วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551

6. ประเด็นที่สนใจใน รม.621

ในวิชา รม.621 “การเมืองการปกครองไทย” ประเด็นที่ผมสนใจ คือประเด็น ของ “อำนาจเศรษฐกิจกับการเมืองไทย” สามารถช่วยให้ ประชาธิปไตย พัฒนา ได้อย่างไร
ระบบอบประชาธิปไตย ทุนนิยม และ เสรีนิยม เป็นสิ่งที่เติบโตไปด้วยกัน และ ระบบทุนนิยม มักก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ ความเป็นปัจเจกชน ซึ่งถือว่าเป็นหน่วยหลักของสังคม ในระบอบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม ย่อมไม่เกิดขึ้น เนื่องจากปัจเจกชน ต้องเป็นอิสระไม่พึ่งพาใคร จึงจะมีอิสระต่อความคิด และการตัดสินใจ และถ้าประชาชนไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ความเป็นอิสระจะลดลง ต้องพึ่งพานายทุน ทำให้ผู้นำที่ฉลาด สามารถดึงดูด คนยากจน โดยการให้ทรัพย์สินและ ความช่วยเหลือคนจึงมองว่า เศรษกิจ แบบทุนนิยม เป็น ตัวบั่นทอนระบบประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม
เจเรมี เบนแทรม ผู้เผยแพร่ ลัทธิประโยชน์นิยม (utilitarianism) ซึ่งมาจากพื้นฐานคำอธิบายลัทธิเสรีนิยมใน ศตวรรษที่ 19 ของ อดัม สมิท นักคิดในกลุ่ม คลาสสิก เคยใช้หลักประโยชน์นี้เรียกร้องเสรีภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะมาแล้ว เห็นว่าเสรีภาพของปัจเจกชนเป็นสิ่งสำคัญ และ ถือว่ามนุษย์ควรมีเสรีภาพเพราะจะทำให้มนุษย์ ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งต่างกับ แนวการอธิบายเดิมตามหลัก เหตุผลนิยม(rationalism) ของ จอห์น ลอค ที่ว่า อิสรภาพและเสรีภาพเป็นสิทธิมูลฐานของมนุษย์ สิทธินี้เกิดมาจากความเป็นผู้เป็นเหตุผลของมนุษย์ เบนแทรม มีความเห็นว่า รัฐทีดีควรเป็นประชาธิปไตย เพราะรัฐประชาธิปไตยรัฐบาลเป็นรัฐบาลของประชาชน เนื่องจากประชาชนเป็นผู้รู้ดีที่สุดว่าสิ่งใดจะนำความพอใจสูงสุดมาสู่เขา ในด้านเศรษฐกิจ เบนแทรมเสนอให้ปัจเจกชนมีสิทธิประกอบกิจการเศรษฐกิจได้ตามใจชอบ ลัทธิเสรีนิยมบนพื้นฐานการอธิบายของเบนแทรมตามหลักแห่งประโยชน์ มีอิทธิพลอย่างมากต่อความคิดเศรษฐกิจการเมืองอังกฤษในศตวรรษที่ 19 และเป็นพื้นฐาน ความคิดทางเศรษฐกิจการเมืองของพรรคเสรีนิยมของอังกฤษ
เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficient Economy)
1. ความพอเหมาะพอควร
2. ความมีเหตุมีผล ในการจัดการกับชีวิต ความเป็นอยู่ เศรษฐกิจสังคมอย่างมีหลักวิชา
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดี มัหลักประกันว่าสิ่งที่ทำจะมั่นคงยั่งยืน
สามขั้นตอนแก้ปัญหาความยากจน (p.9-11)
1. รอด (survive)
2. พอเพียง (sufficient)
3. ยั่งยืน (sustainable)
เศรษฐกิขชุมชนถูกทำลาย
หนี้ภาคครัวเรือน (แสนกว่าบาท)
ดัชนีความสุขโลก (HPI:happy planet Index) อันดับที่ 32 จาก 178 ประเทศ
กฎหมาย จริยธรรม และความพอเพียง รวมทั้งจารีต ประเพณี วิถีชีวิตของผู้คนที่เชื่อถือและถือกันมาเป็แนวปฏิบัติ
การพัฒนาชุมชนอย่ายั่งยืน (p. 74,ตย.ลุงประยงค์ ผู้ได้รับรางวัล แมกไซไซเมื่อปี 2547)
ตย.ผู้ใหญ่ วิบูลย์ เข็มเฉลิม (ห.๗๗, p8-9)
ชุมชนเรียนรู้ชุมชนเข้มแข็ง
ระบบดีมีพลัง สร้างความยั่งยืน
สู้ด้วยยุทธศาสตร์ รบด้วยปัญญา ชนะด้วยความรู้
ชุมชนเข้มแข็งความฝันกับความเป็นจริง
การแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อสุขภาวะของปวงชน
1. นโยบายการพัฒนาของรัฐ
2. นโยบายของรัฐเพื่อแก้ปัญหาความยากจน
3. แนวคิดและแนวปฏิบัติของชุมชน(p113, ตย.ผู้ใหญ่ วิบูลย์ เข็มเฉลิม, อินแปง, ไม้เรียง,
4. เศรษฐกิจพอเพียง จุดเชื่อมต่อระหว่างแนวทางของรัฐ และ แนวทางของชุมชน
5. ข้อเสนอเพื่อชุมชนแข็งแรง เมืองไทยแข็งแรง และผู้คนอยู่เย็นเป็นสุข

5. บริโภคนิยม (ส่วนหนึงของ รม.633)

แนวข้อสอบ รม.633
ลองตอบคำถามสั้นๆ
1. “บริโภคนิยม” คืออะไร?
“บริโภคนิยม” เป็นคำที่ มีความหมายครอบคลุมมากกว่า การซื้อ การขาย สินค้า แต่รวมถึง วัฒนธรรม สังคม วิถีชิวิต การพักผ่อนหย่อนใจ บริโภคนิยม ไม่ใช่การหลงไหลฟุ้งเฟื้อในการบริโภค แต่เป็นการ นิยม หรือ ปรารถนา (desire) ในการบริโภค ก่อนศตวรรษที่ 18 บริโภค (consumption) ไม่ได้มีความหมายจำกัดอยู่เฉพาะในแวดวง การเมือง และ เศรษฐกิจเท่านั้นในศตวรรษที่ 17 ในทางการแพทย์ Consumption หมายถึง วัณโรค และ หมายถึงการเก็บภาษีของพาณิชยนิยม (mechanism) ซึ่งสังคมยุโรป และ พ่อค้า เริ่มใช้คำนี้ในราว ปี ค.ศ. 1663 ในศตวรรษที่ 18 การบริโภค (consumption) จึงเกิดคู่กับ การผลิต (production) จากการทำงบประมาณ (Budget) เพื่อพิจารณาคาดการณ์การเสียภาษี ตามแนวคิดของ ฟิซิโอแครตส์ (Physiocrates) การบริโภคเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ในสมัยโบราณ และ กฎหมายอนุญาติให้คนชั้นสูงเท่านั้นที่ สามารถบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ชนชั้นล่างแม้มีเงินก็ ไม่อาจบริโภคได้ เพราะ กฎหมาย และ “ทุนทางวัฒนธรรม culture capital” ทีแต่ละชนชั้นมีไม่เท่ากัน เป็นตัวกำหนด รสนิยม และ ความรู้เกี่ยวกับสินค้าฟุ่มเฟือย การขยายตัวของการบริโภค ขยายตัวลงมาสู่ชนชั้นล่าง ชัดเจนในศตวรรษที่ 18 ที่เรียกได้ว่า “การปฏิวัติการบริโภค (Consumption Revolution)” มีการขยายตัวของร้านค้าพาณิชย์ การขยายตัวของเครดิต และ การโฆษณา โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงเวลาพิเศษของ การบริโภค เพราะการขยายตัวของระบบการผลิตครั้งละมากๆ หรือ เป็นโหลๆ ที่เรียกว่า mass production ทำให้สินค้ากระจายไปทุกชนชั้น ทำให้เกิด “สังคมบริโภค” ซึ่งในประวัติศาสตร์ก่อนหน้านั้นก็มีการผลิตครั้งละมากๆมาก่อน การผลิต เสื้อผ้า เช่น เบียร์
2. ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่าง ” บริโภคนิยม (Consumerism)” กับ “ประชานิยม (Populism)”
ในสายตาของนักธุรกิจ มองว่าการบริโภค ในสหรัฐอมเริกา นับแต่ทศวรรษ 1920 เป็นต้นมา เป็นกรอบคิดของ “สังคมนิยม” หัวใจสำคัญของการเผชิญหน้าระหว่าง ผู้ใช้แรงงาน แล บรรษัท กลไกของการบริโภคทั้งหมดอยู่ภายใต้ “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ (Human Dignity)” การบริโภคดังกล่าวจึงเป็น “บริโภคนิยม (Consumerism)” ด้วยอุดมการณ์ของ “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” จึงทำให้ การบริโภคนิยม มีลักษณะเป็น “ประชานิยม (Populism)” ไปในตัว ในกรณีนี้ “ประชานิยม” ที่เชื่อมต่อกับ “บริโภคนิยม” เป็นกลไกในการจัดการให้ ชนชั้นแรงงานได้รับค่าแรงที่สูง เพื่อนำไปซื้อสินค้าที่ “จำเป็น” ภายใต้กรอบหรืออุดมการณ์ของ “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” ที่สร้างให้เกิดสำนึกแห่งความเท่าเทียมกัน เพื่อเป็น “มาตรฐานการครองชีพแบบอเมริกัน” นอกจากนี้ภายใต้ Social Security Act 1935 ซึ่งเป็นประกันสังคมของชนชั้นแรงงาน ว่าจะมีเงินใช้เมื่อยามแก่เฒ่า รัฐจึงมีบทบาทอย่างมากในการผลักดันให้ “การบริโภค” ซึ่งเป็น อาณาเขตของ “ประชาสังคม (Civil society) บรรลุเป้าหมายอย่างเต็มที่ โดยรัฐบาลเป็นกรรมการในการตอบสนองความต้องการและแรงปรารถนา (desire) ของ “ปัจเจก (ส่วนบุคคล)” ที่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับ Rationality และ สุดท้ายก็นำไปสู่สิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคม “สาธารณะประโยชน์ (Public bebefit)” ตามแนวคิดของ มองเดอร์วิลล์ (Bernard de Mandeville) ชาว ร็อตเตอร์ดาม (Rotterdam) ซึ่งผลงานของเขาเป็นงานที่ปราศจากอิทธิพลของ ศีลธรรม และ กรอบคิดของ คริสต์ศาสนา
3. บริโภคนิยม เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองหรือไม่? และ อย่างไร?
อุดมการณ์ทางการเมือง เป็นรากฐานความคิดทางการเมืองว่าระบบที่ดีควรเป็นอย่างไร เป็นไปตามความเชื่อ อุดมการณ์ทางการเมือง แบบ เสรีนิยม (Liberalism) สังคมนิยม (Socialism) ทุนนิยม (capitalism) ฯลฯ
บริโภคนิยม (Consumerism) สามารถเป็นอุดมการณ์ที่เชื่อมโยงเข้ากับระบอบ การเมืองไม่ว่า จะเป็น เสรีนิยม สังคมนิยม หรือ ทุนนิยม ได้ทั้งสิ้น จึงเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง
ในปลายทศวรรษ 1920 ที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง (Great Depression) รูสเวลล์ ประธานาธิดีคนที่ 32 ของสหรัฐ ถึงกับประกาศโยบาย ที่เน้นการบริโภค ในตอนหาเสียงว่า “อนาคตไม่ใช่เรื่องของการผลิต แต่อยู่ที่การบริโภค” ตามนโยบายเศรษฐกิจแบบ เคนเซียน ที่ทำให้นักธุรกิจ อเมริกา หวาดวิตก ในการควบคุมราคาสินค้าภายใต้นโยบายของ รูสเวลล์ ซึ่งเป็นการแทรกแซงตลาด แต่ก็เป็นอุดมการณ์ที่ทำไปเพื่อ “สาธารณะประโยชน์” ซึ่งทำให้นักธุรกิจอเมริกัน มองว่าการ บริโภค หรือ บริโภคนิยม ในทศวรรษที่ 20 เป็นต้นมาเป็นกรอบคิดของกระแส “สังคมนิยม”

ในปี ค.ศ. 1930 สตาลิน ผูนำโซเวียต ก็เคยเร่งผลิตสินค้าฟุ่มเฟือย อย่าง แชมเปญ ให้ กรรมกรบริโภค เพื่อการมีชีวิตที่ดีหรูหราขึ้น (good life) ในยามภาวะเศรษกิจตกต่ำ ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเชื่อมโยงกับ ประชานิยม (populism)
“6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทย” ของ รัฐบาล นายก สมัคร สุนทรเวช ก็เน้น บริโภคนิยม ด้วยการแทรกแซงตลาดทั้งสินค้าและบริการ เพื่อดูแล “สาธารณะประโยชน์” ของชนชั้นล่าง ซึ่งมีลักษณะเป็น “ประชานิยม” แต่อย่างไรก็ตามกลไกทั้งหมดอยู่ภายใต้ “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” ตามแนวคิดของ มองเดอร์วิลล์
บริโภคนิยม ตามแนวคิดของ มองเดอร์วิลล์ ให้อรรถาธิบายว่า “การบริโภค” เป็นการจรรโลง ให้ผู้บริโภคมีแต่ “อัตตา” เพื่อประโยชน์ส่วนตน ในอาณาเขตประชาสังคม และในที่สุดก็กลับนำมาซึ่งคุณค่าทางสังคม หรือ “ประโยชน์สาธารณะ” การต่อสู้ของขบวนการ ผู้บริโภค ตลอดจน คุณภาพของสินค้า เพื่อการบริโภค จึงเป็ตัวขับเคลื่อนให้เกิด สถาบัน (Institution) ขึ้นมา เช่น เศรษฐศาสตร์ และโยง ศาสตร์นั้นๆ เข้ากับ ความเป็น รัฐประชาชาติ (National State) ซึ่ง นัก เศรษฐศาสตร์ อย่าง อัลเฟด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall) เห็นว่า ร่างกาย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการบริโภค นั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของ รัฐประชาชาติ
ในปลายศตวรรษที่ 19-ถึงต้นศตวรรษที่ 20- การเมืองการบริโภค ให้ความสำคัญกับการพิทักษ์ผลประโยชน์ของการบริโภค ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่ที่เฉพาะตัวสินค้า แต่พิทักษ์ผลประโยชน์ในเรื่องของเวลาด้วย เช่น การตอกบัตรเข้า-ออก ในการทำงาน การลาพักร้อน หรือ วันหยุด
การบริโภค ในอเมริกาเป็นเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) จากการผลิตแบบครั้งละมากๆ หรือแบบเป็นโหลๆ (mass production) ทำให้คนชั้นกลาง และ ชั้นล่าง สามารถบนิโภคสินค้าได้เท่าเทียมกัน เพราะสินค้าที่เคยเป็นสินค้า ฟุ่มเฟือย เมื่อมีการผลิต ครั้งละมากๆก็ทำให้ต้นทุน แล ราคาขาย ลดลง ทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยกลายเป็นสินค้าธรรมดา และ สินค้าความฟุ่มเฟือย กลายเป็นสินค้าจำเป็นไป
4. บริโภคนิยม นำมาเป็นอุดมการณ์ ทางการเมือง ของไทยได้หรือไม่ ? และ คิดว่ามีผลดี-ผลเสีย อย่างไร ต่อประเทศไทย?
5. ความสัมพันธ์ และ ผลกระทบ ของ “บริโภคนิยม” ต่อ ระบบเสรีประชาธิปไตย ปัจเจกชน (individual) และ ประโยชน์สาธารณะ (public benefit)
6. มาตรการ รับวิกฤตน้ำมันของ รัฐบาล สมัคร สัมพันธ์ กับ กับอุดมการณ์ “บริโภคนิยม” อย่างไร?
6 มาตรการ รับมือวิกฤตการณ์น้ำมัน ของรัฐบาล สมัคร ซึ่งมีผล 1 สิงหาคม 2551 นี้ คือ
1.มาตรการลดภาษีน้ำสรรพสามิตน้ำมันทั้งดีเซล ก๊าซโซฮอลล์ ทั้ง 91 และ 95
2.มาตรการชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้ม
3.มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน
4.ลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าของครัวเรือน
5.มาตรการลดค่าเดินทางรถโดยสารประจำทาง และ
6.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถไฟชั้น 3 โดยมาตรการดังกล่าวจะมีระยะเวลา
แนวความคิด ของ เบลลามี (Edward Bellamy) ใน Looking Backward เมื่อปี 1988 เชื่อว่า ความมั่คั่งของ ประเทศไม่ได้อยู่ที่ การผลิต (production) แต่อยู่ที่สิทธิในการบริโภค โดย การบริโภค เป็น “สิทธิของประชา (Civic Right)” ซึ่งเป็นความหมายใหม่ของ “การบริโภค” ที่เชื่อมโยง การบริโภค เข้ากับ “การเมือง” และ “ความเป็นพลเมือง (Citizenship)”
ถ้าลองเปรียบเทียบเทียบดูจะเห็นว่า ปลายทศวรรษ 1920[1] ที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างแรง (great depression) ประธานาธิบดี คนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา แฟรงคลิน รูสเลต์ (Franklin D. Roosevelt) ได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการปัญหาเรื่องการบริโภค จากนโยบายหาเสียงคือ “อนาคตไม่ใช่เรื่องของการผลิต แต่อยู่ที่การบริโภค” ทำให้ถนนทุกสายมุ่งสู่การบริโภค ภายใต้การบริหารของ รูสเวลต์ ตามนโยบายของรัฐบาล แม้นักธุรกิจ อเมริกัน จะหวาดวิตกต่อ ต่อนโยบายเศรษฐกิจ แบบ เคนเซียน ที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงภาคเอกชน และกลัวระบบเศรษฐกิจไร้ประสิทธิภาพ และ ในสายตาของ
นักธุรกิจอเมริกันนับแต่ ทศวรรษ 1920 เป็นต้นมา มองว่า การบริโภค เป็นกรอบคิดของกระแส “สังคมนิยม” ที่บรรษัทเผชิญหน้ากับ ผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากมาตรการของ รูสเวลต์ ควบคุมราคาสินค้า ซึ่งเป็นการละเมิด กลไกของตลาดเสรี แต่ก็เป็นมาตรการณ์เพื่อ “สาธารณะประโยชน์” และในขณะเดี่ยวกันก็มีการขึ้นค่าแรง เพื่อรักษาความสมดุลย์ไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อเมริการักษา “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” (Human Dignity) โดยใช้กลไกการบริโภค การบริโภคของอเมริกันจึงเป็น “บริโภคนิยม” ด้วยอุดมการณ์ ของ”ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมษุษย์” ซึ่งทำให้บริโภคนิยมมีลักษณะเป็น “ประชานิยม” (Populism) ไปในตัว ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อ “ประชานิยม” กับ “บริโภคนิยม” เป็นกลไกในการจัดการให้ชนชั้นแรงงานได้รับค่าแรงที่สูง เพื่อนำไปซื้อสินค้าที่ ”จำเป็น” ภายใต้กรอบ “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” ที่ทำให้เกิดจิตสำนึกแห่งความเท่าเทียมกัน เพื่อเป็น “มาตฐานการครองชีพแบบอเมริกัน”

ซึ่งในสถานะการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทย ประสบภาวะวิกฤต เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นของตลาดโลก ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่มีแนวโน้มต้องขึ้นตามราคาน้ำมัน ทำให้ชนชั้นล่าง และชนชั้นกลาง ประสบปัญหาราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคแม้ในสิ่ง “จำเป็น” และ ปัญหาค่าเงินบาทแข็งตัว ที่รัฐบาลที่ผ่านมาพยายามช่วยเหลือผู้ส่งออกเป็นหลัก (ซึ่งเป็นภาคการผลิต) การออก 6 มาตรการช่วยประชาชนเพื่อให้สามารถคงการ “บริโภค” สินค้าและบริการที่ “จำเป็น” ได้ นอกจากเป็นการแทรกแซงกลไกตลาด เพื่อ”ประโยชน์สาธารณะ”แล้ว ยังเป็นการชลอเงินเฟ้อ ของรัฐบาลจากการขึ้นราคาสินค้าบางรายการด้วย แม้ไม่อาจเทียบได้กับ “มาตรฐานแห่งการครองชีพอเมริกัน” แต่ก็เป็นการรักษาอุดมการณ์ของ “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” แม้บางคนอาจจะเชื่อมโยงไปกับ “ประชานิยม” (Populism) มาตรการระยะสั้น 6 เดือนของรัฐบาลอย่างน้อยก็ชลอความเดือดร้อนของชนชั้นล่าง ได้เช่นเดียวกับนโยบายของ รูสเวลต์ หลังส่งครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้มาตรฐานการแห่งการของชีพของอเมริกัน ดีกว่าคนยุโรป ในช่วงนั้น
แม้ก่อนหน้านั้นไทยจะมีการนำอุดมการณ์เชิงการเมือง “เศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ในช่วงรัฐบาล ที่มาจากรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ที่ไม่สอดคล้องกับกับระบอบเสรีประชาธิปไตย ที่ต้องการความเท่าเทียกัน ของปัจเจก รวมทั้งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ เพราะเศรษฐกิจพอเพียง ตามผลงานและข้อเขียนของ แอนดรูว์ วอล็กเกอร์ นักมนุษย์วิทยา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ออสเตรีย (ANU) แสดงความเห็นประเด็นสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบคิดแบบกำกับควบคุม มันเป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน ทางศีลธรรม และ กรอบศาสนาว่าคนควรใช้ชีวิตอย่างไร มีทัศนที่เป็นลบ ติ่ การบริโภค ที่สังคมชั้นล่างเป็นอยู่ว่าฟุ่มเฟือย โลภ และสุ่มเสี่ยง โดยไม่ได้บอกว่า ชีวิตชนบทจริงๆเป็นเช่นไร เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเคริ่งมือทางการเมืองของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อโจมตีโครงการต่างๆในรัฐบาล ทักษิณ วอล์กเกอร์ ได้ยกประเด็น ที่น่าสนใจอีกข้อหนึ่งในแง่ของ สำนึกทางวัฒนธรรมและศีลธรรมดั้งเดิมของไทย ชุดหนึ่ง ที่มีอยู่ แล้วโยนลงไปที่สังคมชนบท เพื่อให้สอดคล้องกับ อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่คนกรุงเทพฯ มีรถไฟไฟฟ้า ไปห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน และ แทบจะไม่มีใครวิจารณ์หนี้บัตรเครดิตของคนในกรุงเทพฯ แต่การซื้อโทรศัพท์มือถือของคนชนบทกลับเป็นการไม่รู้จักพอเพียง ถูกกดดันด้านศีลธรรม ซึ่งแสดงให้เห็นถึง “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” ในชนบทที่ถุกทำลาย จากการกำกับควบคุม ของอุดมการณ์ทางชนชั้น จึงมีคำถามตามมามากมาย ถึงการมี โทรทัศน์ การมีมือถือ การมีมอเตอร์ไซด์ การส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย หรือ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ เป็นความพอเพียง หรือ ความฟุ่มเฟื่อย ของ “สังคมบริโภค” และ ความพอเพียงของคนในเมือง กับ คนชนบท เท่ากันหรือไม่? มีอะไรเป็นตัวชี้วัดว่า ขนาดไหนคือความพอพียง ขนาดไหนที่เกินความพอเพียง ซึ่งเหมือนในช่วงศตวรรษที่19 ที่ชนชั้นสูงของอังกฤษใช้ การแต่งตัวที่เรียบง่าย และ ความประหยัด เน้นความขยันหมั่นเพียร ไม่ทำตัวฟู่ฟ่าหรูหรา เป็นทางผ่านแห่งกลไกทางอำนาจไปสู่ชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง โดยใช้สำนึกเรื่องความพอเพียงซึ่งเป็นสำนึกของการแสดงสถานะ ซึ่งเป็นค่านิยมที่ปฏิเสธ “วิถีชีวิต และ ความคิด แบบพ่อค้า”
สุดท้าย “เศรษฐกิจพอเพียง” ก็ถูกใช้เป็นภาษาที่ยังประโยชน์ให้กับผู้รู้จักใช้ประโยชน์ของภาษา เช่น ในการของบประมาณ หรือ การขอความช่วยเหลือจาก รัฐบาลและนัก การเมือง เพราะ”เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นชื่อ หรือ สัญลักษณ์ ที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ ที่ไม่อาจปฏิเสธ ทั้งที่หลายโครงการไม่ได้แสดงความพอเพียงแต่อย่างใด แต่เป็นสิ่งที่ “จำเป็น” ที่ไม่อาจแยกได้จากสิ่ง “ฟุ่มเฟือย” ให้ชัดเจนได้ สุดท้าย เศรษฐกิจพอเพียง ก็จะเป็นคำทั่วไปที่ไม่ได้มีความหมาย หรืออุดมการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น และ ค่อยๆสูญหายไป เพราะในนับแต่โบราณจนถึง ศตวรรษที่ 18 “ ความหรูหราฟุ่มเฟือย” กับ คำว่า “พอเพียง” เป็นสองคำที่หาคำอธิบายให้ชัดเจนได้ยาก ทั้งสองคำจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการโจมตี ฝ่ายตรงข้าม หรือ คู่ต่อสู้ หรือเป็นเครื่องมือ ของชนชั้น
ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติอาจสวนทางกับความเป็นจริงที่ต้องการ ของรัฐบาล ที่ต้องการลดแรงกดดันของรัฐบาลลงในแง่งบประมาณสำหรับการพัฒนาชนบท โดยให้ประชาชนรู้จักพึ่งตัวเองอย่างพอเพียง จึงขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำ เศรษฐกิจพอเพียง ไปหาประโยชน์ได้อย่างไร
สรุปได้ว่าชนชั้นกลางและล่าง ในรัฐประชาชาติ ของไทย แม้จะมีเสรีภาพในทางการเมืองมากขึ้น และไม่ต้องการการแทรกแซงของรัฐ และ ให้ความสำคัญกับปัจเจกชน ตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่ (Neoliberal) แต่ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเช่นนี้ ความต้องการ “การบริโภคของสาธาณะ” ซึ่งเป็นความต้องการของปัจเจก จึงทำให้ความเป็นปัจเจก กับ สาธารณะ แยกกันไม่ออก ในแง่ของการบริโภค แม้รัฐจะต้องแบกภาระเรื่อง การบริโภค ตาม 6 มาตรากร ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทย แต่ก็เป็นการสร้างความเท่าเทียม สิทธิประชา (Civil right) และ “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” (Human dignity) ให้แก่ ปัจเจก ในระบอบเสรีประชาธิปไตย ของไทย ที่โยงการ บริโภค เข้ากับ มิติทางสังคม เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรมการเมืองของไทย ในสภาวะการมา และ การไล่ล่า ของ “สังคมบริโภค

7. จงอธิบาย บริโภคนิยม กับ เศรษฐกิจพอเพียง ในสถานะของ อุดมการ์ทางการเมือง
บริโภคนิยม และ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นอุดมการณ์ทางการเมือง ที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง เพราะการบริโภค ไม่ได้เป็นเรื่องของ ความพอเพียง เพราะจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มนุษย์ยังไม่เคยมีความพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง ในสมัยกรีกก็มีแนวคิดที่ว่า “ความหรูหราฟุ่มเฟือย” เป็การแสดงถึงความอ่อนแอ หรือ การกินที่มากเกินไปก็ยังกินความถึงความอ่อน และความนุ่มนวล เป็นสภาวะที่ไม่สามารถปกครองตนเองได้ เป็นการแสดงถึง ความขี้ขาดตาขาว ซึ่งชนชั้นสูงถือเป็นลักาณะของช่างฝีมือและพ่อค้า ในขณะที่ โรมันก็ไม่ต่างจากกรีกโบราณนัก เพราะ “ความฟุ่มเฟือย (Luxuria)” ในแนวคิดของโรมแสดงนัย ของการทุจริตคดโกง ความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล ตามกรอบความคิดของโรมัน การกระเหม็ดกระแหม่ ไม่ฟุ่มเฟือย เป็นจริยธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรมัน
เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของ พระเจ้าอยู่หัว ตามมุมมองของ แอนดรูว์ วอล์กเกอร์ วิพากษ์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าเป็นเพียงฐานะที่เป็นเครื่องมือเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง ของชนชั้น ซึ่งขัดกับหลักเสรีประชาธิปไตย เพราะเป็นเพียงวิธีคิดแบบกำกับควบคุม มันเป็นการควบคุมพฤติกรรมคม โดยเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้บอกว่าชีวิตชนบทจริงๆเป็นอย่างไร ทว่ามันเป็นระบบกำกับควบคุมทางศีลธรรมว่าคนควรจะใช้ชีวิตอย่างไร เศรษฐกิจพอเพียง ถูกใช้ไปในทางการเมือง เพื่อโจมตีโครงการ “ประชานิยม” ของ รัฐบาล นายก ทักษิณ เช่น กองทุนหมู่บ้าน โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) และ หลายโครงการ “ประชานิยม” ของรัฐบาลทักษิณ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เศรษฐกิจพอเพียง
(ดูบทความสรุปของ วอล์กเกอร์)
8. จง วิพากษ์ “บริโภคนิยม” ในมิติทางสังคม วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจในการเมืองไทย
“บริโภคนิยม” ในช่วง ศตวรรษที่ 18 ถึง ศตวรรษที่ 21 สิ่งสำคัญในการบริโภค คือการแสวงหาสิ่งของต่างๆ ที่ทำให้ผู้แสวงหามีความสุข ความสุขจึงเกิดจากการ”ไล่ล่า” หรือ จากการได้ “กระทำ” มากว่าการครอบครอง เช่น การดื่มสุรานั้นไม่น่าอภิรมณ์เท่ากับ บรรยากาศในการดามสุรา หรือ ตัวละครเอก ในอุปรากร ของ โมสาร์ต ...... ความสุขจึงอยู่ที่ได้มีแรงปรารถนา (desire) ต่อไปเรื่อยๆ สภวะของการบริโภคจึงอยู่ที่กระบวนการมากว่า เป้าหมาย (ดู sheet สรุปหน้าที่ 21 )
การไล่ล่าสังคมบริโภค ยังไม่มีที่สิ้นสุดเปรียบเหมือนแรงปรารถนา (Desire) ที่ไม่มีวันได้รับการตอบสนอง ในทางทฤษฎี การมาของ “สังคมบริโภค” เป็นเพียงการบ่งชี้ หรือ การแสวงหา สภาวะใหม่ๆ โดยผ่นทาง ประวัติศาสตร์ของสังคม (Social history) ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ (Economic history) ประวัติศาสตร์วัฒนะรรม (Cultural History) การบริโภค จึงไม่ได้เป็นเรื่องความพอเพียง .....(ดู Sheet สรุป หน่ 22)
จาก Voltaire ที่ว่า “Do not therefore, with simplicity, call virtue that which was poverty.”
“ ดังนั้น ความเรียบง่ายที่เรียกว่าความดี หรือ ศีลธรรมนั้น ก็คือความยากจนนั่นเอง”
[1] สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: World War I หรือ First World War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 - 1918

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

4.แนวข้อสอบ-รัฐธรรมนูญและสถาบันทางการเมือง

แนวตอบข้อสอบ
๑.ชมิทท์ ใน ศตวรรษที่ 19 มองว่า ประชาธิปไตย (Democracy) พร้อมจะเป็นพันธมิตรกับอะไรและใครก็ได้ ไม่ว่า เสรีนิยม, สังคมนิยม, ปฎิวัติ, สะท้อนให้เห็นว่า ประชาธิปไตยเป็นแค่รูปแบบทางองค์กรที่ปราศจากเนื้อหาทางการเมืองที่ชัดเจน ชมิทท์ มองว่า ประชาธิปไตย ทำให้ระบบรัฐสภาล้มเหลว ชมิทท์ ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีการเมืองของระบอบเสรีนิยม โดยเฉพาะ ทฤษฎีการเมืองแบบพหุนิยม (Pluralisms) โดยให้ความเห็นว่าคลุมเครือและมีปัญหา โดยเฉพาะ โดยเฉพาะในแง่ที่มันมุ่งโดยตรงที่มุ่งต่อต้านความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของรัฐ (ฌอง โบแดง เห็นว่า Pluralization of Sovereignty ไม่สามารถแบ่งแยกได้ แต่ Pierre Rosanvallon เห็นว่าสามารถแบ่งได้เพื่อนำสู่ความสมดุลย์ ที่ควบคุมซึ่งกันและกัน)
Liberal Democracy หรือ เสรีประชาธิปไตย เสรีภาพย่อมนำมาซึ่งความขัดแย้ง เพราะเสรีภาพเป็นเรื่องของปัจเจกชน ดังนั้นความขัดแย้งที่เป็นส่วนรวม จึงต้องตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน โดยไม่ละเมิดหลักการของ Liberal แต่เสียงส่วนใหญ่ไม่สามาถใช้ในการตัดสินใจได้ทุกเรื่อง เช่น การไว้หนวด การนับถือศาสนา ไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตย เพราะ ฮ็อบบ(Thomas Hobbes) เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับ เสรีภาพ แต่มนุษย์สละ เสรีภาพบางส่วนให้ องค์อธิปัตย์ (รัฐ หรือ ผู้ปกครอง)และ มองการแก้ปัญหาของ คนด้วยการเคารพในสัญญาประชาคม(Social Contract) รัฐต้องปกครองด้วยกฎหมาย หรือ The Rule of Law
๒. ชมิทท์ มองว่าการเมือง (Political) คือ การแบ่งแยก มิตรและศัตรู หลัก หรือ หัวใจของ ชมิทท์ ในเรื่องนี้คือ การอธิบายศัตรูมากว่ามิตร โดยมองว่าจะรู้ว่าเราคือใครก็ต่อเมื่อรู้ว่าศัตรูคืออะไร และ คือใครก่อน (ศัตรูของ ชมิทท์ ไปใช่เรื่องของความเกลียดชังระหว่างบุคคล) ศัตรูจะดำรงอยู่ก็ต่อเมื่อ เกิด หรือมีแนวโน้มว่าจะเกิด การต่อสู้ ระหว่างประชาชน สอง กลุ่ม ขึ้นไป และเป็นศัตรูของสาธารณะ ไม่ใช่ส่วนบุคคล รัฐประชาชาติ สมัยใหม่ มีความซับซ้อนมากขึ้น คำว่าศัตรูของ ชมิทท์ ก็ไม่ง่ายต่อการที่จะบอกว่าศัตรูคืออะไร ศัตรูคือใคร เช่น กรณีก่อการร้าย หรือ กรณี 9/11 หรือ การณสงคราม อิรัค ความคลุมเครือว่าศัตรูที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ เป็นนามธรรม หรือ การบอกว่าศัตรูคือใคร เพราะถ้าบอกว่าศัตรูคือผู้ก่อการร้าย แต่ยากที่จะชี้ชัดว่าใครคือผู้ก่อการร้าย เพราะคำว่าผู้ก่อการร้ายก็คลุมเรือ
๓. ชมิทท์ อธิบายการโต้แย้งว่าอะไรคือความถูกต้องและ ยุติธรรมของการปฏิวัติรัฐประหาร ว่า องค์อธิปัตย์ (Sovereignty) เท่าน้น ที่จะมีอำนาจบอกว่าอะไรคือความถูกต้องหรือความยุติธรรมได้ คือ ยกอำนาจของประชาชนให้แก่รัฐ แล้วองค์อธิปัตย์ คือใครก็ตามที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ (Decision) ว่าอะไรคือประโยชน์แห่งสาธารณะ หรื อะไรคือประโยชน์ ของรัฐ อะไรคือความสงบสุขและความปลอดภัยของส่วนรวม ใน สถานะการพิเศษ (Exceptional Situation) ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการดำรงคงอยู่ของรัฐ ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ ดังนันสำหรับ ชมิทท์ องค์อธิปัติย์ ไม่ได้อยู่ภายใต้ของตัวบทกฎหมายใด ความชอบธรรมขององค์อธิปัติย์ ก็ไม่ได้มาจากความชอบธรรมตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ฉะนั้นองค์อธิปัติจึงไม่จำเป็นต้องมาจากประชาชน เช่น การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ของ คมช.
๔. แนวคิด เชิง สัมพันธภาพทางอำนาจ (Relationship Power) ที่ไม่ลงตัวในหมู่ชั้นนำ (Elite) และ สัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างชนชั้นนำ กับ ประชาชน ความไม่ลงตัวในหมู่ชั้นนำ คืออำนาจทุนนิยมในทางการเมือง ที่เป็นเรื่องของทุนขนาดใหญ่ และ ทุนข้ามชาติ ซึ่งจะเห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องของ ทุนนิยม (Capitalism); สัมพันธภาพทางอำนาจ ระหว่างพระราชอำนาจ (Royal Prerogative) กับ สถบันอื่นๆในสังคมการเมือง (Political Society) (เกษียร)
๕. วัฒนธรรมทางการเมืองกระแสหลัก ให้ความสำคัญกับ “คนดี” มากกว่า สิทธิเสรีภาพของประชาชน และ หลักการเสรีประชาธิปไตย (เกษียร)
๖. ประชาธิปไตย (Democracy) คืออะไร?
๗. รัฐ (State) คือ สังคมมนุษย์ ที่มีระเบียบในการปกครอง มีดินแดนเป็นที่อยู่อาศัยแน่นอน อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลที่มีอิสระ ละ มีอำนาจบังคับบัญชาประชาชนที่อยู่ในดินแดนนั้น ดังนั้น รัฐต้องประกอบด้วย
1) ประชากร (Population) เป็นเงื่อนไขสำคัญในการปรากฎตัวของรัฐ และต้องมีจำนวนพอสมควร ประชากร จึงเป็นกลุ่มคนที่ถูกจัดตั้งอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐ
2) ดินแดน หรือ อาณาเขต (Territory) ต้องมีอณาเขตที่แน่นอน แต่ดินแดนของรัฐก็อาจเปลี่ยนแปลงได้รวมถึง เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone)
3) รัฐบาล (Government) รัฐจำเป็นต้องมีรัฐบาลเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารกิจการของรัฐ
4) อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) คือ “อำนาสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งเป็นอำนาจที่จะใช้บังคับให้ประชาชนภายในรัฐปฏิบัติ หรืองดเว้นการปฏิบัติ และ ยังใช้ในการอ้างสิทธิเพื่อป้องกันไม่ให้กลุ่มอำนาจอื่นๆ เข้ามามีอำนาจเหนือพื้นที่ที่รฐนั้นๆ อ้างอธิปไตยอยู่” เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของการเป็น “รัฐ” ถือว่าเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เช่น อำนาจกำหนดให้ประชาชนต้องเสียภาษี
ก. อำนาจอธิปไตยภายใน หมายถึงอำนาจสูง ในการปกครองประชาชนภายในรัฐ;
ข. อำนาจอธิปไตยภายนอก ความเป็นอิสระของรัฐ โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุม หรือ แทรกแซงโดยรัฐอื่ โดยการที่รัฐนั้นจะดำเนินการบริหารปะเทศของตนหรือกำหนดนโยบายทั้งในและนอกประเทศโดยอิสระ
๘. เสรีนิยม (Liberalism) คืออะไร
๙. รัฐธรรมนูญ (Constitution) คืออะไร
๑๐. อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) คืออะไร[1]
๑๑. สภาบันทางการเมือง (Political Institution) คือ สถาบัน ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในการปกครองของรัฐ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ หรือแนวนโยบายของรัฐ
๑๒. รัฐประชาชาติ (The National State) ความยุ่งยากของระบบศักดินา (Feudalism) และ การล้มเหลวของสถาบันทางศาสนา ซึ่งเข้ามายุ่งเกี่ยวกับเรื่องการเมือง เป็นผลทำให้เกิดการปฏิรูปไปสู่การปกครอง แบบ รัฐประชาชาติ
๑๓. ลัทธิปัจเจกนิยม (Individualism) มีหลักว่า รัฐบาลที่ดี เป็นรัฐบาลที่ปกครองน้อยที่สุด ตัวอย่างที่ดีคือ สหรัฐอเมริกา ประชาชนสามารถดำเนินชีวิต โดยไม่ต้องได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล และ ไม่มีความจำเป็นต้องอยู่ในความควบคุมของสังคม The Bill of Rights เป็นกฎหมายมหาชนและได้กลายมาเป็นหลัการของรัฐธรรมนูญสหรัฐ
๑๔.
1. Thomas Hobbes (1588-1679) ศตวรรษที่ 16-17 ชาวอังกฤษ เห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์ เห็นแก่ตัว และ ไม่ไว้วางใจกัน จึงต้องมาตกลงกันทำสัญญาเข้าเป็นสังคม เพื่ออยู่รวมกันอย่างสันติ เป็นสัญญาประชาคม ยอมสละ สิทธิ ที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นให้แก่ผู้ปกครอง ดังนั้นในความเห็นของ Hobbes สังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
2. John Locke (1632-1704) ศตวรรษที่ 17-18 ชาวอังกฤษ มองต่างจาก Hobbes คือ มนุษญ์ธรรมชาติแล้ว ก่อนมารวมเป็นสังคม มีความสงบ และ จิตใจดี และ เชื่อว่ามนุษย์สามารถรวมอยู่ด้วยกันได้ได้ไม่ต้องมีการรวมกันทางปกครอง และมองว่ามนุษย์ต้องการความคุ้มครองในสิทธิและเสรีภาพให้ดียิ่งขึ้น และ การอยู่ตามธรรมชาติย่อมมีอันตราย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยของสังคม มนุษย์จึงเข้าทำสัญญากัน และ จัดตั้งรัฐบาลขึ้นปกครอง และ รักษาความยุติธรรม ในรูปของ สัญญาประชาคม (Social Contract) ; Locke เสนอ อำนาจการปกครองควรแกเป็น ๓ หน้าที่คือ ๑.นิติบัญญัติ ๒. ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยฝ่ายปกครอง และ ศาล เป็น ฝ่ายบริหาร และ ตุลาการ ๓. การทำความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทฤษฎีของ Locke ก่อให้กิดหลักใหญ่ ๒ ประการคือ
๑. ผู้ปกครอง หรือ รัฐบาล ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งความเห็นชอบ ยินยอมของผู้ใต้ปกครอง หรือ ประชาน; ๒. ประชาชนมีสิทธิในการปฏิบัติต่ออธิปัติผู้ใช้อำนาจไม่ถูกต้อง หรือทำไปโดลพละการ ซึ่งสิทธิดังกล่าวถือเป็นสิทธิสมบูรณ์ของประชาชน
หลังทั้งสองประการของ Locke นี้ ได้มีการนำไปประกาศใน Declaration of Independence และ ปรากฎหลักนี้ใน รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา
3. Jean Jacques Rousseau (1712-1778) ศตวรรษ ที่ 18 ชาว ฝรั่งเศส คล้าย Locke แต่ รุสโซ มองว่าการตกลงเข้าทำสัญญากันนั้น ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิเสรีภาพ ขอตนให้แก่ผู้ใดจึงไม่ต้องมีใครต้องสูญเสียสิทธิ ผู้ถืออำนาจปกครองนั้น ที่จริง คือ ผู้อยู่ใต้ปกครองทั้งปวงนั่นเอง สถาบันทางการเมืองที่จัดตั้งโดยสัญญาประชาคม ปรากฎออกมาในรูปของเจตน์จำนงทั่วไป (general will) ในทัศนะของ รุสโซ ค้าน กับ มองเตสกิเออ เรื่องการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย รุสโซ ให้ความสำคัญกับ “เจตนาการณ์ร่วมกันของประชาชน” โดยให้ความสำคัญ การออกกฎหมายโดยเจตนาร่วมกัน มี สอง วิธี คือ ประชาชน ออกเอง หรือ มีผู้เสนอแล้วให้ประชามติ (referendum) อุดมคติแห่งประชาธิปไตยโดยตรง และ ทฤาฎีสัญญาประชาคม ของ รุสโซ มีอิทธิพลสูงมากในฝรั่งเศสและ สหรัฐอเมริกา สำหรับความคิดของ รุสโซ เกี่ยวกับรัฐ ก็คือ รัฐ หรือ อำนาจอธิปไตย มาจากประชาชน ซึ่งค้านกับ สัญญาประชาคมของ Hobbes เพราะ แนวคืดของ Hobbes นำไปสู่ลัทธิเผด็จการในคราบของประชาธิปไตย ซึ่งประชาธิปไตยแบบรวมศูนย์ ก็คือระบบอบการปกครองแบบสังคมนิยม ในประเทศต่างๆนั่นเอง.
รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐มาตรา 309-บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วครราว) พุทธศักราช ๒๕๔๙ ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณี ดังกล่าวไมว่า ก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้น ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่เป็น กฎหมายตามหลักกฎหมายอีกต่อไป เพราะเป็นการ รับรองความผิดที่เกิดในอนาคต หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ว่าชอบด้วยรฐธรรมนูญ
มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข ทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และ ศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตร ๗ ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณี การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

วิพากษ์ รัฐธรรมนูญ และ สถาบันการเมืองไทย
๑.โครงสร้าง รัฐธรรมนูญ และ สถานันการเมืองไทย
ก. วิภาคโครงสร้าง รัฐธรรมนูญไทย
1. ที่มา (แนวความคิด หรือ ทฤษฎีทางการเมืองของใคร)
2. ข้อจำกัด (ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์)
3. ความคิดเห็น ต่อ รัฐธรรมนูญไทย และ อนาคตของรัฐธรรมนูญไทย
ข. วิภาคสถานับการเมืองไทย
a. ที่มา (การเมือง คือ มิตรและ ศัตรู)
b. ข้อจำกัด
c. ความคิดเห็น
ค. สรุป ความคิดเห็น และ วิพากษ์ รัฐธรรมนูญและ สถาบันการเมืองไทย และ อำนาจอธิปไตย ในกระแสโลกเสรีประชาธิปไตย
วิพากษ์ รัฐะธรรมนูญและสถาบันการเมืองไทย
โดย ตรัยรัตน์ แก้วเกิด MPE. 16
ประเทศไทยเชื่อกันว่าเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ นับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข รวมได้ประมาณ เกือบ 76 ปี ไทยมีรัฐธรรมนูญถึง ฉบับ ซึ่งมีรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ที่เป็นผลมาจาก การรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ซึ่งเป็น อำนาจ อธิปัติย์ ล่าสุด ที่เกิด จาก exceptional situation โดยมี คมช. เป็น องค์อธิปัติย์ ชั่วคราว
I. วิพากษ์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย ปี ๒๕๕๐
1. ทีมาของ ระบอบการปกครองประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย เกิดจากการยึดอำนาจของคณะราษฎ์ เพื่อลดทอน อำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเดิมเป็น องค์อธิปัตย์ (Sovereignty) หรือผู้มีอำนาจสูงสุด ลงมาอยู่ใต้ รัฐธรรมนูญ (Constitute) ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ในระบอบประชาธิไตย แทน เพื่อใช้เป็น ปทัสถานพื้นฐาน (Basic Norm) ในการปกครองประเทศ คือการปกครองประเทศไทยจะเป็น นิติรัฐ หรือ การปกครองด้วยกฎหมาย (rule of law) ไม่ใช้การปกครองด้วยคน (rule of man) อีกต่อไป พระมหากษัตริย์ ใช้อำนาจอธิปไตย (Sovereign) ตามรัฐธรรมนูญ ผ่าน สถาบันทางการเมืองง ตามรัฐธรรมนูญ คือ สภานิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรี และ ตุลาการ โดยการเกี่ยวโยงกลับไปหาประชาชน ซึ่งเป็นไปตาม ทฤษฎีอำนาจอธิปไตย ของ ฌอง โบแดง (Jean Bodin) ว่าอำนาจอธิปไตย อยู่ในมือของรัฐ ในรูปแบบใด ผู้นั้นก็เป็นผู้ใช้อำนาจ อธิปไตย เช่น ระบบ สมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์ ก็เป็น องค์อธิปไตย ถ้าเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตร์เป็นประมุข กษัตริย์ ก็ยังคงใช้อำนาจ อธิปไตย ที่เชื่อกันว่าเป็นของ หรือมาจาก ประชาชน โดยผ่าน สถาบันทางการเมืองของ รัฐ คือ อำนาจนิติบัญญัติ (สภา), อำนาจบริหาร (คณะรัฐมนตรี) และ อำนาจตุลาการ(ศาล) ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจปกครองสูงสุด หรือ อำนาจอธิไตย ออกเป็น 3 ฝ่าย ของ มองเตสกิเออ (Montesquieu) และ บนพื้นฐานของการถ่วงดุลย์ อำนาจกัน ตามแนวคิดของ อริสโตเติลเพื่อป้องกัน ประชาชน ให้ปลอดจากอำนาจของรัฐ ที่อาจละเมิดลิดรอน สิทธิเสรีภาพ
2. การที่ไทยมีรัฐธรรมนูญ หลายฉบับ และ มีทีมาแตกต่างกัน ถ้าคิดแบบง่ายตาม แนวคิดของ Hans Kelsen ก็ไม่ใช้สิ่งแปลกในเรื่องที่มาหรือเนื้อหาของ องค์อธิปัติย์ ความสำคัญอยู่ที่เจตนารมรณ์ (will) คือ การร่างรัฐธรรมนูญ และ การคืนอำนาจอธิปไตย ให้แก่ประชาชน (ประชาชน จึงเป็น สิ่งสุมมุติ ในเวลานั้น ที่มีประสิทธิภาพ) จึงมีคำถามว่า เจตจำนงค์นั้น มาจากการคิดอย่างมีเหตุผล (Rationality) ของประชาชนเอง หรือถูกครอบงำ หรือ เพื่อทำให้เกิด อำนาจทางการเมือง (political Power) หรือเป็น Justification อยู่บนเหตุ และ ผล อะไร? แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป คงต้องมองถึง ตัวขับ (Drivers) ที่มีประสิทธิภาพมากพอ ที่ ทำให้ องค์อธิปัตย์ ตัวจริงในขณะนั้น ออกมาล้มล้าง องค์อธิปัติย์ เสมือน (virtue sovereignty) ในขณะนั้น ออกไป ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า องค์ อธิปัติย์เสมือน นั้นมีอายุยืนยาวแต่งต่างกันไป และ สิ่งที่เราประกาศว่า ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีองค์พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขนั้น ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศนั้น ในความหมายของผม องค์พระมหากษัตริย์ เป็น สถาบันที่ดำรงค์อยู่ตลอดไปในรัฐธรรมนูญของไทยปัจจุบัน แต่รัฐธรรมนูญทุกฉบับ เป็นเพียง virtue constitution ที่จะรักษา efficacy เพื่อให้มันสามารถ validity อยู่เหนือ แรงขับ ที่จะเปลี่ยแปลงมัน ได้นานขนาดไหน และ ถ้ามองในแง่ของ Hannah Arendt แล้ว การร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ของไทย ผู้ร่วมร่าง รัฐธรรมนูญ ก็ไม่มีความชอบธรรม และ เหตุผล ในการอ้างความเป็นตัวแทนของประชาชน ไทย เพราะ ปราศจากความเป็น รัฐธรรมนูญ (unconstitutional) ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ แต่แรกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งจาก คมช.(คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ก็ตาม
3. สิ่งที่ยังเป็นกรอบคิดของคนไทย คือ ศานา และ องค์พระมหากษัตริย์ ทียึดติดมานานกับสังคมไทยทำให้ รัฐธรรมนูญเองมีข้อจำกัดในหลายๆ เรื่อง เช่น รัฐไม่สามารถเป็น นิติบุคคลได้ เพราะเมื่อรัฐเป็น นิติบุคคลได้ รัฐย่อมถูกฟ้องร้องได้ พระมหากษัตริย์ก็จะถูกฟ้องร้องไปด้วย แต่รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ในหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ มาตรา ๘ ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ สังการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะฟ้องร้องหรือกล่าวหาพระมหากษัตร์ย์ในทางใดๆมิได้”
ทำนองเดียวกัน ศาสนา แม้ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ศาสนาและ การเมืองไทยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ในกรอบแนวคิดของคนไทย จึงส่งผลต่อการบัญญัติกฎหมายต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึง ศาสนา และ วัฒนธรรมประเพณี ทั้งๆที่ศาสนาเป็น เรื่องของ ปัเจจกชน (Individual) เป็นเรื่องส่วนบุคคล จึงทำให้ประเทศไทยไม่สามารถ ออกกฎหมายที่ขัดต่อ ศาสนา และ วัฒนธรรม ได้ เช่น บ่อนการพนัน การทำแท้ง หรือ โสเภณี ที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ ซึ่งจะเห็นว่ากรอบคิดของไทยนั้นแตกต่างจากกรอบคิดทางปรัชญาทางการเมืองของ ประเทศทีมีการพัฒนาประชาธิไตยมาไกลแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป คือ การแยกกฎหมายออกจากการเมือง เพราะ ศาสนา เศรษกิจ และ วัฒนธรรม เป็นเรื่องที่เกี่ยข้องกับ การเมือง ตาม กรอบแนวคิดเรื่อง “The Pure Theory of Law” ของ Hans Kelsen กฎหมายต้องการความเป็นเอกเทศ มีความเป็นอิสระ (Autonomous) แม้เราจะไม่สามารถทำให้ กฎหมาย ไทยบริสุทธิ์ ได้ร้อยเปอร์เซ้นต์ แต่แนวความคิดของ Kelsen น่าจะนำมาประยุกต์ใช้ได้ในระดับหนึ่ง ก็สามารถทำให้ กฎหมาย แปดเปื้อนน้อยลง ถ้าเราสามารถแยกส่วนของการเมืองออกไปได้บ้าง หรือ ขจัด ลด สิ่งที่นอกเหนือกว่ากฎหมาย (Extra- Legality) ลง เพื่อเพิ่ม ดีกรี ความบริสุทธิของกฎหมายขึ้น
4. ข้อคิดเห็นต่อรัฐธรรมนูญไทย ฉบับ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จะเห็นว่าข้อจำกัดดังกล่าวใน เรื่อง ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ ก็ยังคงดำรงอยู่ ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมาย สูงสุด ส่วนสำคัญที่ทำให้ชัดเจนขึ้น คือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และ การเพิ่ม กลไกการตรวจสอบอำนาจรัฐ ทั้ง ฝ่ายนิติบัญญัติ และ ฝ่าย บริหาร ซึ่งแม้จะมีผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และ นักวิชาการ เข้าร่วมร่าง โดย อ้างว่าเป็นเจตจำนงค์ ของประชาชน จากการออกเสียงประชามติ (Referendum) เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ เพื่อ รับร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ผมเห็นว่าการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ และ การร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา เป็นเพียงกระบวนการทางการเมือง เป็นการปรากฎตัวของ องค์อธิปัตย์ (Sovereignty) ในสภาวะพิเศษ (exceptional situation) หรือ สถานะการณ์ยกเว้นที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยกฎหมาย ไม่มีสาระสำคัญในแง่เนื้อหา (Contents) เพิ่มขึ้นจาก รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ มาก เป็นเรื่องของเจตจำนงค์ และ การแยก ว่าศัตรูคืออะไร? และ ศัตรูคือใคร? ให้ชัดเจนเพื่อจะได้บอกว่า เขาคือใคร ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า ประเทศไทยจะปลอดจาก การปรากฎตัว ขององค์ อธิปัติย์ ในสถานะการพิเศษ สถานะการอันตราย ต่อความอยู่รอด หรือความมั่นคงแห่งรัฐ ซึงเป็นเจตุจำนงค์ ที่องค์อธิปัติย์ ที่ปรากฎตัวขึ้น จะนำมาใช้ แต่ต้องดูว่าตัวขับที่จะทำให้ เกิด ขึ้น อาจจะไม่สามารถ อ้างเจตจำนงค์ ของประชาชน ได้ง่ายขึ้น เมื่อภาคประชาชน เริ่ม มีการเรียนรู้ มีประสบการณ์ และ สามรถควบคุมให้ รัฐธรรมนูญ สามารถมีผลบังคับอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficacy) เพื่อให้กฎหมายมีความสมบูรณ์ (Validity)
เนื่องจากการปกครอง ในระบอบเสรีประชาธิปไตย มีความซับซ้อนมากขึ้น เสรีนิยม มีความต้องการความเป็น ปัจเจก มากขึ้น ในกรอบของเสรีประชาธิปไตย ทีต้องไม่กระทบ หรือ ละเมิด ผู้อื่น การปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตย ในอดีต และ ปัจจุบันของ ไทย ยังคงต้องมีการพัฒนา ไปสู่อนาคตในระดับที่เติบโต ถ้าเปรียบการเจริญเติบโตของ เสรีประชาธิปไตยของไทย เป็น วงจรชิวิตของ สินค้า (Product Life Circle) หนึ่งแล้ว เสรีประชาธิปไตยของไทย ก็ถือว่าเป็น สินค้า ในช่วงเริ่มต้น (early state) การจะทำให้สินค้าเติบโตขึ้นไป ย่อมต้องลงทุน ในการทำตลาด และการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า อีกมากจึงจะทำให้สินค้า อยู่ในช่วง เติบโต (growth state) เหมือนในประเทศที่เสีรีประชาธิปไตย ที่พัฒนามาถึง ขั้นเติบโต (growth state) แล้ว แต่การพัฒนาก็ควรจะถูกพัฒนาให้เติบโตทันตลาดเสรีประชาธิปไตย ก่อนที่ สินค้าจะเข้าสู่ภาวะเสื่อมลง (decline state) นอกจากนี้ ปทัสถาน ที่เป็นอยู่ อยู่บนความถูกต้อง (Righteousness) และ การมีเหตุผล (Rationality) เพียงไร
II. วิพากษณ์สถาบันการเมืองไทย ตาม รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐
1. สถาบันพระมหากษัตริย์
2. รัฐสภา เป็น สถาบันการเมืองทีมีหน้าที่ ในการออกกฎหมาย ควบคุม และ ดูแลการบริหารงานแผ่นดิน โดยคณะรัฐมนตรี ระบบรัฐสภาของไทยเป็นแบบสภาคู่ (Bicameral System) คือ ประกอบด้วย ๒ สถา คือ สภาผู้แทน ราษฎร และ วุฒิสภา
3. คณะรัฐมนตรี (Council of Ministers)
4. ศาล หรือสถาบันตุลาการ (Judiciary) เป็นอำนาจที่อันตรายน้อยที่สุด ใน 3 อำนาจ เพราะ อำนาจ ตุลาการ ไม่สามารถเริ่มการเองได้ และ เป็นอำนาจถึงที่สุด ซึ่งต่างจาก อำนาจ นิติบัญญัติ และ อำนาจ บริหาร ที่ยังไม่ ถึงที่สุด เช่น การสั่งย้าย ข้าราชการของ รัฐมนตรี สามารถฟ้องศาล เพื่อให้ทบทวนในด้านความยุติธรรมได้
5. องค์การตามรัฐธรรมนูญ และ การตรวจสอบอำนาจรัฐ
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และ การตรวจสอบอำนาจรัฐ ในหมวดที่ ๑๑ และ ๑๒ ของรัฐธรรมนูญ ตามลำดับ
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ คือ องค์กรอิสระ และ องค์กรอื่นๆ
a. ส่วนที่ ๑ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย
1) คณะกรรมการการเลือตั้ง,
2) ผู้ตรวจการแผ่นดิน,
3) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ,
4) คณะกรรมหารตรวจเงินแผ่นดิน
b. ส่วนที่ ๒ องค์กร อื่นๆตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย
1) องค์กรอัยการ,
2) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,
3) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ : ในอดีตที่ผ่านมา ศาล ไม่ได้แสดง บทบาททางการเมืองมาก แต่หลัง รัฐธรรมนูญ ปี๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ ศาลมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น เช่น ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศาลรัฐธรรมนูญ ข้อน่าพิจารณา คือ ศาลเป็นเรื่องของกฎหมาย ปทัสถาน ของมันจึงควรอยู่บนพื้นฐาน ของกฎหมาย ไม่ใช่การเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง นั้น การตัดสิน ถือเป็นการถึงที่สุด คำถามคือ ถ้าการตัดสินผิดพลาด จะแก้ไขอย่างไร เพราะไม่สามารถ อุทรได้อีก ซึ่งความยุติธรรม ครบสมบูรณ์ตามหลักตุลาการ หรือไม่ หรือ กฎหมายจะกลายเป็น เครื่องมือในทางการเมืองยิ่งขึ้น แม้หลักการของศาล จะต้องใช้ ปทัสถานทางกฎหมาย แต่การตีความอาจเกิด Extra Legality ขึ้นได้ ซึ่งแตกต่างจาก ศาลรัฐธรรมนูญ ถึงเป็นการตัดสินที่สิ้นสุด แต่เป็นเรื่อง กระทบทางการเมือง สิทธิ และ เสรีภาพทางการเมือง
1) การตรวจสอบทรัพย์สิน
2) การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์
3) การถอดถอนจากตำแหน่ง
4) การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
พรรคการเมือง และ ระบบพรรคการเมือง(The Political System) ของไทย
พรรคการเมือง ทำหน้าที่เป็น เครื่องมือในการเป็นตัวแทนของประชาชน ที่จะแสดงออกซึ่งความต้องการและข้อเรียกร้อง (จิโอวานนิ ซาโทริ (Sartori, 1976)
หน้าที่ และ บทบาทของ พรรคการเมือง
1) หน้าที่และ บทบาทของ พรรคการเมือง เป็นตัวเชื่อม (Link) ระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง ในระบบที่พรรคการเมืองเข้มแข็ง และมีความเป็นสถาบันสูง พรรคการเมืองจะทำหน้าที่เป็นกลไกให้ข้อมูล ให้การศึกษาและสร้างอิทธิพลต่อความคิดเห็นสาธารณะ โดยมีเส้นทางการสื่อสารเป็นแบบสองทาง
2) เป็นผู้รวบรวมผลประโยชน์ที่หลากหลายเข้าด้วยกัน (Interest Aggregation) คือ รวบรวมข้อเรียกร้องอันหลากหลาย กระจัดกระจายเข้าด้วยกัน กำหนดเป็นนโยบาย กลุ่มผลประโยชน์จะทำหน้าที่เสนอข้อเรียกร้อง ความต้องการ (Demand) พรรคการเมืองจะคัดเลือก ตัดทอน รวบรวมข้อเรียกร้องดังกล่าวเข้าด้วยกัน ในกระบวนการนี้ข้อเรียกร้องบางอย่างอาจไม่ได้รับความสนใจ และถูกละเลย หรือตัดทิ้งไปได้
3) เลือกสรรผู้นำทางการเมือง (Elite Recruitment) ในระดับต่าง ๆ ของสังคมมาเป็นสมาชิกพรรค และเป็นผู้สมัครในนามพรรค โดยเฉพาะระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน
4) กำหนดทิศทางของรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นพรรคที่จัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียว ร่วมกับพรรคอื่นหรือเป็นพรรคฝ่ายค้าน
ระบบพรรคการเมือง
ระบบพรรคการเมืองคือ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับระบบพรรคการเมืองที่เป็นข้อถกเถียงกันมากที่สุดคือ การนับจำนวนพรรคการเมือง (Numbers of Parties) และเกณฑ์ในการแบ่ง (Typology/Classification) ระบบพรรค
จำนวนพรรคการเมืองที่มีนัยสำคัญ (Effective Number of Parties): พรรคที่มีโอกาสจัดตั้งหรือร่วมจัดตั้งรัฐบาล (Coalition Potential) หรือทำหน้าที่คัดค้านรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Blackmail Potential)
Sartori 1976; Lijphart 1984; 1994, Taagepera and Rein, 2002
การจัดประเภทระบบพรรคการเมือง
Robert Dahl แบ่งระบบพรรคการเมืองเป็น 4 แบบ คือ
1) แข่งขันสูง (strictly competitive) ทั้งในการเลือกตั้ง และในสภา เช่น อังกฤษ
2) แข่งขันผสมร่วมมือ (co-operative-competitive) เช่นสหรัฐอเมริกาที่พรรคแข่งขันสูงระหว่างเลือกตั้ง แต่ร่วมมือในสภาคองเกรสเพราะเอกภาพของพรรคมีต่ำ หรือในฝรั่งเศส และอิตาลี ที่ระบบหลายพรรคทำให้การแข่งขันที่เข้มข้นเกิดขึ้นได้ยาก เพราะต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลผสม
3) ช่วยเหลือผสมแข่งขัน (coalescent-competitive) เช่นออสเตรเลียที่พรรคฝ่ายค้านมักไม่มุ่งแข่งขัน แต่ช่วยเหลือกันกับพรรคเสียงข้างมาก
4) ช่วยเหลือกัน (strictly coalescent) เช่นโคลัมเบีย

III. สรุปแนวคิด จาก รายงานการวิจัยเรื่อง “รัฐประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๙ กับการเมืองไทย” เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์ เมื่อ ตุลาคม ๒๕๕๐
วิเคราะห์ กระบวนการ โค่นทักษิณ เป็น ๓ แนวทาง คือ
1. ปรากฎการณ์ สนธิ ลิ้มทองกุล
2. ตุลาการภิวัตน์ ภายหลัง พระราชดำรัส ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙
3. กองทัพภิวัตน์ กับรัฐประหาร ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๙
เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น จาก การเคลื่อนใหว (Movement) ของ ๓ เหตุการณ์ประกอบที่สำคัญนี้ แน่นอนว่าจะสัมฤทธิ์ผลได้คงต้องมีตัวขับ (Driver) ที่แท้จริง และมีพลังพอ ที่ทำการล้มล้าง รัฐบาล ที่มาจากการเลือตั้งต้อง ลงได้
ปรากฎการณ์ สนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งประกอบด้วยชนชั้นกลางในกรุงเทพฯ และ ชนชั้นนำเดิม ในระยะต้นผมถือว่า เป็นการต่อสู้ในระบอบเสรีประชาธิปไตย ที่ต้องมีพื้น(Sphere) ที่ให้คนกลุ่มเสียงข้างน้อย มีสิทธิ และ เสรีภาพ ในการแสดง ออก ถึง ความแตกต่างด้านความคิด ต่อ รัฐบาลที่มาจากการเลือตั้ง จากเสียงข้างมาก ของรัฐบาล ทักษิณ และ มีการขอ พระราชวินิจฉัย ตามมาตร ๗ ของ รัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจักไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อขอ นายก พระราชทาน ซึ่งก็ได้คำตอบที่ชัด เจน ว่าขัดต่อรัฐ ธรรมนูญ และ ไม่เคยมีประเพณี ปฏิบัติใด ของการปกครอง ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กระทำมาก่อน ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนี้บังคับแก่กรณีใด
ปรากฎการที่สอง ที่เรียกว่า ตุลการภิวัตน์ (judicialization of politics) ซึ่งเป็นคำประดิฐ์ ของ ธีรยุท บุญมี ทีมอง เสียงข้างมากของรัฐบาล ไทยรักไทย หรือ ที่ ธีรยุทธ เรียกว่า “ลัทธิ ๑๖ ล้าน เสียง” บวก กับ “ลัทธิสภา” จะนำไปสู่เผด็จ การรัฐสภา และ หลัง พระราชดำรัส ของพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๙ ซึ่งตัวขับทีมีพลังมากกว่า ปรากฎการณ์ สนธิ เริ่ม ปรากฎตัว และ โยงเข้าหา รัฐธรมมนูญ เพื่อ สร้างความเกี่ยวโยง ของการใช้ พระราชอำนาจ ตามมาตรา ๓ ของ รัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจักไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ โดย พระเจ้าอยู่หัว ในการทรงใช้พระราชอำนาจ อธิปไตย ทาง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และ ศาล ซึ่งเป็น ของปวงชนชาวไทย คำถาม เรื่องการทรงใช้ พระราช อำนาจ อธิปไตย ทาง ศาล ตาม มาตรา ๓ นั้น ผมเห็นว่า เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ชัดเจน แต่ อำนาจอธิปไตย นั้น เป็นของ ปวงชนชาวไทย ผมยัง ไม่ชัดเจนใน ถึงการเกี่ยวโยงของมาตรา ๓ ของรัฐธรรมนูญ จาก พระเจ้า อยู่หัว กลับไป หา ประชาชน เพราะ ประชาชน ในความหมาย ขณะ นั้น คือ ประชาชน ๑๖ ล้านเสียง หรือ ประชาชน ชั้นกลางและ ชั้นนำเดิม ที่ขัดแย้งกัน ในด้านกรอบคิดและ อุดมการณ์ หรือ ประชาชนทั้งประเทศ
ปรากฎการณ์ที่สาม เมื่อ กองทัพภิวัตน์ เดินหน้า ด้วยตัวขับ ตามข้อยกเว้นของสถนะการณ์ (Exceptional situation) ของ ชมิทท์ หลังจาก การปาฐกถา ของ องคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ที่ ร.ร. นาร้อย จปร, ร.ร. นายเรือ, และ ร.ร. นายเรืออากศ ตามลำดับ ตัวขับที่จะก่อให้ องค์อธิปัตย์ (Sovereignty) ใหม่ เริ่ม ปรากฎตัว ปรากฎการณ์ที่หนึ่งได้รับ สัญญาน ที่ทำให้เกิด แรงขับ สูงกว่า ปรากฎการณ์ สอง และ สาม และ ก่อให้เกิด แรงขับเคลื่อน สูงสุดรวม ของทั้งสามปรากฎการณ์ ที่ทำให้เกิด รัฐประหาร เมื่อ วันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ และ กำหนดการร่าง รัฐธรรมนูญชัวคราว ๒๕๔๙ เป็น องค์อธิปัตย์ชั่วคราว (Temporary Sovereignty) เพื่อ สร้าง รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ เป็น องค์อธิปัตย์ ใหม่ ซึ่งเป็น กฎหมายที่มี อำนาจสูงสุด ในการปกครองประเทศต่อไป ซึ่งถ้าอ้างความชอบธรรม ตามกรอบ แนวคิดของ Hans Kelsen ในเรื่อง ทีมาของ รัฐธรรมนูญ แล้ว คำถามที่ผมสงสัยคือ เงื่อนไขสภาพแวดล้อม และ เวลา เหมือน ในยุกต์ศตวรรตที่ ๑๙ ของเยอรมัน หรือไม่ ประชาธิปไตยของไทย ต้องการแค่ เจตจำนงค์ (will) โดยไม่ต้องสนใจเนื้อหา (content) หรือ หรือ พัฒนาการเสรีประชาธิปไตยของไทย ยังอยู่ใน ศตวรรษที่ ๑๙ และ องค์อธิปัตย์ ตัวจริงคือ ใคร รัฐธรมมนูญไทยที่ผ่านมา เป็น เพียง virtual sovereign หรือ เสมือนอำนาจสูงสุด เท่านั้น หรือ Popular Sovereignty อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ปวงชนก็เป็นสิ่งปวงชนเสมือน ที่ว่างเปล่าเช่นกัน หรือ อำนาจอธิปัตย์ ของไทย ไม่ใช่อำนาจสูงสุดจริง ยังมีอำนาจนำ (Hegemony) ทีมีผู้ยินยอมทำตามด้วยความสมัครใจ ที่ไม่ใช่กฎหมาย และ ธรรมนูญ
ข้อเขียนของ ธีรยุท บุญมี สรุปได้ว่า ต้องการให้อำนาจตุลาการ เข้ามาถ่วงดุลย์ อำนาจ บริหาร ของ รัฐบาลไทยรักไทย ซึ่ง ธีรยุทธมองว่า ระบบตัวแทน เกิดความบกพร่อง ฝ่ายรัฐสภาเองก็ขาดความเชี่ยวชาญด้ากฎหมาย และ อยู่ใกล้ผลประโยชน์ สาธารชน ผมลองตั้งคำถามว่า ศาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่เป็นหนึ่งในอำนาจหลัก ตามรัฐธรรมนูญ คือ อำนาจตุลาการ ถ้าเข้ามาแทนเสียงข้างมากในฐานะกลไกหลัก ของ นิติบัญญัติ อำนาจ หลัก ทั้งสามยังคงสมดุล อยู่หรือไม่ ?
ข้อเขียนของ ชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศษลฎีกา ที่อกมาต่อจาก ธีรยุท บุญมี ในเรื่องพระราชดำรัส เมื่อ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๙ มาตรา ๓ การใช้พระราชอำนาจ ทาง รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และ ศาล และ มาตรา ๗ พระราชวินิจฉัย




[1] อธิปไตย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้น สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่
อำนาจอธิปไตย ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เป็นต้น
อนึ่ง อำนาจอธิปไตยนี้ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย อาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า "รัฐ" ได้
สำหรับราชอาณาจักรไทย ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น อำนาจอธิปไตยจึงเป็นของประชาชน
อำนาจอธิปไตยนั้น โดยหลักสากล แต่ละรัฐจะมีองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตยอยู่ 3 องค์กร ได้แก่ องค์กรฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล นิติบัญญัติหรือรัฐสภา และตุลาการหรือศาล
ในสารานุกรมบริเตนนิกา กล่าวได้ว่าหมายถึง สิทธิแห่งอัตลักษณ์ทางการเมือง (Political Entity) ที่บ่งบอกถึงการใช้อำนาจของรัฐาธิปัตย์หรือผู้มีอำนาจสูงสุดทางการปกครอง อันแสดงถึงมโนทัศน์ของการมีอำนาจสูงสุด (the supremacy of power) ภายในขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์แห่งรัฐ
แนวคิดสำคัญเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตย ในกฎหมายระหว่างประเทศ ระบุไว้ว่าอำนาจประการนี้หมายความถึง การใช้อำนาจโดยรัฐ อำนาจอธิปไตยโดยนิตินัย (De jure Sovereignty) หมายความถึง สิทธิอำนาจตามกฎหมายที่จะกระทำการหนึ่งใด ส่วนอำนาจอธิปไตยโดยพฤตินัย (De facto Sovereignty) ความสามารถในทางจริงที่จะกระทำการเช่นนั้น
อำนาจตามความที่กล่าวถึงข้างต้น หมายความไปถึงอำนาจในลักษณะการที่สามารถเข้าใจได้ง่ายว่าเป็นอำนาจสูงสุดทางการปกครองของประเทศหนึ่งประเทศใด หรือรัฐหนึ่งรัฐใด ในฐานะหนึ่งที่อำนาจอธิปไตยเป็นองค์ประกอบที่แสดงให้เห็นและขาดเสียมิได้ของรัฐสมัยใหม่ (Modern State) หรือรัฐประชาชาติ(Nation-State)มิเช่นนั้น รัฐหรือรัฐประชาชาตินั้น ย่อมขาดความเป็นเอกราชในทางการเมืองการปกครอง
เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์ (2508, 100) ได้กล่าวถึงลักษณะสำคัญของอำนาจอธิปไตยไว้ดังนี้
1. ความเด็ดขาด (Absoluteness) กล่าวคือ ไม่มีอำนาจอื่นใดภายในรัฐที่เหนือกว่า และจะไม่มีอำนาจอื่นที่มาจำกัดอำนาจในการออกกฎหมายของรัฐ
2. การทั่วไป (Universality) อำนาจอธิปไตยของรัฐ มีอยู่เหนือทุกคนและทุกองค์กรที่อยู่ในรัฐ มีข้อยกเว้นเพียงแต่ว่า เมื่อมีผู้แทนของต่างรัฐมาประจำในประเทศ ผู้แทนต่างรัฐจะไม่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น ซึ่งเป็นประเพณีปฏิบัติระหว่างประเทศมานาน
3. ความถาวร (Permanence) อำนาจอธิปไตยของรัฐยังคงมีอยู่ตราบเท่าที่รัฐยังคงดำรงอยู่ ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในนามของรัฐอาจจะเปลี่ยนแปลงหรืออาจมีการปฏิรูปการปกครองเปลี่ยนระบบของรัฐบาลได้ แต่อำนาจอธิปไตยมิได้สูญหายไปจากรัฐ
4. การแบ่งแยกมิได้ (Indivisibility) หมายความว่า ในรัฐ ๆ หนึ่ง จะต้องมีอำนาจอธิปไตยที่เป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น หากมีการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยก็ย่อมเป็นการทำลายอำนาจอธิปไตย แต่ในที่นี่การแบ่งแยกดังกล่าวมิได้หมายถึง การแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยให้องค์กรต่าง ๆ เป็นผู้ใช้อำนาจ
นับได้ว่า ฌอง โบแดง (Jean Bodin) เป็นนักปรัชญาการเมืองของโลกตะวันตก ชาวฝรั่งเศส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หรือประมาณ พ.ศ. 2100 คนแรกที่ริเริ่มใช้คำว่าอำนาจอธิปไตย ในความหมายที่เข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือในความหมายที่เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่รัฐทั้งหลายในโลกปกครองโดยระบอบที่มีกษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดหรือสมบรูณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้คติความเชื่อทางการปกครองอันไม่แตกต่างกันมากนักว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอาณัติอำนาจจากสวรรค์ หรือจุติจากสวรรค์ลงมาปกครองโลก (Divine Rights of King)
โบแดง ได้เสนอปรัชญาเกี่ยวกับทฤษฎีอำนาจอธิปไตยไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นเครื่องหมายที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างรัฐกับสังคมอื่น ๆ ที่ครอบครัวหลายครอบครัวอยู่ร่วมกัน โบแดงได้เริ่มต้นอธิบายเรื่องนี้ไว้ในบทที่ 8 และบทที่ 10 ของหนังสือเรื่อง “Six Books” พรรณาว่าครอบครัวเป็นพลเมืองของรัฐ ซึ่งต้องยอมอยู่ภายใต้อำนาจขององค์อธิปัตย์ หรือผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด ซึ่งโดยหลักการนี้ รัฐจึงประกอบด้วยผู้ปกครองและผู้ใต้อำนาจปกครอง และการยอมรับในอำนาจปกครองของพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครองนี่เอง จะทำให้มนุษย์เป็นพลเมืองได้เป็นประการสำคัญ นอกจากรัฐจะมีอธิปัตย์หรือมีอำนาจอธิปไตยแล้ว รัฐจะมีพลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของผู้ปกครองอันเดียวกัน แม้พลเมืองจะมีขนธรรมเนียมภาษากฎหมายที่ยอมรับบังคับใช้ หรือศาสนาที่ต่างจากผู้ปกครองก็ตาม
โบแดง กล่าวเกี่ยวกับรัฐไว้ว่า รูปแบบของรัฐบาลจะเป็นรูปใดนั้น จะขึ้นอยู่กับว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของใคร หากเป็นของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจของรัฐก็จะเป็นของกษัตริย์ ซึ่งจะเป็นองค์อธิปัตย์หนึ่งเดียว หากเป็นคณะบุคคลปกครองก็จะเป็นคณาอธิปไตย ขณะที่ถ้าเป็นสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจปกกกครอง ก็จะเป็นประชาธิปไตย ในแง่รัฐบาล โบแดงมีความเห็นว่ารัฐเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย ขณะที่รัฐบาลเป็นเครื่องมือที่รัฐจะใช้อำนาจอธิปไตย
อำนาจอธิปไตยในทัศนะของโบแดงนั้นหมายความถึง อำนาจที่มีถาวรไม่จำกัด และไม่มีเงื่อนไขผูกมัดที่จะออกกฎหมาย ตีความและรักษากฎหมาย อำนาจนี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อรัฐที่มีระเบียบที่ดี อำนาจนี้เองทำให้รัฐแตกต่างไปจากการรวมกลุ่มของบุคคลในสมัยโบราณ อย่างไรก็ตาม โบแดงเห็นว่า อำนาจอธิปไตยนี้อาจถูกจำกัดโดยกฎหมายธรรมชาติหรือกฎธรรมชาติ อันเป็นบรรดากฎหมายต่าง ๆ ที่กำหนดความถูกต้องหรือความผิดในลักษณะที่มุ่งให้คน รักษาสัญญาและเคารพทรัพย์สินของคนอื่น ส่วนอีกประการหนึ่งที่เป็นสิ่งจำกัดอำนาจอธิปไตยคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายถึงกฎหมายหลักของประเทศ (โดยเฉพาะหมายถึงรัฐธรรมนูญของฝรั่งเศส )
มองเตสกิเออ (Montesquieu) นักคิดนักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส ผู้ให้กำเนิดแนวคิดในการแบ่งแยกอำนาจปกครองสูงสุดหรืออำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย โดยพิจารณาในแง่ขององค์กรผู้ใช้อำนาจออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ ตามแนวคิดของอริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์การเมืองชาวกรีกโบราณ บนพื้นฐานหรือมีเป้าประสงค์ประการสำคัญแหล่งหลักการคือการให้อำนาจแต่ละฝ่ายถ่วงดุลและตรวจสอบซึ่งกันและกันทั้งสามฝ่าย และเพื่อประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้ปลอดจากการใช้อำนาจโดยมิชอบขององค์กรภาครัฐที่ใช้อำนาจหนึ่งอำนาจใดที่อาจละเมิดลิดรอนโดยอำนาจรัฐไม่ว่าฝ่ายใด ซึ่งตามแนวคิดดั้งเดิมของมองเตสกิเออนั้น ได้แบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจนิติบัญญัติ (Puissance Legislative) ซึ่งใช้อำนาจปฏิบัติการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับกฎหมายมหาชน และองค์กรที่ใช้อำนาจปฏิบัติการต่าง ๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับกฎหมายเอกชน ซึ่งก็คือ สภาที่ทำหน้าที่ประชุมและปรึกษาในเรื่องการเมือง องค์กรเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือช้าราชการ และองค์กรฝ่ายตุลาการ นั่นเอง เหตุผลที่มองเตสกิเออเสนอแนวคิกให้แบ่งแยกอำนาจการปกครองสูงสุดนี้เนื่องจากเขาเห็นว่า หากอำนาจในการนิติบัญญัติหรือการตรากฎหมาย อำนาจในการบริหารหรือการบังคับตามมติมหาชน และอำนาจตุลาการในการพิจารณาคดี ถูกใช้โดยบุคคลเดียวหรือองค์กรเดียว ไม่ว่าจะเป็นขุนนางหรือประชาชนก็ตามแล้ว ยากที่จะมีเสรีภาพอยู่ได้ ทั้งนี้เป็นเพราะ ผู้ใช้ทั้งอำนาจนิติบัญญัติรวมกับอำนาจบริหาร จะออกกฎหมายแบบทรราชและบังคับใช้กฎหมายในทางมิชอบ หากอำนาจตุลาการรวมกันกับอำนาจนิติบัญญัติ ผู้พิพากษาจะเป็นผู้ออกกฎหมาย อันอาจส่งผลให้ชีวิตและเสรีภาพของผู้ใต้การปกครอง ถูกบังคับควบคุมโดยกฎหมายที่ลำเอียง และหากให้อำนาจตุลาการรวมกับอำนาจบริหารแล้ว ผู้พิพากษาจะประพฤติตัวแบบกดขี่รุนแรง อันจำเป็นต้องแยกอำนาจแต่ละด้านออกจากกัน
อย่างไรก็ตาม ด้วยฐานคิดของมองเตสกิเออที่ว่า การแบ่งแยกอำนาจการปกครองมิใช่มรรควิธีประการเดียวในการตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลยากที่จะจัดการกับปัญหาการทุจริตจากการบริหารงานที่สลับซับซ้อนไม่โปร่งใสได้จริง ทำให้แท้จริงนั้น ประชาชนต่างหากคือผู้ที่จะควบคุมได้อย่างเกิดประสิทธิผลมากที่สุด การแบ่งแยกอำนาจการปกครองในมุมมองสมัยใหม่ จึงเป็นหลักการที่ถูกกล่าวถึงควบคู่ไปกับบทบาทหน้าที่ในการมีส่วนร่วมตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจโดยองค์กรผู้ใช้อำนาจของประชาชน
ต่อมานักปรัชญาการเมืองสมัยหลังได้แจกแจงอำนาจอธิปไตยตามแนวคิดของมองเตสกิเออ ออกเป็นอำนาจนิติบัญญัติจะทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ตามหลักการกว้าง ๆ แล้ว โดยกำหนดให้องค์กรผู้ใช้อำนาจบริหารหรือฝ่ายปกครองไปกำหนดรายละเอียด ด้วยการออกกฎ ข้อบังคับ ประกาศ อันเป็นกฎหมายลำดับรอง (subordinate Legislation) ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องสัมพันธ์กับกฎหมายหลัก ในอันที่จะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเรื่องใด ๆ ในสังคม
ส่วนอำนาจบริหาร ถูกกำหนดให้ใช้โดยองค์กรหนึ่งที่เรียกว่ารัฐบาล (Government) ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของตนเองไว้อย่างเคร่งครัด นอกไปจากนี้ องค์กรที่ใช้อำนาจบริหาร มีอำนาจตามชื่อในการบริหารราชการและปกครองประเทศ ภายใต้เป้าหมายสูงสุดคือการสร้างความกินดีอยู่ดีของประชาชน ส่วนอำนาจตุลาการ เป็นอำนาจในการวินิจฉัย พิจารณาพิพากษาบรรดาอรรถคดีทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทระหว่างองค์กรภาครัฐกับองค์กรภาครัฐ องค์กรภาครัฐกับเอกชน หรือเอกชนกับเอกชน อย่างไรก็ตาม ขอบอำนาจในการพิจารณาประเภทข้อพิพาทดังกล่าวข้างต้น ย่อมถูกจำแนกแจกแบ่งไปตามองค์กรใช้อำนาจตุลาการหรือศาลที่ต่างกันไปในรายละเอียด เช่น อำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีอันเป็นข้อพิพาทระหว่างองค์กรภาครัฐกับองค์กรภาครัฐ องค์กรภาครัฐกับเอกชน หรือเอกชนกับเอกชน อันเกี่ยวกับคำสั่งหรือสัญญาทางปกครอง เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ซึ่งในประเทศไทย มีฐานะเป็นระบบศาลหนึ่ง นอกเหนือไปจากศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
กระนั้นก็ตาม การแบ่งแยกอำนาจเป็นแต่ละฝ่ายดังกล่าวข้างต้น มิได้หมายความว่าอำนาจอธิปไตยที่ถูกแบ่งแยกเป็นแต่ละฝ่ายนี้จะต้องมีองค์กรรองรับการใช้อำนาจที่มีอำนาจเท่าเทียมกันแต่ประการใด จึงเป็นไปได้ที่องค์กรหนึ่งอาจมีอำนาจเหนือองค์กรหนึ่ง เพียงแต่ย่อมมิใช่การให้อำนาจที่เหนือกว่านั้นเป็นไปอย่างเด็ดขาด และเพื่อสร้างความสามารถในการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) จำเป็นอยู่เองที่จะต้องมีการกำหนดมาตรการที่เป็นหลักประกันการใช้อำนาจในประการนี้ระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ อธิปไตยในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามี ๓ อย่าง ๑.อัตตาธิปไตย ๒.โลกาธิปไตย ๓.ธรรมมาธิปไตย อัตตาธิปไตย คือการปกครองที่ถือตามความต้องการของตนเองหรือคนส่วนน้อยเป็นใหญ่ แบบราชา คณา โลกาธิปไตย หมายถึงการปกครองที่ถือตามความต้องการของคนส่วนมาก หรือประชาธิปไตยเป็นใหญ่ ธรรมมาธิปไตยหมายถึงการปกครองที่ถือตามความถูกต้องเป็นธรรม หรือปัจเจกชนเป็นใหญ่(สมัชชา เนการขอความร่วมมือทุกคนมีสิทธิที่จะให้ร่วมมือหรือไม่ให้)โดยที่ถือการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยถือคุณธรรมในใจ(หิริ)สูงกว่ากฎหมาย(โอตตัปปะ)แบบจักกพรรดิ์หรือเลขาธิการ(การปกครองที่จารีต ประเพณีใหญ่กว่าอำนาจกฎหมาย)
· เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์. 2508. หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: มปพ.

แนวตอบข้อสอบ
๑.ชมิทท์ ใน ศตวรรษที่ 19 มองว่า ประชาธิปไตย (Democracy) พร้อมจะเป็นพันธมิตรกับอะไรและใครก็ได้ ไม่ว่า เสรีนิยม, สังคมนิยม, ปฎิวัติ, สะท้อนให้เห็นว่า ประชาธิปไตยเป็นแค่รูปแบบทางองค์กรที่ปราศจากเนื้อหาทางการเมืองที่ชัดเจน ชมิทท์ มองว่า ประชาธิปไตย ทำให้ระบบรัฐสภาล้มเหลว ชมิทท์ ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีการเมืองของระบอบเสรีนิยม โดยเฉพาะ ทฤษฎีการเมืองแบบพหุนิยม (Pluralisms) โดยให้ความเห็นว่าคลุมเครือและมีปัญหา โดยเฉพาะ โดยเฉพาะในแง่ที่มันมุ่งโดยตรงที่มุ่งต่อต้านความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของรัฐ (ฌอง โบแดง เห็นว่า Pluralization of Sovereignty ไม่สามารถแบ่งแยกได้ แต่ Pierre Rosanvallon เห็นว่าสามารถแบ่งได้เพื่อนำสู่ความสมดุลย์ ที่ควบคุมซึ่งกันและกัน)
Liberal Democracy หรือ เสรีประชาธิปไตย เสรีภาพย่อมนำมาซึ่งความขัดแย้ง เพราะเสรีภาพเป็นเรื่องของปัจเจกชน ดังนั้นความขัดแย้งที่เป็นส่วนรวม จึงต้องตัดสินใจด้วยเสียงส่วนใหญ่ของประชาชน โดยไม่ละเมิดหลักการของ Liberal แต่เสียงส่วนใหญ่ไม่สามาถใช้ในการตัดสินใจได้ทุกเรื่อง เช่น การไว้หนวด การนับถือศาสนา ไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตย เพราะ ฮ็อบบ(Thomas Hobbes) เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนเกิดมาพร้อมกับ เสรีภาพ แต่มนุษย์สละ เสรีภาพบางส่วนให้ องค์อธิปัตย์ (รัฐ หรือ ผู้ปกครอง)และ มองการแก้ปัญหาของ คนด้วยการเคารพในสัญญาประชาคม(Social Contract) รัฐต้องปกครองด้วยกฎหมาย หรือ The Rule of Law
๒. ชมิทท์ มองว่าการเมือง (Politicals) คือ การแบ่งแยก มิตรและศัตรู หลัก หรือ หัวใจของ ชมิทท์ ในเรื่องนี้คือ การอธิบายศัตรูมากว่ามิตร โดยมองว่าจะรู้ว่าเราคือใครก็ต่อเมื่อรู้ว่าศัตรูคืออะไร และ คือใครก่อน (ศัตรูของ ชมิทท์ ไปใช่เรื่องของความเกลียดชังระหว่างบุคคล) ศัตรูจะดำรงอยู่ก็ต่อเมื่อ เกิด หรือมีแนวโน้มว่าจะเกิด การต่อสู้ ระหว่างประชาชน สอง กลุ่ม ขึ้นไป และเป็นศัตรูของสาธารณะ ไม่ใช่ส่วนบุคคล รัฐประชาชาติ สมัยใหม่ มีความซับซ้อนมากขึ้น คำว่าศัตรูของ ชมิทท์ ก็ไม่ง่ายต่อการที่จะบอกว่าศัตรูคืออะไร ศัตรูคือใคร เช่น กรณีก่อการร้าย หรือ กรณี 9/11 หรือ การณสงคราม อิรัค ความคลุมเครือว่าศัตรูที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ เป็นนามธรรม หรือ การบอกว่าศัตรูคือใคร เพราะถ้าบอกว่าศัตรูคือผู้ก่อการร้าย แต่ยากที่จะชี้ชัดว่าใครคือผู้ก่อการร้าย เพราะคำว่าผู้ก่อการร้ายก็คลุมเรือ
๓. ชมิทท์ อธิบายการโต้แย้งว่าอะไรคือความถูกต้องและ ยุติธรรมของการปฏิวัติรัฐประหาร ว่า องค์อธิปัตย์ (Sovereignty) เท่าน้น ที่จะมีอำนาจบอกว่าอะไรคือความถูกต้องหรือความยุติธรรมได้ คือ ยกอำนาจของประชาชนให้แก่รัฐ แล้วองค์อธิปัตย์ คือใครก็ตามที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ (Decision) ว่าอะไรคือประโยชน์แห่งสาธารณะ หรื อะไรคือประโยชน์ ของรัฐ อะไรคือความสงบสุขและความปลอดภัยของส่วนรวม ใน สถานะการพิเศษ (Exceptional Situation) ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อการดำรงคงอยู่ของรัฐ ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่กฎหมายไม่ได้บัญญัติไว้ ดังนันสำหรับ ชมิทท์ องค์อธิปัติย์ ไม่ได้อยู่ภายใต้ของตัวบทกฎหมายใด ความชอบธรรมขององค์อธิปัติย์ ก็ไม่ได้มาจากความชอบธรรมตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ฉะนั้นองค์อธิปัติจึงไม่จำเป็นต้องมาจากประชาชน เช่น การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ของ คมช.

วิพากษ์ รัฐธรรมนูญ และ สถาบันการเมืองไทย
๑.โครงสร้าง รัฐธรรมนูญ และ สถานันการเมืองไทย
ก. วิภาคโครงสร้าง รัฐธรรมนูญไทย
1. ที่มา (แนวความคิด หรือ ทฤษฎีทางการเมืองของใคร)
2. ข้อจำกัด (ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์)
3. ความคิดเห็น ต่อ รัฐธรรมนูญไทย และ อนาคตของรัฐธรรมนูญไทย
ข. วิภาคสถานับการเมืองไทย
a. ที่มา (การเมือง คือ มิตรและ ศัตรู)
b. ข้อจำกัด
c. ความคิดเห็น
ค. สรุป ความคิดเห็น และ วิพากษ์ รัฐธรรมนูญและ สถาบันการเมืองไทย และ อำนาจอธิปไตย ในกระแสโลกเสรีประชาธิปไตย
วิพากษ์ รัฐะธรรมนูญและสถาบันการเมืองไทย
โดย ตรัยรัตน์ แก้วเกิด MPE. 16
ประเทศไทยเชื่อกันว่าเป็นประเทศที่มีการปกครองในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ นับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จากระบอบ สมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็น ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข รวมได้ประมาณ เกือบ 76 ปี ไทยมีรัฐธรรมนูญถึง ฉบับ ซึ่งมีรัฐธรรมนูญปี ๒๕๕๐ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ที่เป็นผลมาจาก การรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ซึ่งเป็น อำนาจ อธิปัติย์ ล่าสุด ที่เกิด จาก exceptional situation โดยมี คมช. เป็น องค์อธิปัติย์ ชั่วคราว
I. วิพากษ์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทย ปี ๒๕๕๐
1. ทีมาของ ระบอบการปกครองประชาธิไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของไทย เกิดจากการยึดอำนาจของคณะราษฎ์ เพื่อลดทอน อำนาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งเดิมเป็น องค์อธิปัตย์ (Sovereignty) หรือผู้มีอำนาจสูงสุด ลงมาอยู่ใต้ รัฐธรรมนูญ (Constitute) ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด ในระบอบประชาธิไตย แทน เพื่อใช้เป็น ปทัสถานพื้นฐาน (Basic Norm) ในการปกครองประเทศ คือการปกครองประเทศไทยจะเป็น นิติรัฐ หรือ การปกครองด้วยกฎหมาย (rule of law) ไม่ใช้การปกครองด้วยคน (rule of man) อีกต่อไป พระมหากษัตริย์ ใช้อำนาจอธิปไตย (Sovereign) ตามรัฐธรรมนูญ ผ่าน สถาบันทางการเมืองง ตามรัฐธรรมนูญ คือ สภานิติบัญญัติ คณะรัฐมนตรี และ ตุลาการ โดยการเกี่ยวโยงกลับไปหาประชาชน ซึ่งเป็นไปตาม ทฤษฎีอำนาจอธิปไตย ของ ฌอง โบแดง (Jean Bodin) ว่าอำนาจอธิปไตย อยู่ในมือของรํฐ ในรูปแบบใด ผู้นั้นก็เป็นผู้ใช้อำนาจ อธิปไตย เช่น ระบบ สมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์ ก็เป็น องค์อธิปไตย ถ้าเป็นระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตร์เป็นประมุข กษัตริย์ ก็ยังคงใช้อำนาจ อธิปไตย ที่เชื่อกันว่าเป็นของ หรือมาจาก ประชาชน โดยผ่าน สถาบันทางการเมืองของ รัฐ คือ อำนาจนิติบัญญัติ (สภา), อำนาจบริหาร (คณะรัฐมนตรี) และ อำนาจตุลาการ(ศาล) ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจปกครองสูงสุด หรือ อำนาจอธิไตย ออกเป็น 3 ฝ่าย ของ มองเตสกิเออ (Montesquieu) และ บนพื้นฐานของการถ่วงดุลย์ อำนาจกัน ตามแนวคิดของ อริสโตเติลเพื่อป้องกัน ประชาชน ให้ปลอดจากอำนาจของรัฐ ที่อาจละเมิดลิดรอน สิทธิเสรีภาพ
2. การที่ไทยมีรัฐธรรมนูญ หลายฉบับ และ มีทีมาแตกต่างกัน ถ้าคิดแบบง่ายตาม แนวคิดของ Hans Kelsen ก็ไม่ใช้สิ่งแปลกในเรื่องที่มาหรือเนื้อหาของ องค์อธิปัติย์ ความสำคัญอยู่ที่เจตนารมรณ์ (general will) คือ การร่างรัฐธรรมนูญ และ การคืนอำนาจอธิปไตย ให้แก่ประชาชน (ประชาชน จึงเป็น สิ่งสุมมุติ ในเวลานั้น ที่มีประสิทธิภาพ) จึงมีคำถามว่า เจตจำนงค์นั้น มาจากการคิดอย่างมีเหตุผล (Rationality) ของประชาชนเอง หรือถูกครอบงำ หรือ เพื่อทำให้เกิด อำนาจทางการเมือง (political Power) หรือเป็น Justification อยู่บนเหตุ และ ผล อะไร? แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป คงต้องมองถึง ตัวขับ (Drivers) ที่มีประสิทธิภาพมากพอที่ ทำให้ องค์อธิปัตย์ ตัวจริงในขณะนั้น ออกมาล้มล้าง องค์อธิปัติย์ เสมือน (virtue sovereignty) ในขณะนั้น ออกไป ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า องค์ อธิปัติย์เสมือน นั้นมีอายุยืนยาวแต่งต่างกัน และ สิ่งที่เราประกาศว่า ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีองค์พระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุขนั้น ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศนั้น ในความหมายของผม องค์พระมหากษัตริย์ เป็น สถาบันที่ดำรงค์อยู่ตลอดไปในรัฐธรรมนูญของไทยปัจจุบัน แต่รัฐธรรมนูญทุกฉบับ เป็นเพียง virtue constitution ที่จะรักษา efficacy เพื่อให้มันสามารถ validity อยู่เหนือ แรงขับ ที่จะเปลี่ยแปลงมัน ได้นานขนาดไหน และ ถ้ามองในแง่ของ Hannah Arendt แล้ว การร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ของไทย ผู้ร่วมร่าง รัฐธรรมนูญ ก็ไม่มีความชอบธรรม และ เหตุผล ในการอ้างความเป็นตัวแทนของประชาชน ไทย เพราะ ปราศจากความเป็น รัฐธรรมนูญ (unconstitutional) ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ แต่แรกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งจาก คมช.(คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) ก็ตาม
3. สิ่งที่ยังเป็นกรอบคิดของคนไทย คือ ศานา และ องค์พระมหากษัตริย์ ทียึดติดมานานกับสังคมไทยทำให้ รัฐธรรมนูญเองมีข้อจำกัดในหลายๆ เรื่อง เช่น รัฐไม่สามารถเป็น นิติบุคคลได้ เพราะเมื่อรัฐเป็น นิติบุคคลได้ รัฐย่อมถูกฟ้องร้องได้ พระมหากษัตริย์ก็จะถูกฟ้องร้องไปด้วย แต่รัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ในหมวด ๒ พระมหากษัตริย์ มาตรา ๘ ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพ สังการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะฟ้องร้องหรือกล่าวหาพระมหากษัตร์ย์ในทางใดๆมิได้”
ทำนองเดียวกัน ศาสนา แม้ใจไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ศาสนาและ การเมืองไทยไม่สามารถแยกออกจากกันได้ในกรอบแนวคิดของคนไทย จึงส่งผลต่อการบัญญัติกฎหมายต่างๆ ที่ต้องคำนึงถึง ศาสนา และ วัฒนธรรมประเพณี ทั้งๆที่ศาสนาเป็น เรื่องของ ปัเจจกชน (Individual) เป็นเรื่องส่วนบุคคล จึงทำให้ประเทศไทยไม่สามารถ ออกกฎหมาย บ่อนการพนัน หรือ โสเภณี ที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ ซึ่งจะเห็นว่ากรอบคิดของไทยนั้นแตกต่างจากกรอบคิดทางปรัชญาทางการเมืองของ ประเทศทีมีการพัฒนาประชาธิไตยมาไกลแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป คือ การแยกกฎหมายออกจากการเมือง เพราะ ศาสนา เศรษกิจ และ วัฒนธรรม เป็นเรื่องที่เกี่ยข้องกับ การเมือง ตาม กรอบแนวคิดเรื่อง “The Pure Theory of Law” ของ Hans Kelsen กฎหมายต้องการความเป็นเอกเทศ มีความเป็นอิสระ (Autonomous) แม้เราจะไม่สามารถทำให้ กฎหมาย ไทยบริสุทธิ์ ได้ร้อยเปอร์เซ้นต์ แต่แนวความคิดของ Kelsen ก็สามารถทำให้ กฎหมาย แปดเปื้อนน้อยลง ถ้าเราสามารถแยกส่วนของการเมืองออกไปได้บ้าง หรือ ขจัด ลด สิ่งนอกกฎหมาย (Extra- Legality) ลง เพื่อเพิ่ม ดีกรี ความบริสุทธิของกฎหมายขึ้น
4. ข้อคิดเห็นต่อรัฐธรรมนูญไทย ฉบับ ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ จะเห็นว่าข้อจำกัดดังกล่าวใน ข้อ สองก็ยังคงดำรงอยู่ ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมาย สูงสุด ส่วนสำคัญทำให้ชัดเจนขึ้น คือการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง และ การเพิ่ม กลไกการตรวจสอบอำนาจรัฐ ทั้ง ฝ่ายนิติบัญญัติ และ ฝ่าย บริหาร ซึ่งแม้จะมีผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย และ นักวิชาการ เข้าร่วมร่าง โดย อ้างว่าเป็นเจตจำนงค์ ของประชาชน จากการออกเสียงประชามติ (Referendum) เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๐ เพื่อ รับร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ผมเห็นว่าการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ และ การร่างรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ ที่ผ่านมา เป็นเพียงกระบวนการทางการเมือง เป็นการปรากฎตัวของ องค์อธิปัตย์ (Sovereignty) ในสภาวะพิเศษ (exceptional situation) หรือ สถานะการณ์ยกเว้นที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยกฎหมาย ไม่มีสาระสำคัญในแง่เนื้อหา (Contents) เพิ่มขึ้นจาก รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๔๐ มาก เป็นเรื่องของเจตจำนงค์ และ การแยก ว่าศัตรูคืออะไร? และ ศัตรูคือใคร? ให้ชัดเจนเพื่อจะได้บอกว่า เขาคือใคร ไม่มีใครสามารถยืนยันได้ว่า ประเทศไทยจะปลอดจาก การปรากฎตัว ขององค์ อธิปัติย์ ในสถานะการพิเศษ สถานะการอันตราย ต่อความอยู่รอด หรือความมั่นคงแห่งรัฐ ซึงเป็นเจตุจำนงค์ ที่องค์อธิปัติย์ ที่ปรากฎตัวขึ้น จะนำมาใช้ แต่ต้องดูว่าตัวขับที่จะทำให้ เกิด ขึ้น อาจจะไม่สามารถ อ้างเจตุจำนงค์ ของประชาชน ได้ง่ายขึ้น เมื่อภาคประชาชน เริ่ม มีการเรียนรู้ มีประสบการณ์ และ สามรถควบคุมให้ รัฐธรรมนูญ สามารถมีผลบังคับอย่างมีประสิทธิภาพ (Efficacy) เพื่อให้กฎหมายมีความสมบูรณ์ (Validity)
เนื่องจากการปกครอง ในระบอบเสรีประชาธิปไตย มีความซับซ้อนมากขึ้น เสรีนิยม มีความต้องการมากขึ้น ในกรอบของเสรีประชาธิปไตย ทีต้องไม่กระทบ หรือ ละเมิด ผู้อื่น การปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตย ในอดีต และ ปัจจุบันของ ไทย ยังคงต้องมีการพัฒนา ไปสู่อนาคตในระดับที่เติบโต ถ้าเปรียบการเจริญเติบโตของ เสรีประชาธิปไตยของไทย เป็น วงจรชิวิตของ สินค้า (Product Life Circle) หนึ่งแล้ว เสรีประชาธิปไตยของไทย ก็ถือว่าเป็น สินค้า ในช่วงเริ่มต้น (early state) การจะทำให้สินค้าเติบโตขึ้นไป ย่อมต้องลงทุน ในการทำตลาด และการปรับปรุงคุณภาพของสินค้า อีกมากจึงจะทำให้สินค้า อยู่ในช่วง เติบโต (growth state) เหมือนในประเทศที่เสีรีประชาธิปไตย ที่พัฒนามาถึง growth state แล้ว แต่การพัฒนาก็ควรจะถูกพัฒนาให้เติบโตทันตลาดเสรีประชาธิปไตย ก่อนที่ สินค้าจะเข้าสู่ภาวะเสื่อมลง (decline state) นอกจากนี้ ปทัสถาน ที่เป็นอยู่ อยู่บนความถูกต้อง (Righteousness) และ การมีเหตุผล (Rationality) เพียงไร
II. วิพากษณ์สถาบันการเมืองไทย ตาม รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐
1. พรรคการเมือง และ ระบบพรรคการเมือง( The Political System) ของไทย
2. รัฐสภา ระบบรัฐสภาของไทย ที่มี สภาผู้แทน ราษฎร และ วุฒิสภา และ ส่วนหนึ่งของวุฒิสภาที่มาจากการคัดเลือก

3. คณะรัฐมนตรี
4. ตุลาการ
5. องค์การตามรัฐธรรมนูญ และ การตรวจสอบอำนาจรัฐ
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และ การตรวจสอบอำนาจรัฐ ในหมวดที่ ๑๑ และ ๑๒ ของรัฐธรรมนูญ ตามลำดับ
องค์กรตามรัฐธรรมนูญ คือ องค์กรอิสระ และ องค์กรอื่นๆ
a. ส่วนที่ ๑ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย
1) คณะกรรมการการเลือตั้ง,
2) ผู้ตรวจการแผ่นดิน,
3) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ,
4) คณะกรรมหารตรวจเงินแผ่นดิน
b. ส่วนที่ ๒ องค์กร อื่นๆตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วย
1) องค์กรอัยการ,
2) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ,
3) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ และ สังคม แห่ง ชาติ
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
1) การตรวจสอบทรัพย์สิน
2) การกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์
3) การถอดถอนจากตำแหน่ง
4) การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

3.รม. 623 รัฐธรรมนูญกับสถาบันการเมือง

รม 623 รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

อ.ธเนศ วงศ์ยานนาวา
๑. การปกครองด้วยกฎหมาย (The rule of law) ย่อมดีกว่าการปกครองด้วยมนุษย์ (The rule of man) มนุษย์ ไม่มีความเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน เสรีนิยมต้องการควบคุมมนุษย์ภายใต้กรอบของ กฎหมาย และรัฐธรรมนูญ บนปทัสถาน (norm) ของ ความถูกต้อง และเที่ยงธรรม (Validity) แต่ Norm ของเสรีนิยม ก็ยังอยูบนพื้นฐานของความปราถนา (desire) ในความเห็นของ Chantal Mouffe เมื่อมีแรงปรารถนา บนปทัสถานแล้ว ก็ไม่สามารถแก้ความขัดแย้งทางการเมืองได้ ดังนั้นกฎหมายของมนุษญืจึงเป็นเพียงตัวแทน (representative) ที่เลียนแบบพระเจ้าเท่านั้น จึงหาความยุติธรรมไม่ได้ ดังนั้นกฎหมายจึงเป็นของเทียม (artificial)
๒. กฎหมาย ความรุนแรง และ ความยุติธรรม
ความยุติธรรมและ กฎหมาย เป็นคนละสิ่งกัน มนุษย์เป็นผู้ตีความกฎหมาย ย่อมจะหลีกหนี ค่านิยม ผลประโยชน์ และ ศีลธรรม ไปไม่พ้น
Hans Kelsen เห็นว่า ความยุติธรรมเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) แต่กฎหมายเป็น สิ่งสัมพัทธ์ (Relative) จึงมีคำถามว่าทำอย่างไรให้กฎหมายบริสุทธิ์ (pure law) คือปราศจากค่านิยม ผลประโยชน์ และ ศีลธรรม เพื่อให้กฎหมาย validity ดังนั้น กฎหมายต้องมี กฎ ที่มีอำนาจสูงกว่ามารองรับหรือให้ความสมเหตุเหตุผล (Justification) ซึ่งเสรีนิยม มองว่า มันคือ รัฐธรรมนูญ และให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ดังนั้น รัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถอ้างอิงกฎหมายอะไรที่สูงไปกว่ามันได้ เพราะมันถูกวางให้เป็น กฎหมายสูงสุด รัฐธรรมนูญ จึงกลายเป็นกฎหมายที่ไม่บริสุทธิ เพราะมันต้องพึ่งพาสิ่งอื่นที่ไม่ใช่กฎหมาย (Extra Legality) เช่น อำนาจอธิปไตย
๓. ความเป็นประชาชน ไม่ได้ต้องการกฎหมาย เพราะในระบอบเสรีประชาธิปไตย กฎหมายมาจากประชาชน แต่การเป็นประชาชนได้นั้นต้องการรัฐ แต่รัฐไม่ได้ต้องการประชาชน(แต่นักการเมืองต้องการประชาชน) รัฐต้องการประชากร (Population) เพราะประชากรมีลักษณะที่เป็นพลวัตร คืเกิดแก่เข็บตาย
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของอำนาอธิปไตย ที่แบ่งแยกไม่ได้นั้น ทำให้ผู้คนที่แตกต่างกันสามารถมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ รัฐจึงทำให้คนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ ประชาชน เมื่อไม่มีรัฐแล้ว ประชาชน ก็เป็นเพียง ฝูงชน (Multitude)
๔. สภาวะของ “การเมือง” และ “กฎหมาย” ทำให้รากฐานของการปกครองที่ต้องการปกครองด้วยกฎหมาย กลับไปสู่สภาวะไร้กฎหมาย แต่ด้วยแรงปรารถนา (desire) ทางการเมืองที่ต้องการปกครองด้วยกฎหมาย หรือ รัฐกฎหมาย (legal State) การเมืองจึงกลายเป็นการรวมทุกอย่างเบ็ดเสร็จ (Totalization) ให้มาเป็นการเมือง จนทำให้ประโยค “ทุกสิ่งทุกอย่างเป็การเมือง” เป็นจริงขึ้นมา
๔. แนวคิดทางกฎหมายเองตั้งอยู่บนรากฐานที่ต้องการเป็นเอกเทศ ทีบริสุทธิไม่แปดเปื้อน แต่ไม่สามารถเป็นได้เพราะไม่สามารถรัษาความเป็น อัตตกฎ (Autonomous) ได้ เพราะการจะเป็น “กฎ” ขึ้นมาได้กลับต้องอาศัยสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่กฎหมาย (Extra Legality) เช่น การเมือง เพราะ อำนาจรัฐธรรมนูญ และ อำนาจในการสร้างรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจคนละชนิดกัน จึงเกิดสภาวะ ที่ไม่จบสิ้น (endless circle) ของการต่อสู้ว่าอะไรเหนือกว่ากันระหว่าง “กฎหมาย” และ “การเมือง”
๕.อำนาจในการสร้างรัฐธรรมนูญจึงเป็นอำนาจนอกกฎหมายที่กลับไม่ต้องการรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจจริงๆ หรือ อำนาจดิบ เช่น นักปฏิวัติในฝรั่งเศส อำนาจทหารที่ยึดอำนาจ
๖. คำกล่าว ของ Hannah Arendt สรุปได้ว่า คณะกรรมการร่างกฎหมาย (หรือ รัฐธรรมนูญ) นั้น ปราศจากความเป็นรัฐธรรมนูญ (unconstitutional) หมายความคือ ไม่เป็นไปตาม หรือ ไม่ ตรงกับ รัฐธรรมนูญ ของสถาบันทางการเมือง ของประเทศ[1] ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่มารวมตัวกันเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ นั้น คือไม่มีอำนาจอันชอบธรรมมารองรับ เพราะขาดเหตุผล (rationality) ของการเป็นตัวแทนของประชาชน (คำถาม ว่าอะไรคือมาตรฐานที่จะตัดสินว่าคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ?) อะไรคืออำนาจสัมบูรณ์(Absolute Power) อันเป็นอำนาจตัดสินสุดท้าย(Ultimate)ที่สร้างความเป็นเอกภาพ ของการเป็นตัวแทนของประชาชน?
๗. อย่างไรก็ตามในการ่างรัฐธรรมนูญก็มักจะเกิดจากการใช้ความรุนแรง เช่น การขับไล่ผู้ปกครองประเทศเดิม การปฏิวัติ รัฐประหาร คงยังไม่ต้องถามแม้แต่ความชอบธรรมด้วยซ้ำไป เพราะเป็นความชอบทำ อยู่แล้ว
๗. อำนาจประอธิปไตยของประชาชน ที่แสดงถึงลักษณะของประชานิยม (populism) ก็ยังมีผู้คัดค้านว่าไม่ใช่อำนาจสูงสุด เพราะสิ่งสำคัญสำหรับ เสรีประชาธิปไตย ก็คือ “สิทธิ” ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัว สิทธิในความเท่าเทียมกัน สิทธิของผู้เสียเปรียบทางสังคม จึงเกิดคำถามอีกว่า “อำนาจอธิปไตยกับสิทธิ อะไรใหญ่กว่ากัน ?”


๘.ข้อถกเที่ย เรื่อง “สิทธิ” ที่เป็นฝ่ายสากลนั้น ยืนยันว่าไม่ควร คำนึงถึง จารีต และ วัฒนธรรม ท้องถิ่น เช่น ศาสนา และ วัฒนธรรม ท้องถิ่นเพราะ สิ่งเหล่านั้นเป็น อำนาจของรัฐท้องถิ่น และ อำนาจของวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่อีกฝ่ายยืนยัน ว่าสามารถผ่อนปรนให้สอดคล้องกับจารีต วัฒนธรรมท้องถิ่นได้ ยอมรับความแตกต่างด้วยความอดกลั้นได้ ตามกรอบความคิดเสรีนิยมของ John Rawls โดยยอมให้ท้องถิ่นมีกระบวนการตัดสินใจกันเองว่าจะจัดการอย่างไร เพราะในขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่ากรอบคิดเสรีนิยมนั้นเป็นเพียงกรอบความคิดที่เกิดขึ้นจากกรอบคิดและวัฒนธรรมเฉพาะอันเท่านั้น ดังนั้นจึงมีฝ่ายที่สาม (ไม่ยึดในหลักของเสรีนิยมและสิทธิ) ที่เห็นว่า สิทธิมนุษชน เป็นกลไกของการแทรกแซงอำนาจอธิปไตยของรัฐ จึงมีการกล่าวในเรื่องสิทธิมนุษชนว่า “ สหประชาชาติไม่ฝ่พ่อ”
๙. ตัวแทน- ผู้ถูกแทน- ที่แทนไม่ได้ ระบอบประชาธิปไตย เชื่อว่า อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดมาจากประชาชน รัฐธรรมนูญ เป็น กฎหมายสูงสุด เป็นอำนาจอธิปไตย แล้วรัฐธรรมนูญร่างโดยประชาชน ? ดังนั้น “ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ” จึงเป็น “ตัวแทนประชาชน” ที่ถูกสร้างขึ้นมา จากอะไรก็ตาม เช่น จากคณะรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ดังนั้น “ผู้ที่ถูกแทน” คือประชาชน จึงเป็นของเทียม (artificial representative) ดังนั้น การ ถูกแทนที่ แบบนี้ เป็นลักษณะของ ฟาสซิสม์ มากกว่าเสรีประชาธิปไตย ดังนั้นระบบตัวแทน เป็นกรอบคิดของ อภิสิทธิ์ชน (aristocracy) มากว่าจะเป็นระบบเสรีนิยม ดังนั้นการมีตัวแทน แล การเป็นตัวแทน จึงไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นประชาธิปไตย เพราะระบอบเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ แม้จะเน้นการมีตัวแทน ไม่ยึดหลักการปกครองโดยตรง แต่เป็นกรอบคิดเรือ่งความยินยอม (consent) เป็นหลักในการปกครอง
คำถาม ระบบตัวแทน เป็นปะชาธิปไตย หรือ ไม?(ระบบตัวแทน เป็นกรอบคิดสมัย ยุโรปกลาง ไม่ใช่ประชาธิไตยของกรีกโบราณ ในศตวรรษ ที่ ๑๓ และ ๑๔)
๑๐. กรอบความคิดเรื่อง “การกระทำในนาม” เป็นความคิดมาแต่สมัยโรมัน ที่ยอมให้ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่งตั้งคนอื่นทำหน้าที่ในนามตน[2] และ ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำ ที่เกิดขึ้น จากคนอื่นๆ ที่ตนแต่งตั้งนการทำหน้าที่ร่วม Thomas Hobbes แสดงแนวความคิดเรื่องตัวแทน ผ่าน ทางบทละคร เรื่อง Leviathan (ลี-ไว-อะ-ทาน) (ข้อคิดของนักศึกษา ถ้าตัวแทน และ ผูกระทำแทน มีช่องว่างของการกระทำแทน ยังถือเป็นตัวแทนได้หรือไม่? นักศึกษามองว่า ความเป็นตัวแทนน่าจะมี Degree หรือ องศา ของความเป็นตัวแทน ว่าใกล้เคียงกับ ผู้ถูกแทนหรือไม่ ) เพราะการกระทำแทนเป็นการเลียนแบบบุคคล (Personating) ตัวละคร ก็เป็นการกระทำ แทน ดังนั้น “การแสดง” กับ “ของจริง” ก็ไม่เหมือนกัน เป็นสิ่งที่มีช่องว่าง การแสดงที่แนบเนียนน่าจะถือเป็นตัวแทนได้หรือไม่
๑๑. การเป็นตัวแทนเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบของการมอบอำนาจ (Authorization) ระหว่างผู้ปกครอง และ ผู้ถูกปกครอง และ ถ้าสามารถมอบอำนาจให้กับสถาบันการเมืองที่เป็น “อมตะ” การเป็นตัวแทนภายใต้กรอบสัญญาประชนะชาคม นั้น จะกลายเป็นสิ่งที่คงที่ไม่เปลี่ยนแลง เป็นแนวคิดสมัยกลางของโรมัน ในการในการนำความคิดด้านการเป็นตัวแทน ไปเชื่อมเข้ากับ สถาบันกษัตริย์ ในกรอบคิดที่ว่าสถาบันกษัตริย์ไม่มีวันตาย หรือเปลี่ยนแปลง แต่กษัตริย์ต้องตาย เช่นเดียวกับ ผู้ถูกแทน หรือประชาชน ดังจะเห็นได้จากภาพยนตร์เรื่อง “The Queen” ขณะที่ Tony Blair เข้าไปพบพระราชินีอังกฤษ พระนางเจ้า อลิซาเบ็ท พระองค์รับสั่งว่า ในรัชกาลของพระนาง เก้าอี้ที่ท่าน นายกนั่ง มีนายกนั่งมาแล้วเป็นสิบ คน คือ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงนายกมามากมาย แต่กษัตริย์ ก็จะยังคงเป็นองค์อธิปัติย์ คนเดิม (ข้อคิด ผู้ใช้อำนาจองค์อธิปัติย์ ของอังกฤษอยู่ใด้ จากการปรับตัวให้เป็นไปตามความต้องการ ของ ผู้ถูกแทน และ อยู่ใต้กฎหมาย ใช่หรือไม่? สถาบันกษัตริย์น่าจะเป็นตัวแทน โดยกษัตริย์ เป็นผู้ใช่อำนาจ อธิปัตย์ ผ่านตัวแทน นิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการ ได้ ยืนยาวกว่าตัวแทนอื่นๆ ถ้า กษัตริย์ สามารถลดช่องว่าง ของผู้แทน และ ผู้ถูกแทนลง )
๑๒. แนวความคิดเรื่องตัวแทน ยากที่จะหาข้อสรุป ได้ว่าคืออะไร และ แนวความคิดเรื่องตัวแทนมีช่องว่างระหว่าง ตัวแทน(Representation) และ ผู้ถูกแทน (represented) แสดงให้เห็นถึงความไม่สัมบูรณ์ของการเป็นตัวแทน ซึ่งสาเหตุของความไม่ สัมบูรณ์ ไม่ได้เกิดจาก ผู้แทน และ ประชาชนเท่านั้น แต่รวมไปถึงส่วนต่างๆของสังคม ความแตกต่างกันระหว่างโครงสร้างทางสังคม โครงสร้างทางการเมืองของรัฐ
๑๓. พื้นฐานของเสรีนิยม คือ ความเป็นปัจเจกชน ที่มีคุณสมบัติ ที่แตกต่างกันจนสามารถที่จะดำรงค์ ความเป็น “เอกลักษณ์” ไว้ได้ ความแตกต่างเกิดจากรากฐานความต้องการหรือความอยากได้ อยากมี ที่แตกต่างกัน ถือว่าความต้องการที่แตกต่างทำให้ลดความขัดแย้ง ใน ทรัยพยากรที่มีจำกัดลง ในแง่ของเสรีนิยม จึงเห็นว่ามีความหลากหลายในความต้องการที่ต้องตอบสนองด้วยการมีทางเลือก (choices) นั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่า การมีทางเลือกจึงไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดความหลากหลาย แต่ยังสามารถลดความขัดแย้งลงไปในตัว
๑๔. ความ(ไม่) เป็นกลางของรัฐ ในความคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย รัฐต้องหาทางตอบสนองความต้องการของ เสรีนิยมที่แตกต่างกัน สิ่งแรกรัฐต้องมีความเป็น กลางจึงจะสามารถ เฉลี่ยการกะทำของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการนั้น กรอบคิดแบบ เฮเกเลี่ยน (Hegelian) ของ Hegel[3] (ในปลายศตวรรษที่ ๑๘ และ ต้นศตวรรษที่ ๑๙:1770-1831) มองว่า ประชาชนยังขาด เหตุผล (Rationality) และ ขาดสำนึกในทางปฎิบัติ ดังนั้น คนในรัฐต้องพึ่งพาความรู้ของผู้เชี่ยวชาญและกลไกของรัฐ เช่น ด้านกฎหมาย และ “ไม่เชื่อว่าประชาชนรู้ดีว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง” ซึ่งตรงข้ามกับกรอบคิดเสรีประชาธิปไตย แต่กรอบความคิด มาร์กซิส (ปลาย ศตวรรษที่ ๑๙: 1818-1883) กลับมองว่า ความไม่เป็นกลางของรัฐ และ ข้าราชการเอง รวมทั้งการเป็นเครื่องมือให้ชนชั้นของรัฐ เป็นกลไกจัดสรรผลประโยชน์ให้นายทุน มาร์กซิส มองว่าอำนาจรัฐ เป็นกลไกในการควบคุม และ จัดสรรผลประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับ กรอบคิดของเสรีนิยมที่ว่ารัฐต้องวางตัวเป็นกลาง
๑๕. ปัจเจกชนถือว่ากิจการใดก็ตามเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของปัจเจกชนโดยไม่มีรัฐเข้าชี้นำ และรัฐจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
๑๖. รัฐสังคมนิยม(คอมมิวนิสต์) และ รัฐสวัสดิการ (Welfare State) สำหรับ สังคมนิยม ไม่มีปัญหา เพราะไม่ได้ยึกตามหลักการของเสรีนิยมประชาธิปไตย แตต่รัฐสวัสดิการ ของเสรีประชาธิปไตย (ในอดีต) กลับมีปัญหา เพราะรัฐเข้ามายุ่งกับปริมณฑลส่วนตัวของปัจเจกชนได้ ซึ่งเสรีนิยมมองว่ารัฐเล่นบทเป็นพ่อแม่ปกครองลูก โลกเสรีประชาธิปไตยจึงมองว่า รัฐสวัสดิการเป็น “รัฐพ่ออุปถัมภ์”Paternalistic State [4] (พา-เทอ-นาล-อีส-ติก) หลักเสรีประชาธิปไตย ต้องการแยก อาณาเขตของ ส่วนตัว และ สาธารณะ ออกจากกัน เพื่อต้องการให้รัฐเป็นกลาง เพราะ ถ้ารัฐทำตัวเป็นพ่อ (ส่วนตัว) มากกว่า การเป็นทางการ (formal) รัฐก็ไม่เป็น สถาบัน เพราะฐานะความเป็นพ่อ ไม่ต้องการความชอบธรรมทางการเมือง แบบ “สัญญาประชาคม” ที่เกิดจาก ข้อตกลงที่เป็นความสมัครใจ (Voluntary) ดังนั้น รัฐสวัสดิการจึงขัดต่อระบบเสรีประชาธิปไตย ที่ต้องมี มิติ ของ สัญญาประชาคม “Social Contract” และ ความยินยอม (Consent) ดังนั้น Paternalism จึงเป็น รากฐานสำคัญของระบบสมบูรณายาสิทฺราช (Absolutism) มากกว่าที่จะเป็นระบอบประชาธิปไตย
๑๘. ความขัดแย้ง ของ รัฐประชาชาติ ในฐานะบูรณาการทางเมืองกับเสรีประชาธิปไตย
รัฐประชาชาติ อำนาจอธิปไตยเป็นของ “ประชาชน” หรือ “ชาติ คือ ประชาชน” ในขณะที่รัฐสมบูรณายาสิทธิราช อำนาจอธิปไตย เป็นของ กษัตริย์
การดำรงอยู่ในรัฐประชาชาติไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักการของ “Rationality” เพราะรัฐประชาชาติ ต้องการความรักและศรัทธาต่อชาติมากกว่า Rationality โดยความรักความศรัทธาไม่ได้นำมาซึ่ง ความเท่าเทียมกันในทางการเมืองแต่อย่างใด เพราะรัฐประชาชาติเป็นการจัดระเบียบทางการเมืองที่ถือว่าความเป็นปัจเจกชนไม่มีความสำคัญ เท่ากับชุมชน และ กลุ่มขนาดใหญ่ ดังคำขวัญที่ว่า “ตัวตายดีกว่าชาติตาย” แต่ปัจเจกชนกลับมองว่า ความตายเป็น ลักษณะเฉพาะ (particularity) ความตายไม่สามารถมีตัวแทน (Representative) หรือ มอบให้ใครได้ เพราะ ถ้ามองว่าการมอบ” ความตาย” ให้ รัฐ (ประชาชาติ) ไม่ว่าในกรณีสงคราม หรือ เพื่อ ทำลายคนชั่ว มีสิ่งซ้อนเร้นอยู่ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น เศรษฐกิจ การรักษาอำนาจ (ตัวอย่าง กรณี สงครามอิรัค เป็น ความต้องการน้ำมัน เป็นต้น) เพราะในระบอบเสรีประชาธิปไตย การที่ประชาชนได้มอบอำนาจ หรือ เจตณารมณ์ (Will) ให้แกรัฐนั้นไม่ใช่การมอบความตาย เพราะ ภายใต้ระบอบเสรีประชาธิปไตย เน้นความเท่าเทียมกันของมนุษย์ (ที่เป็นนามธรรม) การที่รัฐเรียกร้องให้ คนหนึ่งสละความตาย นั้นเท่ากับว่า บางคนเสียอะไรบางอย่างไป ในขณะที่บางคนไม่เสียอะไรเลย ดังนั้น รัฐประชาชาติ เป็นลักษณะของความเชื่อ ที่เกิดจาก ขบนธรรมเนียม จารีตประเพณี มากว่าการใช้ เหตุผล (Rationality) ของ เสรีนิยม เพราะตามกรอบความคิดแบบ ฮ็อบเซี่ยน(Hobbesian) แล้ว การเข้ามาอยู่ในรัฐก็เพื่อหลีกหนีความตายที่เกิดขึ้นจากความรุนแรง เช่น สงคราม ดังนั้น รัฐประชาติจึงเป็นรัฐที่ละเมิดหลักการขั้นพื้นฐานของกรอบสัญญาประชาคม (Social Contract) และ หลักเสรีประชาธิปไตย
๑๙. การเมืองแบบ พรรค และ รัฐสภา- การเมืองไม่นิยมเสรี
สำหรับโลกเสรีประชาธิปไตย เมื่อเกิดความขัดแย้ง การแก้ไขปัญหาที่นิยมคือ การออกเสียง เช่น การยกมือออกเสียงใน รัฐสภา เพราะ เป็นสิ่งเดียวที่มีความหมายในการต่อสู้ทางการเมือง ของมนุษย์ ระบบประชาธิปไตยที่เน้นการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมาก ก็เป็นการทำลายเสรีประชาธิปไตย ถ้าไม่คำนึงถึงเสีนงข้างน้อย เพราะจะทำให้ รัฐสภาเป็นการใช้ “กำลัง” ของเสียงข้างมากที่เกิดจากจำนวนที่มากกว่า และ ไม่จำเป็นต้องทำให้การเมืองเป็นเรื่องของ มิตร ศัตรู เพราะการเมืองแบบรัฐสภา การใช้ เหตุผลถูกจำกัดอยู่ภายใต้การถกเถียง ที่ไม่ต้องทำให้ใครต้องตาย



ในความคิของ คาร์ล ชมิทท์[5] มองว่า การเมืองแบบ รัฐสภา การอภิปรายถกเถียงกันในสภา เป็นเพียง “ละคร” ซึ่งเป็น “กำลัง” ของกลุ่มทางการเมือง มากกว่าความเป็นปัจเจก ตามแบบเสรีนิยม เพราะ ชมิทท์




























อธิบายคำศัพท์

Norm ปทัสถาน
Trust ความไว้วางใจ
The Rule of Law การปกครองที่เกิดจากกฎหมาย
The Rule of man การปกครองโดยมนุษย์
Righteousness ทีมีรากฐานมาจากความถูกต้อง
Rationality เหตุผล
Judgment การประเมินค่า
Normal สิ่งปกติ
Regular กฎ สภาวะทั่วๆไป
Validity ความถูกต้องและแม่นยำ
Desire แรงปรารถนา
Representative ตัวแทน
Artificial ของเทียม
Absolute สัมบูรณ์ (มักจะหมายถึงความอิสระจากอะไรบางอย่าง เช่น รัฐ รัฐธรรมนูญ เป็นต้น)
Pure Law กฎหมายเป็นสิ่งบริษุท
Causa Sui สาเหตุในตัวเอง
Justification ความสมเหตุผล
Demos ประชาชน
Political Association สายสัมพันธ์ทางการเมือง
Ethnos กลุ่มชาติพันธ์
Ethnic nation กลุ่มชาติพันธ์เป็นเกณฑ์
Kinship การเป็นเครือญาติ
Contract สัญญา
Citizenship การเป็นพลเมือง
Universal ความเป็นสากล
Particularistic มีลักษณะเฉพาะ
Collective มวลรวม
Agency ผู้กระทำ
Population ประชากร
People ประชาชน
Legal State การปกครองโดยกฎหมาย หรือ รัฐกฎหมาย
Totalizing รวบรวมทุกอย่างเบ็ดเสร็จ
Autonomous อัตตกฎ (มีอิสระปกครองตนเอง) ความเป็นเอกเทศ
Multitude ฝูงชนที่มีความหลากหลาย (ภาวะที่หลากหลาย)
Extra Legality สิ่งที่อยู่นอกเหนือกฎหมาย เช่น การเมือง
Endless circle สภาวะวงจรที่ไม่จบสิ้น
Unconstitutional ปราศจาก (ไร้) ความเป็นรัฐธรรมนูญ
Ultimate สุดท้าย เช่น อำนาจตัดสินสุดท้าย
Consent ความยินยอม
Person บุคคล
Rhetoric วาทศิลป์
Identity อัหนึ่งอันเดียวกัน หรือ เหมือนกัน
Personating การเลียนแบบบุคคล
Authorization การมอบอำนาจ
Private ส่วนตัว
Dignity ศักดิ์ศรี
Paradox ย้อนแย้ง
Direct rule ปกครองโดยตรง
Consensus ฉันทานุมัติ
Fantasy ความฝันเฟื่อง
Relativism ความสัมพันธ์นิยม
Basic Norm ปทัสถานขั้นต้น
Infinite regression การถดดอยไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด
Foundation รากฐาน
Neutrality ความเป็นกลาง
Enlightenment ความคิดแบบภูมิธรรม (เน้นเหตุผล ละ สังคม ศาสนา และ การเมือง โบราณ)
Liberation การปลดปล่อย
Welfare State รัฐสวัสดิการณ์
Paternalistic State รัฐพ่ออุปถัภ์
Genetic พันธุกรรม
Monopoly Violence ความรุนแรงแต่เพียงผู้เดียว
Integration บูรณาการ
Absolutist State รัฐสมบูรณาญาสิทธิราช
Modern State รัฐสมัยใหม่
Repressive การกดบังคับ
Will เจตนารมณ์
Professional Politician อาชีพการเมือง
Discipline วินัย
Bureaucracy ความเป็นองค์กร
Eudemonia ความสุขสุดยอด
Homogeneity ความเป็นเอกพันธ์
Modernity สมัยใหม่
Heterogeneity ความแตกต่างหลากหลาย
Differentiation จำแนกแจกแจง
Assimilation การกลืนกลายทางวัฒนธรรม
Deliberative Democracy ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ
Public Reason การยอมรับ
Pluralism พหุนิยม
Dispersed Group กลุ่มกระจัดกระจาย
Nostalgia โหยหาอดีต
Anxiety ความหวาดวิตก
Indigenous knowledge ภูมิปัญญาความรู้ท้องถิ่น
Imagining Community จินตนาการถึงชุมชน
Dependency การพึ่งพิง
Neo Liberalism เสรีนิยมใหม่
Emotion อารมณ์ความรู้สึก
Monitoring การติดตาม
Social Movement ขบวนการทางสังคม
Civil Movement ประชาสังคม
Self Sufficient ระดับที่พอเพียง
Civil Norms บรรทัดฐานของประชาคม
Tyranny ทรราชย์
Accountability การตรวจสอบ
Reason of the State เหตุผลแห่งรัฐ
Exception ข้อยกเว้น หรือ พิเศษ
Patriot Act กฎหมายรักแผ่นดิน
Authoritarianism อำนาจนิยม


Royal prerogative พราะราชอำนาจ อำนาจพิเศษ
Judicial Review ตุลาการณภิวัฒน์
Monarchical Network เครือข่ายราชบริพาร
Constitutional Monarchy ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
Oxymoron ปฏิพจน์
Failed State รัฐล้มเหลว
Ad hoc Absolutism อำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์เฉพาะกิจ
The State of Nature ภาวะธรรมชาติ
Coercion การใช้กำลังบังคับ
Re-founding Political Society สถาปนาสังคมการเมืองขึ้นใหม่
Civil disobedience อารยะขัดขัดขืน
Majoritarian democracy ประชาธิปไตยเสียงของข้างมาก
Tyranny of the majority ระบอบทรราชของเสียงข้างมาก
Risk Society สังคมแห่งความเสี่ยง
Judicial Rule ตุลาการธิปไตย หรือ การปกครองโดยฝ่ายตุลาการ
Minority Ideological อุดมการณ์เสียงข้างน้อย
Majoritarianism ลัทธิเสียงข้างมาก
Judiciallization of Politics กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ของระบอบการปกครอง
Power of judicial review) การตรวจสอบโดยระบบตุลาการ
Prerogative an exclusion or special right, power, or privilege
Binding ผลผูกพัน
Unconventional ฝ่าฝืนธรรมเนียมปฏิบัติ หรือ ไม่ชอบด้วยธรรมเนียมปฏิบัติ
Unconstitutional ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
Aristocracy อภิสิทธิ์ชน



[1] Not according or consistent with the constitution of body politic (as a nation)
[2] ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์แบบสากลแตกต่างจากศักดิ์ศรีของ ตัวแทนในกรอบความคิดของโรมัน เพราะ การมอบอำนาจให้กับตัวแทน บ่งบอกถึงสถานะ และ ศักดิ์ศรี (Dignity) บุคคลในฐานะมนุษญ์ที่มีศักดิ์ศรีเท่านั้น จึงจะสมควรทำหน้าที่เป็นตัวแทน
[3][3] George Wilhelm Friedrich Hegel เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน (1770-1831) เป็นตัวแทนของ German Idealism ได้รับอิทธิพลจาก (Influenced by) Aristotle, Rousseau, Kant (Immanuel Kant) และ เขามีอิทธพลต่อ Fukuyama, Lenin (Vladimir Lenin), Marx (Karl Heinrich Marx),
[4] Paternalism เป็นแนวคิดที่ว่า Pater ในภาษา ลิติน ที่แปลว่า Father จะทำการตัดสินใจ แทนคนอื่น คือ ลูก แสดงให้เห็นว่าความคิดของพ่อ ฉลาดกว่าลูก
[5] Carl Schmitt เป็น นักทฤษฎีการเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และ ศาตราจารย์ด้านกฎหมาย ของ เยอรมันในปลาย ศตวรรษที่ 19 และ 20 งานของเขามีการถกเถียงอย่างกว้างขวางเนื่องจากเขามีส่วนพัวพันกับ”ลัทธินาซี” ศึกษากฎหมาย และ การเมือง ที่ Berlin, Munich, และ Strasbourg , Schmitt เข้าร่วมกับ พรรคนาซี (NSDAP: National Socialist German Workers Party) หรือ เรียกสั้นๆว่า Nazi Party เมื่อ May 1, 1933 ขณะสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัย เบอร์ลิน หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกจับในปี 1945 โดยกองกำลังของสหรัฐอเมริกา ถูกกักตัวอยู่ใน Interment Camp (สถานกักกันทีเป็นที่ฝังศพ) แห่งหนึ่ง และถูกปล่อยตัวในปีถัดมา 1946 และ เขาได้เริ่มศึกษา International Law ในช่วงปี 1950s : ผลงาน ในปี 1922 เขาเขียนบทความ “Politic Theology” หรือ เทววิทยาการเมือง ซึ่งต่อต้านเสรีประชาธิปไตยว่า “ Sovereign is he who decides on the exception.; ว่าเสรีประชาธิไตยแล้ว จริงๆ เป็น Decisionism ; ในปี 1923 เขาเขียน “The Crisis of Parliament of Democracy” ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Ellen Kennedy เป็นกรอบความคิดว่า อาณาเขต ของรัฐเสรีประชาธิปไตย (State Sovereignty) และ อัตตกฎ (Autonomous) ขึ้นอยู่กับ การแยก ระหว่าง มิตร และ ศัตรู (The distinction between friend and enemy);

วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

2. รม.622 การเมืองและการปกครองท้องถิ่น

สรุปย่อ โครงสร้าง, รูปแบบ, ที่มา, วาระการดำรงตำแหน่งของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไทยและต่างประเทศที่ที่สำคัญ
ไทย, ญี่ปุ่น, สาธารณรัฐฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน, สหรัฐอมเริกา,
ประเทศออสเตรเลีย และ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
๑.ประเทศไทย
โครงสร้าง
๑.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ รัฐเดี่ยว (Unitary State System)
๑.๒ โครงสร้างการบริหารงานแผ่นดิน แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ
(๑) การปกครองส่วนกลาง
(๒) การปกครองส่วน ภูมิภาค
(๓) การปกครองท้องถิ่น
๑.๓ โครงสร้างภายนอก
ระดับชั้นของการปกครองท้องถิ่น- ๒ ระดับ (Two Tier System)
(๑) รูปแบบทั่วไป
- องค์การบริหารส่วน จังหวัด หรือ อบจ.
- เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต.
(๒) รูปแบบ พิเศษ
- กรุงเทพมหานคร (พรบ. พ.ศ. ๒๕๑๘ และ พ.ศ. ๒๕๒๘) และ เมืองพัทยา (พรบ. พ.ศ.๒๕๒๑)
๑.๔ โครงสร้างภายใน
๑.๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ และ พรบ.แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ของ การกระจายอำนาจ (Decentralization) โดยโครงสร้างประกอบด้วย
(๑) สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สภา อบจ.)
(๑.๑) ที่มา - จากการเลือกตั้งโดยตรง จากประชาชน และ ลับ
(๑.๒) จำนวนสมาชิก – ใช้เกณฑ์จำนวนราษฎร (จำนวนสมาชิก สภา อบจ. ๒๔ – ๔๘ คน)
(๑.๓) วาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ ๔ ปี
(๑.๔) อำนาจหน้าที่ - เป็นฝ่าย นิติบัญญัติ
(๒) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๒.๑) ที่มา- ตาม พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๓๖ กำหนดให้ นายกสภา อบจ. ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง จากประชาชน และ ลับ
(๒.๒) อำนาจหน้าที่ – เป็นฝ่ายบริหาร
(๒.๓) ระการดำรงดำแหน่ง คราวละ ๔ ปี
๑.๒ เทศบาล และ องการบริหารส่วนตำบล (อบต.)
- การกระจายอำนาจ
- ความเป็นอิสระ
- การส่งเสริมประชาธิปไตย
(หมายเหตุ:[1] จากการศึกษา Local Government ของ England and Wales พบ ว่า Councilor[2] ของ County Council มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่น และ มีวาระในตำแหน่ง ๔ ปี แต่เฉลี่ยแล้วส่วนใหญ่ Councillor[3] คนหนึ่ง ของ England and Wales จะอยู่ในตำแหน่ง ๘ ปี คือ ๒ สมัย,และ District Council (East Hampshire District Council) ช่วยในการให้ความรู้ประชาชน เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ใน primary และ secondary school โดยการจัดสอน ด้าน voting, running a ballot, supply box และ อุปกรณ์ในการเลือกตั้ง เช่น stamping instrument, electoral role และ ballot box
Local Government ของ England and Wales
๑. Community safety and Crime Reduction
๒. Tax and Spending
a. Local Gov. spending GBP 83.8 billion (2005-2006)
b. Money come from
i. Central Government: 52% Gov. Grant
ii. Business rates: Non domestic rates 21%
iii. Council Tax : 27%
c. Spending for education services 41.7 %, and social services 20.3%
๓. Education and Lifelong Learning: All county councils have major role to support.)
๔. Youth Cabinet ต.ย. West Sussex County Council ได้ตั้ง Youth Parliament โดยให้ Adults Cabinet ไปเยี่ยม และมีการประชุม กับ Youth Cabinet เดือนละครั้ง และ ขณะเดียวกัน ก็มีตาราง ให้ Youth member ไป ร่วมวางแผน และ แสดงความคิดเห็น มีการประชุม ร่วมกัน
ตาม รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ หมวด ๑๔ การปกครองท้องถิ่น (มาตรา ๒๘๑ – ๒๙๐) มาตรา ๒๘๙ วรรค ๒ ....” องค์กรปกครองท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการจัดการศึกษา อบรม......(วรรคสุดท้าย)โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชติ
มาตรา ๒๘๓ ว่าด้วยอำนาจ และ หน้าที่ ในการให้บริการสาธารณะ และ ความเป๋นอิสระในการกำหนด นโยบาย การบริหาร การจัดบริการ สาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินการคลัง .....
(ตรงกับ หมวด ๙ (มตรา ๒๘๒-๒๙๐) มาตรา ๒๘๔ ตาม รฐน ปี ๒๕๔๐)
๒. ญี่ปุ่น
๒.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ รัฐเดี่ยว (Unitary State System)
๒.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น เพียง ๒ ส่วนคือ การปกครองส่วนกลาง และ การปกครองส่วนท้องถิ่น (ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค)
๒.๓ โครงสร้างภายนอก
โครงสร้างการบริหารงานทองถิ่น แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รูปแบบทั่วไป และ รูปแบบพิเศษ
(๑) รูปแบบทั่วไปแบ่งเป็น ๒ ระดับ (Two Tier System)
ระดับ จังหวัด (Prefectures) มี ๔๗ prefectures แต่ละ จังหวัดประกอบด้วย city, village และ town
ระดับ เทศบาล (Municipal) แบ่งเป็น เทศบาลนคร(Cities/Shi ), เทศบาลเมือง (Towns/Cho or Machi) และ เทศบาลหมู่บ้าน (Village/Son or Mura)
(๒) รูปแบบพิเศษ แบ่งเป็น ๕ แบบ ตามสภาพแวดล้อม คือ เขตพิเศษ (Special Wards / Ku), สหภาพองค์กรปกครองท้องถิ่น (Cooperatives of Local Authorities / Jimu-Kumiai), เขตทรัพย์สิน (Properties Wards), และ บรรษัทพัฒนาท้องถิ่น (Local Development Corporations)
๒.๔ โครงสร้างภายใน
(๑) สภาท้องถิ่น สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี
(๒) ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย
หัวหน้าฝ่ายบริหาร มาจากการเลือกตั้ง โดยตรงจากประชาชน อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี
คณะกรรมการบริหารฝ่ายต่างๆ ส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้ง และ ได้รับการอนุมัติจากสภาท้องถิ่น อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๓-๔ ปี มีหน้าที่ถ่วงดุล อำนาจบริหารของผู้ว่าราชการจังหวัด และ นายกเทศมนตรี
๓. สาธารณรัฐฝรั่งเศส
๓.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ รัฐเดี่ยว (Unitary State System)
๓.๒ โครงสร้างการบริหาราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๓ ระดับ (Levels) คือ
(๑) การปกครองส่วนกลาง ประกอบด้วย
(๑.๑) ประธานาธิปดี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
(๑.๒) นายกรัฐมนตรี มาจากการแต่งตั้ง และ เป็น หัวหน้าคณะบริหาร
(๑.๓) คณะรัฐมนตรี
(๒) การปกครองส่วนภูมิภาคเป็นการปกครองท้องถิ่น แบบ การแบ่งอำนาจออกไป (De-concentration) โดยให้ตัวแทนของรัฐเข้าไปดูแล และ บริหาร โดย การบริหารราชการภูมิภาคแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด และ ผู้ว่าการประจำภูมิภาค
(๓) การปกครองส่วนท้องถิ่น แบบ เทศบาล หรือ “Commune” ปัจจุบันมี ๓๖,๖๗๙ communes (หรือ municipalities)
๓.๓ โครงสร้างภายนอก
รูปแบบการปกครองท้องถิ่นแบ่งเป็น คือ
(๑) เทศบาล (Commune)
(๒) จังหวัด (Department) ฝรั่งเศส มี ๑๐๐ จังหวัด 96 départements and 4 départements d'outre-mer (Réunion, Guadeloupe, Martinique and French Guiana).
(๓) ภาค ฝรั่งเศสมี ๒๖ ภาค (Region) 22 Régions and 4 Régions d'outre-mer (Réunion, Martinique, Guadeloupe and French Guiana).
จะเห็นว่า ฝรั่งเศสมี ผู้ว่าราชการจังหวัด ๑๐๐ คน มาจาก ส่วนกลาง และ ๒๖ คน ใน ๑๐๐ คน ก็มีตำแหน่ง เป็นหัวหน้าภาคด้วย คือ มี ๒๖ คน ที่สวมหมวก สองใบ
(๔) การปกครองท้องถิ่น รูปแบบพิเศษ
(๔.๑) นครปารีส เทศบาลนครปารีส, จังหวัดปารีส และ เขต
(๔.๒) เมืองใหญ่ (Lyon และ Marseille)

๓.๔ โครงสร้างภายใน
การปกครองท้องถิ่น แบ่งเป็น ๓ รูปแบบ คือ
(๑) เทศบาล ประกอบด้วย
(๑.๑) สภาเทศบาล สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และ มีวาระการดำรงตั้งแหน่งคราวละ ๖ ปี
(๑.๒) นายกเทศมนตรี (Maire) เป็นผู้นำบริหารที่มาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม คือ สามชิกสภาเทศบาล เป็นผู้เลือก
(๒) จังหวัด ประกอบด้วย
(๒.๑) สภาจังหวัด (Conseil General) ฝ่าย นิติบัญญัติ สมาชิก มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนภายในเขตจังหวัด
(๒.๒) ประธานสภาจังหวัด (President du Conseil General) ทำหน้าที่ฝ่าย บริหาร มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม จากสมาชิกสภาจังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๓ ปี
(๒.๓) คณะกรรมมาธิการจังหวัด (Departmental Bureau) เป็นตัวเชื่อม ระหว่าง ฝ่าย นิติบัญญัติ และ ฝ่ายบริหาร มาจาก ประธานสภาจังหวัด, รองประธานสภาจังหวัด (๔-๑๐ คน) และ จาก สมาชิกสภาจังหวัด
(๓) ภาค ประกอบด้วย
(๓.๑) สภาภาค (Conseil Regional) ทำหน้าที่ ฝ่ายสภา หรือ นิติบัญญัติ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๖ ปี
(๓.๒) ประธานสภาภาค (President du Conseil Regional) ทำหน้าที่ฝ่าบริหาร มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม คือ จาก สมาชิกสภาภาค มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๖ ปี
(๓.๓) คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม (Comite Economique et Social – ECOSCs) มาจากสมาชิก ๔ ประเภท คือ ตัวแทนวิสาหกิจและผู้ประกอบอาชีพอิระ, ตัวแทนสหภาพแรงงาน, ตัวแทนขององค์กรที่มีส่วนร่วม ในการดำเนินกิจกรรมของภาค, และ ผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๖ ปี

๔. สหราชอาณาจักร
๔.๑ โครงสร้างภายนอก - รูปแบบการปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นระบบ รัฐเดี่ยว (Unitary State System) เน้นการรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง United Kingdom มีพื้นที่ปกครองที่สำคัญ ๔ เขต คือ อังกฤษ (England), เวลส์ (Welsh), สกอตแลนด์ (Scotland) และ ไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland)
๔.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๒ ระดับ ( two levels) คือ
(๑) การปกครองส่วนกลาง
(๒) การปกครองส่วนท้องถิ่น
ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค
๔.๓ โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น โดยเฉพาะ อังกฤษ เป็นประเทศที่มีพลวัต ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสูง โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลพรรคแรงงาน ในกรอบความคิดว่าด้วย “การถ่ายโอนอำนาจ :Devolution) ภายในอังกฤษเอง ซึ่งเน้น ภูมิภาคนิยม และ การกระจายอำนาจ ( Regionalism and Decentralization)
๔.๔ โครงสร้างภายนอก
(๑) โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น ก่อนสมัย รัฐบาลของนาง มาร์กาเร็ต แธชเชอร์ (Margaret Thatcher) โครงสร้างเป็นแบบ ๒ ระดับ (two tier) คือ
(๑.๑) สภาเขต (County Councils) เป็นโครงสร้างชั้นบน หรือ upper tier ปัจจุบันมี ๓๔ หน่วย และ ในแต่ละเขต หรือ county จะประกอบ ด้วยสภาแขวง ซึ่งเป็น Lower Tier ปัจจุบันมี ๒๓๘ หน่วย
(๑.๒) สภาแขวง (District Councils)
ปัจจุบันโครงสร้างแบบ ๒ ชั้น เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในเขตนอกมหานคร
โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น สมัย รัฐบาลนาง มาร์กาเร็ต แธชเชอร์ ต้องการปรับโครงสร้างใหม่แบบชั้นเดียวทั่วประเทศ โดยเน้นการยุบรวมเข้าด้วยกัน (Amalgamation) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ แต่ได้รับการคัดค้านจากประชาชนและหน่วยการปกครองท้องถิ่นหลายแห่ง
การปกครองท้องถิ่นแบบชั้นเดียว เป็นการปกครองท้องถิ่นในเขตมหานครลอนดอน โดยรัฐบาลของพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) ในปี ค.ศ. ๑๙๘๖ ได้ทำการยุบโครงสร้างชั้นบน คือสภาแห่งมหานครลอนดอน (Greater London Council) เหลือชั้นเดียวคือสภาเขตแห่งลอนดอน (London Borough Councils) และกลับมาใช้เป็บแบบ ๒ ชั้น อีกครั้งในปัจจุบัน
(๒) โครงสร้างการปกครองท้องถิ่นที่เป็นชั้นเดียว มีอยู่ ๒ รูปแบบคือ
(๒.๑) สภามหานคร (Metropolitan District Councils) เป็นรูปแบบที่นำมาใช้ในเขตที่มีความเจริญและมีความหนาแน่นของประชากรสูง
(๒.๒) สภาเอกรูป (Unitary Authority) เกิดจากการยุบรวมเอาหน่วยการปกครองท้องถิ่นขาดเล็กเช่น สภาแขวงเข้าด้วยกัน
ดังนั้นโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นของ สหราชอาณาจักร จึงเป็นแบบ ผสมผสาน (Hybridity)
๔.๕ โครงสร้างภายในองค์กรปกครองท้องถิ่น
(๑) ฝ่ายบริหาร สามารถเลือกที่มาของ ผู้บริหารได้ ๓ รูปแบบคือ
(๑.๑) รูปแบบนายกเทศมนตรีทางตรงบริหารร่วมกับคณะเทศมนตรี โดยนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งตรงจากประชาชน ทำงานร่วมกับ คณะเทศมนตรีที่ นายกเทศมนตรีเป็นผู้เลือก จากสมาชิกสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง เช่นกัน
(๑.๒) รูปแบบคณะเทศมนตรีบริหารร่วมกับนายกเทศมนตรีทางอ้อม คล้ายคลึงของไทย คือ สมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือตั้งโดยตรงจากประชาชน และ สภาท้องถิ่นเลือก นายกเทศมนตรีจาก สมาชิกสภาเพื่อทำหน้าที่ บริหาร
(๑.๓) รูปแบบนายกเทศมนตรีทางตรงบริหารร่วมกับผู้จัดการสภา นำระบบ “สภาและผู้จัดการ” แบบ สหรัฐอเมริกา มาปรับใช้ นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้นำท้องถิ่น และ กำหนดกรอบนโยบายเพียงกว้างๆ และ มอบหมายให้ “ผู้จัดการสภา” ที่มาจากการแต่งตั้งของสภา ทำหน้าที่บริหาร
(๒) ฝ่ายสภา
๕. สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
๕.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ รัฐเดี่ยว (Unitary State System)
๕.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และ รัฐบาลท้องถิ่น หรือ การปกครองท้องถิ่น
๕.๓ โครงสร้างภายนอก
โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น แบ่งเป็น ๒ ระดับ (๒ รูปแบบ) คือ
(๑) แบบทั่วไป
(๑.๑) ระดับบน (Upper Tier) ประกอบด้วย จังหวัด (Province /Do) มี ๙ จังหวัด และ มหานคร (Metropolitan) มี ๖ มหานคร
(๑.๒) ระดับล่าง (Lower Tier) ประกอบด้วย เมือง (City) และ Kun (County) รวม ๑๕๘ แห่ง
(๒) รูปแบบพิเศษ มีเพียงแห่งเดียว คือ กรุงโซล แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ
(๒.๑) Seoul Special Metropolitan มี ๑ แห่ง
(๒.๒) เขตปกครอง (Ku) มี ๒๕ แห่ง
๖. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
๖.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ สหพันธรัฐ (Federal State System)
๖.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๓ ระดับคือ
(๑) การปกครองระดับ สหพันธรัฐ (Bund)
(๒) การปกครองระดับ มลรัฐ และ
(๓) การปกครองท้องถิ่น
๖.๓ โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น ภายนอกแบ่งเป็น ๒ ชั้น (Two Tier System) คือ
(๑) อำเภอ (Kreis) แบ่งเป็น อำเภอในเขตชนบท (Landkreis) และ อำเภอในเขตนคร (Statdtkreis)
(๒) เทศบาล (Gemeinden)
๖.๓ โครงสร้างการปกครองภายในท้องถิ่นแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
(๑) สภาเทศบาล สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรง อยู่ในวาระตำแหน่งคราวละ ๔ หรือ ๕ ปี
(๒) ฝ่ายบริหาร มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเทศบาล มีนายกเทศมนตรี (Mayor) เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารมาจากการเลือตั้งโดยตรงจากประชาชน
๖.๔ รูปแบบโครงสร้งของเทศบาลแบ่งเป็น ๔ รูปแบบคือ
(๑) แบบ คณะบริหาร (Magistrate’s Constitution)
(๒) แบบ นายกเทศมนตรี (Mayoral Constitution)
(๓) แบบสภาในเขตเยอรมันนีภาคเหนือ (Northern Germany Council Constitution)
(๔) แบบสภา ของเขตเยอรมันนีภาคใต้ (Southern Germany Council Constitution)

๗. สหรัฐอมเริกา
๗.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ สหพันธรัฐ (Federal State System)
๗.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๓ ระดับคือ
(๑) การปกครองส่วนกลาง (Federal Government) เป็นหน่วยการปกครองสูงสุด และ มีรัฐธรรมนูญของสหพันธ์ ประกอบด้วย
(๑.๑) ฝ่ายบริหาร – ประธานาธิบดี
(๑.๒) สภานิติบัญญัติ ประกอบด้วย ๒ สภาคือ
ก) สภาสูง หรือ วุฒิสภา (House of State) มาจากการเลือตั้งโดยตรง จากประชาชน มลรัฐละ ๒ คน (รวมเป็น ๑๐๐ คน จาก ๕๐ มลรัฐ)
ข) สภาล่าง หรือ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน แต่จำนวนสมชิกขันอยู่กับ จำนวนประชากร ในแต่ละ มลรัฐ
ค) ศาลสูง (Supreme Court) หัวหน้าศาลสูงมาจาก การแต่งตั้งของประธานาธิบดี
(๒) การปกครองในระดับมลรัฐ (State Government) มีรัฐธรรมนูญปกครองตนเอง ประกอบด้วย ๓ ฝ่าย เหมือน Federal Government คือ
ก) ฝ่ายบริหาร – ผู้ว่าการมลรัฐ (Governor) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เป็น หัวหน้าสูงสุด
ข) ฝ่ายนิติบัญญัติหรือ สภามลรัฐ ก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
ค) ฝ่ายตุลาการ มาจากการเลือตั้งของประชาชน
(๓) การปกครองท้องถิ่น (Local Government) รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐ ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองทิ้งถิ่น เป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญของแต่ละมลรัฐ
๗.๔ โครงสร้างภายนอก
โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น (Local Government) แบ่งเป็น ๕ รูปแบบ
(๑) County เป็นแขน ขา ของ มลรัฐ แบ่งตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ที่ครอบคลุม(Geographical area) และ จำนวนประชากร ใน”หลุยเซียน่า”( Louisiana) เรียก “แพริช: Parishes”, ใน “อลาสก้า” (Alaska) เรียก “เบอเร่อ: Borough”
ใน ๔๘ มลรัฐของ อเมริการ มี เคาน์ตี้ ทั้งหมด ๓,๑๔๑ เคาน์ตี้ เรียกว่า County ๓,๐๐๗ แห่ง, ๑๖ เบอร์เร่อ และ และ ๑๑ Census Areasใน อลาสก้า , ๖๔ แพริช ใน หลุยเซียน่า , ๔๒ independent cities (1 in Maryland, 1 in Missouri, 1 in Nevada, and the remainder in Virginia), 1 district ใน โคลัมเบีย.
ยกเว้น “รัฐ คอนเนคติกัท” (Connecticut) และ “รัฐโรดไอร์แลนด์” (Rhode Island) จะไม่มีการปกครองท้องถิ่น แบบ County ? ??? (จากหนังสือ อ.นครินทร์ หน้า ๓๒๐)
Rhode Island มี Cities & Towns ๓๙ แห่ง
Connecticut จะมี Counties 8, Towns 169, Cities 21, Boroughs 9 ( จาก
County ประกอบด้วยหลายๆ Township (๑๐ – ๒๐ แห่ง)
(๒) Municipality หรือ City ต่างจาก County ในแง่ของ กำเนิด และ ภาระกิจหน้าที่ ซิตี้ มีหน้าที่หลายอย่างกว่า County และ เป็นพื้นฐานชุมชนเดิมของ อเมริกา มีอำนาจในการตัดสินใจสูง โครงสร้างและหน้าที่ถูกกำหนดอยู่ใน “กฎบัตร: Charter” ของ มลรัฐ แม้ที่มาจะมาจากการริเริ่มของประชาชน โครงสร้างภายในของ ซิตี้ในอเมริกา มีหลายรูปแบบ คือ
(๒.๑) รูปแบบ นายกเทศมนตรี-สภา (Mayor – Council)
(๒.๒) รูปแบบ กรรมการ (Commission)
(๒.๓) รูปแบบ สภา – ผู้จัดการ (Council – Manager)
(๒.๔) รูปแบบ ที่ประชุมเมือง (Town Meeting) และ
(๒.๕) รูปแบบ ที่ประชุมเมืองแบบตัวแทน (Representative Town Meeting)
ส่วนใหญ่จะใช้ แบบ (๒.๑)
(๓) Town and Township
(๓.๑) ทาวน์ เป็นการปกครองท้องถิ่น ที่เก่าแก่ เดิม เป็นประชาธิปไตยทางตรง แต่เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงเป็นประชาธิปไตยแบบ ตัวแทน
(๓.๒) ทาวน์ชิพ ทำหน้าที่ คล้ายๆ County แต่ ทาวน์ชิพ ไม่ได้มีอยู่ทุกมลรัฐ เพราะเป็นหน่วยย่อยของ county ที่ทำหน้าที่แทน county ในระดับรากหญ้า เช่น การเลือกตั้ง การบำรุงรักษาถนน การดับเพลิง การเก็บภาษี
(๔) Special District ตั้งขึ้นมาทำหน้าที่เฉพาะ เพียง ๒-๓ หน้าที่ (Special Purpose) หรือ งานและบริการที่หน่วยการปกครองอื่นไม่ทำ เช่น งานป้องกันอัคคีภัย เขตกำจัดปฏิกูล ฌาปาณกิจศพ
(๕) School District ถือว่าเป็นเขตพิเศษ ทำหน้าที่เดียว เนื่องจาก อเมริกามีการจัดการด้านการศึกษา ที่มีความแตกต่างหลากหลาย บริหารโดยคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง
๘. ประเทศออสเตรเลีย
๘.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ สหพันธรัฐ (Federal State System)
หรือ ระบบรัฐบาลจักรภพ (Commonwealth Government) ประกอบด้วย ๖ “มลรัฐ:State” และ ๒ ดินแดน
๘.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๓ ชั้น (Three Tier System)
(๑) สหพันธรัฐ
(๒) รัฐ (States) มีทั้งหมด ๖ รัฐ New South Wales, Victoria, Queensland, South Australia, Western Australia, และ Tasmania, กับ ๒ ดินแดน คือ Northern Territory และ Australia Capital Territory.
(๓) ท้องถิ่น มีชั้นเดียว (One Tier System) คือ เทศบาล ( Municipality )
๘.๓ โครงสร้างภายนอก
เป็นแบบ ระบบชั้นเดียว (One Tier System) มีรูปแบบการปกครองเดียว คือ เทศบาล (Municipality) มี ๗๒๗ แห่ง
๘.๔ โครงสร้างภายใน
การปกครองท้องถิ่น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
(๑) ฝ่ายบริหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง มาจากการว่าจ้างของสภาเทศบาล แบ่งงานออกเป็น แผนก (Department) หลายๆแผนก เหมือนการบริหารงานบริษัทเอกชน
(๑.๑) หัวหน้าบริหาร (CEO: Chief Executive Officer) มาจากการแต่งตั้ง และ เป็นสัญญาจ้างงาน
(๑.๒) ผู้ช่วยปฏิบัติงาน (Senior Staff) ได้รับการแต่งตั้ง และ สัญญาจ้างงาน
(๑.๓) เจ้าพนักงานท้องถิ่น (Council Staff) แต่งตั้ง และ สัญญาจ้างงาน
(๒) สภาเทศบาล (Councils) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ประกอบด้วย
(๒.๑) นายกเทศมนตรี (Mayor of Council) มาจากการเลือกตั้งอ้อม จากสมาชิกสภาเทศบาล
(๒.๒) สมาชิกสภา (Councilors) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน จำนวนสมาชิกขึ้นอยู่กับพื้นที่ และ จำนวนประชากร (จำนวน ๙ – ๒๑ คน)


In France, a préfecture is the capital city of a département. As there are 100 départements in France, there are 100 préfectures in France. A préfecture de région is the capital city of a région.

[1] “Local Government Matters: facts and figures about local council 2505-2506
[2] สะกดแบบ อเมริกา
[3] สะกดแบบ อังกฤษ
โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของไทย
การบริหารราชการแผ่นดิน ของไทยปัจจุบัน ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. การบริหารราชการส่วนกลาง บริหารงานตามหลักการรวมอำนาจ (Centralization)
2. การบริหารราขการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารงาน ตามหลักการแบ่งอำนาจ หรือ มอบอำนาจ (Deconcentration)
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารงาน ตามหลัก การกระจายอำนาจ (Decentralization)
การปกครองท้องถิ่นของไทย มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. รูปแบบทั่วไป แบ่งเป็น 2 ระดับ หรือ ชั้น (tier) คือ
a. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
b. เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
2. รูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ เมืองพัทยา
มาตรา 285 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้ สมาชิกสภาท้องถิ่น ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
องค์กรบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จัดโครงสร้างตาม พระราชบัญญัติองค์กรบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 แบ่งการบริหารเป็น 2 ส่วน คือ
1. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สภา อบจ.)
2. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แยกข้าราชการส่วนภูมิภาคออกจากราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดพ้นจากตำแหน่งยานกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี 2546 รัฐสภาผ่านพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ ๓) ทำให้ นายก อบจ.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ซึ่งเดิม มาจากมติของสภา อบจ.
เทศบาล เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยที่เก่าแก่ที่สุด คือเริ่มมีการสถาปนามาตั้งแต่ พ.ศ. 2476 เทศบาลของไทยแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ เทศบาล นคร, เทศบาล เมือง และ เทศบาล ตำบล โครงสร้างแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ สภาเทศบาลฝ่าย นิติบัญญัติ และ คณะเทศมนตรี หรือ นายกเทศมนตรี เป็นฝ่ายบริหาร
สภาเทศบาล ควบคุมและตรวจสอบฝ่ายบริหาร สมชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนอยู่ในวาระคราวละ 4 ปี
คณะเทศมนตรี หรือ นายกเทศมนตรี องค์ประกอบตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2542) และ การแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเทศบาล ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2543
องค์การบริหารส่วนตำบล ได้รับการยกฐานะเป็น สภาตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542 และ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2546
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
2. คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ต่อมา พ.ศ. 2528 ได้มีการออกพระราชบัญญัติ ปรับปรุงการบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้มีอิสระจาก ส่วนกลางมากขึ้น องค์ประกอบ
1. สภากรุงเทพมหานคร
2. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร แบ่งการปกครองออกเป็น 50 เขต(ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล) เขตประกอบด้วย
1. สภาเขต
2. สำนักงานเขต
เมืองพัทยา ตั้งโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารเมือง พัทยา พ.ศ. 2521
พ.ศ. 2542 ได้มีการตราพราชบัญญัติ ระเบียบบรอหารราชการเมือง พัทยาใหม่ ตามกรอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 โครงสร้างภายในประกอบด้วย
1. สภาเมือง พัทยา
2. นายกเมือง พัทยา

รัฐธรรมนูญ 2550
หมวด 14 การปกครองท้องถิ่น
มาตรา 272 – 281
มตรา 272 พูดถึงความเป็น อิสระของท้องถิ่น บริการสาธารณะ การมีส่วนร่วมของประชาชน
มาตรา 273 การกำกับดูแล เท่าที่จำเป็นตามกฎหมายบัญญัติ
มาตรา 274 อิสระในการกำหนดนโยบาย การปกครอง การบริหาร การจัดการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินการคลัง และ อำนาจหน้าที่ของตนโดยเฉพาะ
มาตรา 245 ว่าด้วยองค์ประกอบ ต้องมี สภาท้องถิ่น และ คณะผู้บริหารท้องถิ่น โดย สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง ส่วนคณะผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือ มาจากความเห็นชอบ ของสภาท้องถิ่น การเลืกตั้งใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและ ลับ
วาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี
มาตรา 276 ว่าด้วยประชาชนมีสิทธิลงคะแนนถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น โดยการเข้าชื่อและ การลงคะแนนตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 277 ประชาชนสามารถเข้าชื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้
มาตรา 278 การมีส่วนร่วมของประชาชน การออกเสียงประชามติ กรณีที่การกระทำขององค์กรปกครองท้องถิ่นมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
มาตรา 279 อำนาจการแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน การลงโทษตามกฎหมาย บัญญัติ
มาตรา 280 การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น การฝึกอบรม
มาตรา 281 ส่งเสริม และ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม