วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

2. รม.622 การเมืองและการปกครองท้องถิ่น

สรุปย่อ โครงสร้าง, รูปแบบ, ที่มา, วาระการดำรงตำแหน่งของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไทยและต่างประเทศที่ที่สำคัญ
ไทย, ญี่ปุ่น, สาธารณรัฐฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร, สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน, สหรัฐอมเริกา,
ประเทศออสเตรเลีย และ สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
๑.ประเทศไทย
โครงสร้าง
๑.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ รัฐเดี่ยว (Unitary State System)
๑.๒ โครงสร้างการบริหารงานแผ่นดิน แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ
(๑) การปกครองส่วนกลาง
(๒) การปกครองส่วน ภูมิภาค
(๓) การปกครองท้องถิ่น
๑.๓ โครงสร้างภายนอก
ระดับชั้นของการปกครองท้องถิ่น- ๒ ระดับ (Two Tier System)
(๑) รูปแบบทั่วไป
- องค์การบริหารส่วน จังหวัด หรือ อบจ.
- เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล หรือ อบต.
(๒) รูปแบบ พิเศษ
- กรุงเทพมหานคร (พรบ. พ.ศ. ๒๕๑๘ และ พ.ศ. ๒๕๒๘) และ เมืองพัทยา (พรบ. พ.ศ.๒๕๒๑)
๑.๔ โครงสร้างภายใน
๑.๑ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ และ พรบ.แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ของ การกระจายอำนาจ (Decentralization) โดยโครงสร้างประกอบด้วย
(๑) สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สภา อบจ.)
(๑.๑) ที่มา - จากการเลือกตั้งโดยตรง จากประชาชน และ ลับ
(๑.๒) จำนวนสมาชิก – ใช้เกณฑ์จำนวนราษฎร (จำนวนสมาชิก สภา อบจ. ๒๔ – ๔๘ คน)
(๑.๓) วาระการดำรงตำแหน่ง คราวละ ๔ ปี
(๑.๔) อำนาจหน้าที่ - เป็นฝ่าย นิติบัญญัติ
(๒) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๒.๑) ที่มา- ตาม พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๓ พ.ศ. ๒๕๓๖ กำหนดให้ นายกสภา อบจ. ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรง จากประชาชน และ ลับ
(๒.๒) อำนาจหน้าที่ – เป็นฝ่ายบริหาร
(๒.๓) ระการดำรงดำแหน่ง คราวละ ๔ ปี
๑.๒ เทศบาล และ องการบริหารส่วนตำบล (อบต.)
- การกระจายอำนาจ
- ความเป็นอิสระ
- การส่งเสริมประชาธิปไตย
(หมายเหตุ:[1] จากการศึกษา Local Government ของ England and Wales พบ ว่า Councilor[2] ของ County Council มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในท้องถิ่น และ มีวาระในตำแหน่ง ๔ ปี แต่เฉลี่ยแล้วส่วนใหญ่ Councillor[3] คนหนึ่ง ของ England and Wales จะอยู่ในตำแหน่ง ๘ ปี คือ ๒ สมัย,และ District Council (East Hampshire District Council) ช่วยในการให้ความรู้ประชาชน เกี่ยวกับการเลือกตั้ง ใน primary และ secondary school โดยการจัดสอน ด้าน voting, running a ballot, supply box และ อุปกรณ์ในการเลือกตั้ง เช่น stamping instrument, electoral role และ ballot box
Local Government ของ England and Wales
๑. Community safety and Crime Reduction
๒. Tax and Spending
a. Local Gov. spending GBP 83.8 billion (2005-2006)
b. Money come from
i. Central Government: 52% Gov. Grant
ii. Business rates: Non domestic rates 21%
iii. Council Tax : 27%
c. Spending for education services 41.7 %, and social services 20.3%
๓. Education and Lifelong Learning: All county councils have major role to support.)
๔. Youth Cabinet ต.ย. West Sussex County Council ได้ตั้ง Youth Parliament โดยให้ Adults Cabinet ไปเยี่ยม และมีการประชุม กับ Youth Cabinet เดือนละครั้ง และ ขณะเดียวกัน ก็มีตาราง ให้ Youth member ไป ร่วมวางแผน และ แสดงความคิดเห็น มีการประชุม ร่วมกัน
ตาม รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ หมวด ๑๔ การปกครองท้องถิ่น (มาตรา ๒๘๑ – ๒๙๐) มาตรา ๒๘๙ วรรค ๒ ....” องค์กรปกครองท้องถิ่นย่อมมีสิทธิที่จะจัดการจัดการศึกษา อบรม......(วรรคสุดท้าย)โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับมาตรฐานและระบบการศึกษาของชติ
มาตรา ๒๘๓ ว่าด้วยอำนาจ และ หน้าที่ ในการให้บริการสาธารณะ และ ความเป๋นอิสระในการกำหนด นโยบาย การบริหาร การจัดบริการ สาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินการคลัง .....
(ตรงกับ หมวด ๙ (มตรา ๒๘๒-๒๙๐) มาตรา ๒๘๔ ตาม รฐน ปี ๒๕๔๐)
๒. ญี่ปุ่น
๒.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ รัฐเดี่ยว (Unitary State System)
๒.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น เพียง ๒ ส่วนคือ การปกครองส่วนกลาง และ การปกครองส่วนท้องถิ่น (ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค)
๒.๓ โครงสร้างภายนอก
โครงสร้างการบริหารงานทองถิ่น แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ รูปแบบทั่วไป และ รูปแบบพิเศษ
(๑) รูปแบบทั่วไปแบ่งเป็น ๒ ระดับ (Two Tier System)
ระดับ จังหวัด (Prefectures) มี ๔๗ prefectures แต่ละ จังหวัดประกอบด้วย city, village และ town
ระดับ เทศบาล (Municipal) แบ่งเป็น เทศบาลนคร(Cities/Shi ), เทศบาลเมือง (Towns/Cho or Machi) และ เทศบาลหมู่บ้าน (Village/Son or Mura)
(๒) รูปแบบพิเศษ แบ่งเป็น ๕ แบบ ตามสภาพแวดล้อม คือ เขตพิเศษ (Special Wards / Ku), สหภาพองค์กรปกครองท้องถิ่น (Cooperatives of Local Authorities / Jimu-Kumiai), เขตทรัพย์สิน (Properties Wards), และ บรรษัทพัฒนาท้องถิ่น (Local Development Corporations)
๒.๔ โครงสร้างภายใน
(๑) สภาท้องถิ่น สมาชิกสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี
(๒) ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย
หัวหน้าฝ่ายบริหาร มาจากการเลือกตั้ง โดยตรงจากประชาชน อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี
คณะกรรมการบริหารฝ่ายต่างๆ ส่วนใหญ่มาจากการแต่งตั้ง และ ได้รับการอนุมัติจากสภาท้องถิ่น อยู่ในตำแหน่งคราวละ ๓-๔ ปี มีหน้าที่ถ่วงดุล อำนาจบริหารของผู้ว่าราชการจังหวัด และ นายกเทศมนตรี
๓. สาธารณรัฐฝรั่งเศส
๓.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ รัฐเดี่ยว (Unitary State System)
๓.๒ โครงสร้างการบริหาราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๓ ระดับ (Levels) คือ
(๑) การปกครองส่วนกลาง ประกอบด้วย
(๑.๑) ประธานาธิปดี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
(๑.๒) นายกรัฐมนตรี มาจากการแต่งตั้ง และ เป็น หัวหน้าคณะบริหาร
(๑.๓) คณะรัฐมนตรี
(๒) การปกครองส่วนภูมิภาคเป็นการปกครองท้องถิ่น แบบ การแบ่งอำนาจออกไป (De-concentration) โดยให้ตัวแทนของรัฐเข้าไปดูแล และ บริหาร โดย การบริหารราชการภูมิภาคแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด และ ผู้ว่าการประจำภูมิภาค
(๓) การปกครองส่วนท้องถิ่น แบบ เทศบาล หรือ “Commune” ปัจจุบันมี ๓๖,๖๗๙ communes (หรือ municipalities)
๓.๓ โครงสร้างภายนอก
รูปแบบการปกครองท้องถิ่นแบ่งเป็น คือ
(๑) เทศบาล (Commune)
(๒) จังหวัด (Department) ฝรั่งเศส มี ๑๐๐ จังหวัด 96 départements and 4 départements d'outre-mer (Réunion, Guadeloupe, Martinique and French Guiana).
(๓) ภาค ฝรั่งเศสมี ๒๖ ภาค (Region) 22 Régions and 4 Régions d'outre-mer (Réunion, Martinique, Guadeloupe and French Guiana).
จะเห็นว่า ฝรั่งเศสมี ผู้ว่าราชการจังหวัด ๑๐๐ คน มาจาก ส่วนกลาง และ ๒๖ คน ใน ๑๐๐ คน ก็มีตำแหน่ง เป็นหัวหน้าภาคด้วย คือ มี ๒๖ คน ที่สวมหมวก สองใบ
(๔) การปกครองท้องถิ่น รูปแบบพิเศษ
(๔.๑) นครปารีส เทศบาลนครปารีส, จังหวัดปารีส และ เขต
(๔.๒) เมืองใหญ่ (Lyon และ Marseille)

๓.๔ โครงสร้างภายใน
การปกครองท้องถิ่น แบ่งเป็น ๓ รูปแบบ คือ
(๑) เทศบาล ประกอบด้วย
(๑.๑) สภาเทศบาล สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน และ มีวาระการดำรงตั้งแหน่งคราวละ ๖ ปี
(๑.๒) นายกเทศมนตรี (Maire) เป็นผู้นำบริหารที่มาจากการเลือกตั้งโดยทางอ้อม คือ สามชิกสภาเทศบาล เป็นผู้เลือก
(๒) จังหวัด ประกอบด้วย
(๒.๑) สภาจังหวัด (Conseil General) ฝ่าย นิติบัญญัติ สมาชิก มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนภายในเขตจังหวัด
(๒.๒) ประธานสภาจังหวัด (President du Conseil General) ทำหน้าที่ฝ่าย บริหาร มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม จากสมาชิกสภาจังหวัด มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๓ ปี
(๒.๓) คณะกรรมมาธิการจังหวัด (Departmental Bureau) เป็นตัวเชื่อม ระหว่าง ฝ่าย นิติบัญญัติ และ ฝ่ายบริหาร มาจาก ประธานสภาจังหวัด, รองประธานสภาจังหวัด (๔-๑๐ คน) และ จาก สมาชิกสภาจังหวัด
(๓) ภาค ประกอบด้วย
(๓.๑) สภาภาค (Conseil Regional) ทำหน้าที่ ฝ่ายสภา หรือ นิติบัญญัติ มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๖ ปี
(๓.๒) ประธานสภาภาค (President du Conseil Regional) ทำหน้าที่ฝ่าบริหาร มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม คือ จาก สมาชิกสภาภาค มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๖ ปี
(๓.๓) คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคม (Comite Economique et Social – ECOSCs) มาจากสมาชิก ๔ ประเภท คือ ตัวแทนวิสาหกิจและผู้ประกอบอาชีพอิระ, ตัวแทนสหภาพแรงงาน, ตัวแทนขององค์กรที่มีส่วนร่วม ในการดำเนินกิจกรรมของภาค, และ ผู้ทรงคุณวุฒิ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ ๖ ปี

๔. สหราชอาณาจักร
๔.๑ โครงสร้างภายนอก - รูปแบบการปกครองของสหราชอาณาจักรเป็นระบบ รัฐเดี่ยว (Unitary State System) เน้นการรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง United Kingdom มีพื้นที่ปกครองที่สำคัญ ๔ เขต คือ อังกฤษ (England), เวลส์ (Welsh), สกอตแลนด์ (Scotland) และ ไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland)
๔.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๒ ระดับ ( two levels) คือ
(๑) การปกครองส่วนกลาง
(๒) การปกครองส่วนท้องถิ่น
ไม่มีการปกครองส่วนภูมิภาค
๔.๓ โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น โดยเฉพาะ อังกฤษ เป็นประเทศที่มีพลวัต ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสูง โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลพรรคแรงงาน ในกรอบความคิดว่าด้วย “การถ่ายโอนอำนาจ :Devolution) ภายในอังกฤษเอง ซึ่งเน้น ภูมิภาคนิยม และ การกระจายอำนาจ ( Regionalism and Decentralization)
๔.๔ โครงสร้างภายนอก
(๑) โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น ก่อนสมัย รัฐบาลของนาง มาร์กาเร็ต แธชเชอร์ (Margaret Thatcher) โครงสร้างเป็นแบบ ๒ ระดับ (two tier) คือ
(๑.๑) สภาเขต (County Councils) เป็นโครงสร้างชั้นบน หรือ upper tier ปัจจุบันมี ๓๔ หน่วย และ ในแต่ละเขต หรือ county จะประกอบ ด้วยสภาแขวง ซึ่งเป็น Lower Tier ปัจจุบันมี ๒๓๘ หน่วย
(๑.๒) สภาแขวง (District Councils)
ปัจจุบันโครงสร้างแบบ ๒ ชั้น เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นในเขตนอกมหานคร
โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น สมัย รัฐบาลนาง มาร์กาเร็ต แธชเชอร์ ต้องการปรับโครงสร้างใหม่แบบชั้นเดียวทั่วประเทศ โดยเน้นการยุบรวมเข้าด้วยกัน (Amalgamation) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ แต่ได้รับการคัดค้านจากประชาชนและหน่วยการปกครองท้องถิ่นหลายแห่ง
การปกครองท้องถิ่นแบบชั้นเดียว เป็นการปกครองท้องถิ่นในเขตมหานครลอนดอน โดยรัฐบาลของพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) ในปี ค.ศ. ๑๙๘๖ ได้ทำการยุบโครงสร้างชั้นบน คือสภาแห่งมหานครลอนดอน (Greater London Council) เหลือชั้นเดียวคือสภาเขตแห่งลอนดอน (London Borough Councils) และกลับมาใช้เป็บแบบ ๒ ชั้น อีกครั้งในปัจจุบัน
(๒) โครงสร้างการปกครองท้องถิ่นที่เป็นชั้นเดียว มีอยู่ ๒ รูปแบบคือ
(๒.๑) สภามหานคร (Metropolitan District Councils) เป็นรูปแบบที่นำมาใช้ในเขตที่มีความเจริญและมีความหนาแน่นของประชากรสูง
(๒.๒) สภาเอกรูป (Unitary Authority) เกิดจากการยุบรวมเอาหน่วยการปกครองท้องถิ่นขาดเล็กเช่น สภาแขวงเข้าด้วยกัน
ดังนั้นโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นของ สหราชอาณาจักร จึงเป็นแบบ ผสมผสาน (Hybridity)
๔.๕ โครงสร้างภายในองค์กรปกครองท้องถิ่น
(๑) ฝ่ายบริหาร สามารถเลือกที่มาของ ผู้บริหารได้ ๓ รูปแบบคือ
(๑.๑) รูปแบบนายกเทศมนตรีทางตรงบริหารร่วมกับคณะเทศมนตรี โดยนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งตรงจากประชาชน ทำงานร่วมกับ คณะเทศมนตรีที่ นายกเทศมนตรีเป็นผู้เลือก จากสมาชิกสภาท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้ง เช่นกัน
(๑.๒) รูปแบบคณะเทศมนตรีบริหารร่วมกับนายกเทศมนตรีทางอ้อม คล้ายคลึงของไทย คือ สมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากการเลือตั้งโดยตรงจากประชาชน และ สภาท้องถิ่นเลือก นายกเทศมนตรีจาก สมาชิกสภาเพื่อทำหน้าที่ บริหาร
(๑.๓) รูปแบบนายกเทศมนตรีทางตรงบริหารร่วมกับผู้จัดการสภา นำระบบ “สภาและผู้จัดการ” แบบ สหรัฐอเมริกา มาปรับใช้ นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง ทำหน้าที่เป็นเพียงผู้นำท้องถิ่น และ กำหนดกรอบนโยบายเพียงกว้างๆ และ มอบหมายให้ “ผู้จัดการสภา” ที่มาจากการแต่งตั้งของสภา ทำหน้าที่บริหาร
(๒) ฝ่ายสภา
๕. สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
๕.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ รัฐเดี่ยว (Unitary State System)
๕.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ รัฐบาลกลาง และ รัฐบาลท้องถิ่น หรือ การปกครองท้องถิ่น
๕.๓ โครงสร้างภายนอก
โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น แบ่งเป็น ๒ ระดับ (๒ รูปแบบ) คือ
(๑) แบบทั่วไป
(๑.๑) ระดับบน (Upper Tier) ประกอบด้วย จังหวัด (Province /Do) มี ๙ จังหวัด และ มหานคร (Metropolitan) มี ๖ มหานคร
(๑.๒) ระดับล่าง (Lower Tier) ประกอบด้วย เมือง (City) และ Kun (County) รวม ๑๕๘ แห่ง
(๒) รูปแบบพิเศษ มีเพียงแห่งเดียว คือ กรุงโซล แบ่งเป็น ๒ ระดับ คือ
(๒.๑) Seoul Special Metropolitan มี ๑ แห่ง
(๒.๒) เขตปกครอง (Ku) มี ๒๕ แห่ง
๖. สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน
๖.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ สหพันธรัฐ (Federal State System)
๖.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๓ ระดับคือ
(๑) การปกครองระดับ สหพันธรัฐ (Bund)
(๒) การปกครองระดับ มลรัฐ และ
(๓) การปกครองท้องถิ่น
๖.๓ โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น ภายนอกแบ่งเป็น ๒ ชั้น (Two Tier System) คือ
(๑) อำเภอ (Kreis) แบ่งเป็น อำเภอในเขตชนบท (Landkreis) และ อำเภอในเขตนคร (Statdtkreis)
(๒) เทศบาล (Gemeinden)
๖.๓ โครงสร้างการปกครองภายในท้องถิ่นแบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
(๑) สภาเทศบาล สมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรง อยู่ในวาระตำแหน่งคราวละ ๔ หรือ ๕ ปี
(๒) ฝ่ายบริหาร มีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับโครงสร้างของเทศบาล มีนายกเทศมนตรี (Mayor) เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารมาจากการเลือตั้งโดยตรงจากประชาชน
๖.๔ รูปแบบโครงสร้งของเทศบาลแบ่งเป็น ๔ รูปแบบคือ
(๑) แบบ คณะบริหาร (Magistrate’s Constitution)
(๒) แบบ นายกเทศมนตรี (Mayoral Constitution)
(๓) แบบสภาในเขตเยอรมันนีภาคเหนือ (Northern Germany Council Constitution)
(๔) แบบสภา ของเขตเยอรมันนีภาคใต้ (Southern Germany Council Constitution)

๗. สหรัฐอมเริกา
๗.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ สหพันธรัฐ (Federal State System)
๗.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๓ ระดับคือ
(๑) การปกครองส่วนกลาง (Federal Government) เป็นหน่วยการปกครองสูงสุด และ มีรัฐธรรมนูญของสหพันธ์ ประกอบด้วย
(๑.๑) ฝ่ายบริหาร – ประธานาธิบดี
(๑.๒) สภานิติบัญญัติ ประกอบด้วย ๒ สภาคือ
ก) สภาสูง หรือ วุฒิสภา (House of State) มาจากการเลือตั้งโดยตรง จากประชาชน มลรัฐละ ๒ คน (รวมเป็น ๑๐๐ คน จาก ๕๐ มลรัฐ)
ข) สภาล่าง หรือ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน แต่จำนวนสมชิกขันอยู่กับ จำนวนประชากร ในแต่ละ มลรัฐ
ค) ศาลสูง (Supreme Court) หัวหน้าศาลสูงมาจาก การแต่งตั้งของประธานาธิบดี
(๒) การปกครองในระดับมลรัฐ (State Government) มีรัฐธรรมนูญปกครองตนเอง ประกอบด้วย ๓ ฝ่าย เหมือน Federal Government คือ
ก) ฝ่ายบริหาร – ผู้ว่าการมลรัฐ (Governor) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เป็น หัวหน้าสูงสุด
ข) ฝ่ายนิติบัญญัติหรือ สภามลรัฐ ก็มาจากการเลือกตั้งโดยตรง
ค) ฝ่ายตุลาการ มาจากการเลือตั้งของประชาชน
(๓) การปกครองท้องถิ่น (Local Government) รัฐธรรมนูญสหพันธรัฐ ไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองทิ้งถิ่น เป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญของแต่ละมลรัฐ
๗.๔ โครงสร้างภายนอก
โครงสร้างการปกครองท้องถิ่น (Local Government) แบ่งเป็น ๕ รูปแบบ
(๑) County เป็นแขน ขา ของ มลรัฐ แบ่งตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ที่ครอบคลุม(Geographical area) และ จำนวนประชากร ใน”หลุยเซียน่า”( Louisiana) เรียก “แพริช: Parishes”, ใน “อลาสก้า” (Alaska) เรียก “เบอเร่อ: Borough”
ใน ๔๘ มลรัฐของ อเมริการ มี เคาน์ตี้ ทั้งหมด ๓,๑๔๑ เคาน์ตี้ เรียกว่า County ๓,๐๐๗ แห่ง, ๑๖ เบอร์เร่อ และ และ ๑๑ Census Areasใน อลาสก้า , ๖๔ แพริช ใน หลุยเซียน่า , ๔๒ independent cities (1 in Maryland, 1 in Missouri, 1 in Nevada, and the remainder in Virginia), 1 district ใน โคลัมเบีย.
ยกเว้น “รัฐ คอนเนคติกัท” (Connecticut) และ “รัฐโรดไอร์แลนด์” (Rhode Island) จะไม่มีการปกครองท้องถิ่น แบบ County ? ??? (จากหนังสือ อ.นครินทร์ หน้า ๓๒๐)
Rhode Island มี Cities & Towns ๓๙ แห่ง
Connecticut จะมี Counties 8, Towns 169, Cities 21, Boroughs 9 ( จาก
County ประกอบด้วยหลายๆ Township (๑๐ – ๒๐ แห่ง)
(๒) Municipality หรือ City ต่างจาก County ในแง่ของ กำเนิด และ ภาระกิจหน้าที่ ซิตี้ มีหน้าที่หลายอย่างกว่า County และ เป็นพื้นฐานชุมชนเดิมของ อเมริกา มีอำนาจในการตัดสินใจสูง โครงสร้างและหน้าที่ถูกกำหนดอยู่ใน “กฎบัตร: Charter” ของ มลรัฐ แม้ที่มาจะมาจากการริเริ่มของประชาชน โครงสร้างภายในของ ซิตี้ในอเมริกา มีหลายรูปแบบ คือ
(๒.๑) รูปแบบ นายกเทศมนตรี-สภา (Mayor – Council)
(๒.๒) รูปแบบ กรรมการ (Commission)
(๒.๓) รูปแบบ สภา – ผู้จัดการ (Council – Manager)
(๒.๔) รูปแบบ ที่ประชุมเมือง (Town Meeting) และ
(๒.๕) รูปแบบ ที่ประชุมเมืองแบบตัวแทน (Representative Town Meeting)
ส่วนใหญ่จะใช้ แบบ (๒.๑)
(๓) Town and Township
(๓.๑) ทาวน์ เป็นการปกครองท้องถิ่น ที่เก่าแก่ เดิม เป็นประชาธิปไตยทางตรง แต่เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้น จึงเป็นประชาธิปไตยแบบ ตัวแทน
(๓.๒) ทาวน์ชิพ ทำหน้าที่ คล้ายๆ County แต่ ทาวน์ชิพ ไม่ได้มีอยู่ทุกมลรัฐ เพราะเป็นหน่วยย่อยของ county ที่ทำหน้าที่แทน county ในระดับรากหญ้า เช่น การเลือกตั้ง การบำรุงรักษาถนน การดับเพลิง การเก็บภาษี
(๔) Special District ตั้งขึ้นมาทำหน้าที่เฉพาะ เพียง ๒-๓ หน้าที่ (Special Purpose) หรือ งานและบริการที่หน่วยการปกครองอื่นไม่ทำ เช่น งานป้องกันอัคคีภัย เขตกำจัดปฏิกูล ฌาปาณกิจศพ
(๕) School District ถือว่าเป็นเขตพิเศษ ทำหน้าที่เดียว เนื่องจาก อเมริกามีการจัดการด้านการศึกษา ที่มีความแตกต่างหลากหลาย บริหารโดยคณะกรรมการที่มาจากการเลือกตั้ง
๘. ประเทศออสเตรเลีย
๘.๑ รูปแบบการปกครองเป็นระบบ สหพันธรัฐ (Federal State System)
หรือ ระบบรัฐบาลจักรภพ (Commonwealth Government) ประกอบด้วย ๖ “มลรัฐ:State” และ ๒ ดินแดน
๘.๒ โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น ๓ ชั้น (Three Tier System)
(๑) สหพันธรัฐ
(๒) รัฐ (States) มีทั้งหมด ๖ รัฐ New South Wales, Victoria, Queensland, South Australia, Western Australia, และ Tasmania, กับ ๒ ดินแดน คือ Northern Territory และ Australia Capital Territory.
(๓) ท้องถิ่น มีชั้นเดียว (One Tier System) คือ เทศบาล ( Municipality )
๘.๓ โครงสร้างภายนอก
เป็นแบบ ระบบชั้นเดียว (One Tier System) มีรูปแบบการปกครองเดียว คือ เทศบาล (Municipality) มี ๗๒๗ แห่ง
๘.๔ โครงสร้างภายใน
การปกครองท้องถิ่น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
(๑) ฝ่ายบริหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง มาจากการว่าจ้างของสภาเทศบาล แบ่งงานออกเป็น แผนก (Department) หลายๆแผนก เหมือนการบริหารงานบริษัทเอกชน
(๑.๑) หัวหน้าบริหาร (CEO: Chief Executive Officer) มาจากการแต่งตั้ง และ เป็นสัญญาจ้างงาน
(๑.๒) ผู้ช่วยปฏิบัติงาน (Senior Staff) ได้รับการแต่งตั้ง และ สัญญาจ้างงาน
(๑.๓) เจ้าพนักงานท้องถิ่น (Council Staff) แต่งตั้ง และ สัญญาจ้างงาน
(๒) สภาเทศบาล (Councils) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ประกอบด้วย
(๒.๑) นายกเทศมนตรี (Mayor of Council) มาจากการเลือกตั้งอ้อม จากสมาชิกสภาเทศบาล
(๒.๒) สมาชิกสภา (Councilors) มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน จำนวนสมาชิกขึ้นอยู่กับพื้นที่ และ จำนวนประชากร (จำนวน ๙ – ๒๑ คน)


In France, a préfecture is the capital city of a département. As there are 100 départements in France, there are 100 préfectures in France. A préfecture de région is the capital city of a région.

[1] “Local Government Matters: facts and figures about local council 2505-2506
[2] สะกดแบบ อเมริกา
[3] สะกดแบบ อังกฤษ
โครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินของไทย
การบริหารราชการแผ่นดิน ของไทยปัจจุบัน ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2545 แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1. การบริหารราชการส่วนกลาง บริหารงานตามหลักการรวมอำนาจ (Centralization)
2. การบริหารราขการส่วนภูมิภาค เป็นการบริหารงาน ตามหลักการแบ่งอำนาจ หรือ มอบอำนาจ (Deconcentration)
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารงาน ตามหลัก การกระจายอำนาจ (Decentralization)
การปกครองท้องถิ่นของไทย มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. รูปแบบทั่วไป แบ่งเป็น 2 ระดับ หรือ ชั้น (tier) คือ
a. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)
b. เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
2. รูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ เมืองพัทยา
มาตรา 285 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 กำหนดให้ สมาชิกสภาท้องถิ่น ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน
องค์กรบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จัดโครงสร้างตาม พระราชบัญญัติองค์กรบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และ แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2542 แบ่งการบริหารเป็น 2 ส่วน คือ
1. สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (สภา อบจ.)
2. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 แยกข้าราชการส่วนภูมิภาคออกจากราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัดพ้นจากตำแหน่งยานกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปี 2546 รัฐสภาผ่านพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติม องค์การบริหารส่วนจังหวัด (ฉบับที่ ๓) ทำให้ นายก อบจ.มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน ซึ่งเดิม มาจากมติของสภา อบจ.
เทศบาล เป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยที่เก่าแก่ที่สุด คือเริ่มมีการสถาปนามาตั้งแต่ พ.ศ. 2476 เทศบาลของไทยแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ เทศบาล นคร, เทศบาล เมือง และ เทศบาล ตำบล โครงสร้างแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ สภาเทศบาลฝ่าย นิติบัญญัติ และ คณะเทศมนตรี หรือ นายกเทศมนตรี เป็นฝ่ายบริหาร
สภาเทศบาล ควบคุมและตรวจสอบฝ่ายบริหาร สมชิกมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนอยู่ในวาระคราวละ 4 ปี
คณะเทศมนตรี หรือ นายกเทศมนตรี องค์ประกอบตาม พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2542) และ การแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติเทศบาล ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2543
องค์การบริหารส่วนตำบล ได้รับการยกฐานะเป็น สภาตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2542 และ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2546
1. สภาองค์การบริหารส่วนตำบล
2. คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
กรุงเทพมหานคร จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ต่อมา พ.ศ. 2528 ได้มีการออกพระราชบัญญัติ ปรับปรุงการบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้มีอิสระจาก ส่วนกลางมากขึ้น องค์ประกอบ
1. สภากรุงเทพมหานคร
2. ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร แบ่งการปกครองออกเป็น 50 เขต(ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล) เขตประกอบด้วย
1. สภาเขต
2. สำนักงานเขต
เมืองพัทยา ตั้งโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารเมือง พัทยา พ.ศ. 2521
พ.ศ. 2542 ได้มีการตราพราชบัญญัติ ระเบียบบรอหารราชการเมือง พัทยาใหม่ ตามกรอบรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 โครงสร้างภายในประกอบด้วย
1. สภาเมือง พัทยา
2. นายกเมือง พัทยา

รัฐธรรมนูญ 2550
หมวด 14 การปกครองท้องถิ่น
มาตรา 272 – 281
มตรา 272 พูดถึงความเป็น อิสระของท้องถิ่น บริการสาธารณะ การมีส่วนร่วมของประชาชน
มาตรา 273 การกำกับดูแล เท่าที่จำเป็นตามกฎหมายบัญญัติ
มาตรา 274 อิสระในการกำหนดนโยบาย การปกครอง การบริหาร การจัดการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินการคลัง และ อำนาจหน้าที่ของตนโดยเฉพาะ
มาตรา 245 ว่าด้วยองค์ประกอบ ต้องมี สภาท้องถิ่น และ คณะผู้บริหารท้องถิ่น โดย สมาชิกสภาท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้ง ส่วนคณะผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน หรือ มาจากความเห็นชอบ ของสภาท้องถิ่น การเลืกตั้งใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและ ลับ
วาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี
มาตรา 276 ว่าด้วยประชาชนมีสิทธิลงคะแนนถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น โดยการเข้าชื่อและ การลงคะแนนตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 277 ประชาชนสามารถเข้าชื่อให้สภาท้องถิ่นพิจารณาออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้
มาตรา 278 การมีส่วนร่วมของประชาชน การออกเสียงประชามติ กรณีที่การกระทำขององค์กรปกครองท้องถิ่นมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
มาตรา 279 อำนาจการแต่งตั้ง โยกย้าย เลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน การลงโทษตามกฎหมาย บัญญัติ
มาตรา 280 การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น การฝึกอบรม
มาตรา 281 ส่งเสริม และ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น