของชุมชน
5. ข้อเสนอเพื่อชุมชนแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง และผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข