วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551

5. บริโภคนิยม (ส่วนหนึงของ รม.633)

แนวข้อสอบ รม.633
ลองตอบคำถามสั้นๆ
1. “บริโภคนิยม” คืออะไร?
“บริโภคนิยม” เป็นคำที่ มีความหมายครอบคลุมมากกว่า การซื้อ การขาย สินค้า แต่รวมถึง วัฒนธรรม สังคม วิถีชิวิต การพักผ่อนหย่อนใจ บริโภคนิยม ไม่ใช่การหลงไหลฟุ้งเฟื้อในการบริโภค แต่เป็นการ นิยม หรือ ปรารถนา (desire) ในการบริโภค ก่อนศตวรรษที่ 18 บริโภค (consumption) ไม่ได้มีความหมายจำกัดอยู่เฉพาะในแวดวง การเมือง และ เศรษฐกิจเท่านั้นในศตวรรษที่ 17 ในทางการแพทย์ Consumption หมายถึง วัณโรค และ หมายถึงการเก็บภาษีของพาณิชยนิยม (mechanism) ซึ่งสังคมยุโรป และ พ่อค้า เริ่มใช้คำนี้ในราว ปี ค.ศ. 1663 ในศตวรรษที่ 18 การบริโภค (consumption) จึงเกิดคู่กับ การผลิต (production) จากการทำงบประมาณ (Budget) เพื่อพิจารณาคาดการณ์การเสียภาษี ตามแนวคิดของ ฟิซิโอแครตส์ (Physiocrates) การบริโภคเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย ในสมัยโบราณ และ กฎหมายอนุญาติให้คนชั้นสูงเท่านั้นที่ สามารถบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ชนชั้นล่างแม้มีเงินก็ ไม่อาจบริโภคได้ เพราะ กฎหมาย และ “ทุนทางวัฒนธรรม culture capital” ทีแต่ละชนชั้นมีไม่เท่ากัน เป็นตัวกำหนด รสนิยม และ ความรู้เกี่ยวกับสินค้าฟุ่มเฟือย การขยายตัวของการบริโภค ขยายตัวลงมาสู่ชนชั้นล่าง ชัดเจนในศตวรรษที่ 18 ที่เรียกได้ว่า “การปฏิวัติการบริโภค (Consumption Revolution)” มีการขยายตัวของร้านค้าพาณิชย์ การขยายตัวของเครดิต และ การโฆษณา โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงเวลาพิเศษของ การบริโภค เพราะการขยายตัวของระบบการผลิตครั้งละมากๆ หรือ เป็นโหลๆ ที่เรียกว่า mass production ทำให้สินค้ากระจายไปทุกชนชั้น ทำให้เกิด “สังคมบริโภค” ซึ่งในประวัติศาสตร์ก่อนหน้านั้นก็มีการผลิตครั้งละมากๆมาก่อน การผลิต เสื้อผ้า เช่น เบียร์
2. ความสัมพันธ์ระหว่างระหว่าง ” บริโภคนิยม (Consumerism)” กับ “ประชานิยม (Populism)”
ในสายตาของนักธุรกิจ มองว่าการบริโภค ในสหรัฐอมเริกา นับแต่ทศวรรษ 1920 เป็นต้นมา เป็นกรอบคิดของ “สังคมนิยม” หัวใจสำคัญของการเผชิญหน้าระหว่าง ผู้ใช้แรงงาน แล บรรษัท กลไกของการบริโภคทั้งหมดอยู่ภายใต้ “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ (Human Dignity)” การบริโภคดังกล่าวจึงเป็น “บริโภคนิยม (Consumerism)” ด้วยอุดมการณ์ของ “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” จึงทำให้ การบริโภคนิยม มีลักษณะเป็น “ประชานิยม (Populism)” ไปในตัว ในกรณีนี้ “ประชานิยม” ที่เชื่อมต่อกับ “บริโภคนิยม” เป็นกลไกในการจัดการให้ ชนชั้นแรงงานได้รับค่าแรงที่สูง เพื่อนำไปซื้อสินค้าที่ “จำเป็น” ภายใต้กรอบหรืออุดมการณ์ของ “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” ที่สร้างให้เกิดสำนึกแห่งความเท่าเทียมกัน เพื่อเป็น “มาตรฐานการครองชีพแบบอเมริกัน” นอกจากนี้ภายใต้ Social Security Act 1935 ซึ่งเป็นประกันสังคมของชนชั้นแรงงาน ว่าจะมีเงินใช้เมื่อยามแก่เฒ่า รัฐจึงมีบทบาทอย่างมากในการผลักดันให้ “การบริโภค” ซึ่งเป็น อาณาเขตของ “ประชาสังคม (Civil society) บรรลุเป้าหมายอย่างเต็มที่ โดยรัฐบาลเป็นกรรมการในการตอบสนองความต้องการและแรงปรารถนา (desire) ของ “ปัจเจก (ส่วนบุคคล)” ที่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับ Rationality และ สุดท้ายก็นำไปสู่สิ่งที่มีคุณค่าต่อสังคม “สาธารณะประโยชน์ (Public bebefit)” ตามแนวคิดของ มองเดอร์วิลล์ (Bernard de Mandeville) ชาว ร็อตเตอร์ดาม (Rotterdam) ซึ่งผลงานของเขาเป็นงานที่ปราศจากอิทธิพลของ ศีลธรรม และ กรอบคิดของ คริสต์ศาสนา
3. บริโภคนิยม เป็นอุดมการณ์ทางการเมืองหรือไม่? และ อย่างไร?
อุดมการณ์ทางการเมือง เป็นรากฐานความคิดทางการเมืองว่าระบบที่ดีควรเป็นอย่างไร เป็นไปตามความเชื่อ อุดมการณ์ทางการเมือง แบบ เสรีนิยม (Liberalism) สังคมนิยม (Socialism) ทุนนิยม (capitalism) ฯลฯ
บริโภคนิยม (Consumerism) สามารถเป็นอุดมการณ์ที่เชื่อมโยงเข้ากับระบอบ การเมืองไม่ว่า จะเป็น เสรีนิยม สังคมนิยม หรือ ทุนนิยม ได้ทั้งสิ้น จึงเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง
ในปลายทศวรรษ 1920 ที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง (Great Depression) รูสเวลล์ ประธานาธิดีคนที่ 32 ของสหรัฐ ถึงกับประกาศโยบาย ที่เน้นการบริโภค ในตอนหาเสียงว่า “อนาคตไม่ใช่เรื่องของการผลิต แต่อยู่ที่การบริโภค” ตามนโยบายเศรษฐกิจแบบ เคนเซียน ที่ทำให้นักธุรกิจ อเมริกา หวาดวิตก ในการควบคุมราคาสินค้าภายใต้นโยบายของ รูสเวลล์ ซึ่งเป็นการแทรกแซงตลาด แต่ก็เป็นอุดมการณ์ที่ทำไปเพื่อ “สาธารณะประโยชน์” ซึ่งทำให้นักธุรกิจอเมริกัน มองว่าการ บริโภค หรือ บริโภคนิยม ในทศวรรษที่ 20 เป็นต้นมาเป็นกรอบคิดของกระแส “สังคมนิยม”

ในปี ค.ศ. 1930 สตาลิน ผูนำโซเวียต ก็เคยเร่งผลิตสินค้าฟุ่มเฟือย อย่าง แชมเปญ ให้ กรรมกรบริโภค เพื่อการมีชีวิตที่ดีหรูหราขึ้น (good life) ในยามภาวะเศรษกิจตกต่ำ ซึ่งอาจจะถือได้ว่าเชื่อมโยงกับ ประชานิยม (populism)
“6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทย” ของ รัฐบาล นายก สมัคร สุนทรเวช ก็เน้น บริโภคนิยม ด้วยการแทรกแซงตลาดทั้งสินค้าและบริการ เพื่อดูแล “สาธารณะประโยชน์” ของชนชั้นล่าง ซึ่งมีลักษณะเป็น “ประชานิยม” แต่อย่างไรก็ตามกลไกทั้งหมดอยู่ภายใต้ “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” ตามแนวคิดของ มองเดอร์วิลล์
บริโภคนิยม ตามแนวคิดของ มองเดอร์วิลล์ ให้อรรถาธิบายว่า “การบริโภค” เป็นการจรรโลง ให้ผู้บริโภคมีแต่ “อัตตา” เพื่อประโยชน์ส่วนตน ในอาณาเขตประชาสังคม และในที่สุดก็กลับนำมาซึ่งคุณค่าทางสังคม หรือ “ประโยชน์สาธารณะ” การต่อสู้ของขบวนการ ผู้บริโภค ตลอดจน คุณภาพของสินค้า เพื่อการบริโภค จึงเป็ตัวขับเคลื่อนให้เกิด สถาบัน (Institution) ขึ้นมา เช่น เศรษฐศาสตร์ และโยง ศาสตร์นั้นๆ เข้ากับ ความเป็น รัฐประชาชาติ (National State) ซึ่ง นัก เศรษฐศาสตร์ อย่าง อัลเฟด มาร์แชลล์ (Alfred Marshall) เห็นว่า ร่างกาย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการบริโภค นั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของ รัฐประชาชาติ
ในปลายศตวรรษที่ 19-ถึงต้นศตวรรษที่ 20- การเมืองการบริโภค ให้ความสำคัญกับการพิทักษ์ผลประโยชน์ของการบริโภค ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่ที่เฉพาะตัวสินค้า แต่พิทักษ์ผลประโยชน์ในเรื่องของเวลาด้วย เช่น การตอกบัตรเข้า-ออก ในการทำงาน การลาพักร้อน หรือ วันหยุด
การบริโภค ในอเมริกาเป็นเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) จากการผลิตแบบครั้งละมากๆ หรือแบบเป็นโหลๆ (mass production) ทำให้คนชั้นกลาง และ ชั้นล่าง สามารถบนิโภคสินค้าได้เท่าเทียมกัน เพราะสินค้าที่เคยเป็นสินค้า ฟุ่มเฟือย เมื่อมีการผลิต ครั้งละมากๆก็ทำให้ต้นทุน แล ราคาขาย ลดลง ทำให้สินค้าฟุ่มเฟือยกลายเป็นสินค้าธรรมดา และ สินค้าความฟุ่มเฟือย กลายเป็นสินค้าจำเป็นไป
4. บริโภคนิยม นำมาเป็นอุดมการณ์ ทางการเมือง ของไทยได้หรือไม่ ? และ คิดว่ามีผลดี-ผลเสีย อย่างไร ต่อประเทศไทย?
5. ความสัมพันธ์ และ ผลกระทบ ของ “บริโภคนิยม” ต่อ ระบบเสรีประชาธิปไตย ปัจเจกชน (individual) และ ประโยชน์สาธารณะ (public benefit)
6. มาตรการ รับวิกฤตน้ำมันของ รัฐบาล สมัคร สัมพันธ์ กับ กับอุดมการณ์ “บริโภคนิยม” อย่างไร?
6 มาตรการ รับมือวิกฤตการณ์น้ำมัน ของรัฐบาล สมัคร ซึ่งมีผล 1 สิงหาคม 2551 นี้ คือ
1.มาตรการลดภาษีน้ำสรรพสามิตน้ำมันทั้งดีเซล ก๊าซโซฮอลล์ ทั้ง 91 และ 95
2.มาตรการชะลอปรับราคาก๊าซหุงต้ม
3.มาตรการลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน
4.ลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าของครัวเรือน
5.มาตรการลดค่าเดินทางรถโดยสารประจำทาง และ
6.มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางรถไฟชั้น 3 โดยมาตรการดังกล่าวจะมีระยะเวลา
แนวความคิด ของ เบลลามี (Edward Bellamy) ใน Looking Backward เมื่อปี 1988 เชื่อว่า ความมั่คั่งของ ประเทศไม่ได้อยู่ที่ การผลิต (production) แต่อยู่ที่สิทธิในการบริโภค โดย การบริโภค เป็น “สิทธิของประชา (Civic Right)” ซึ่งเป็นความหมายใหม่ของ “การบริโภค” ที่เชื่อมโยง การบริโภค เข้ากับ “การเมือง” และ “ความเป็นพลเมือง (Citizenship)”
ถ้าลองเปรียบเทียบเทียบดูจะเห็นว่า ปลายทศวรรษ 1920[1] ที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างแรง (great depression) ประธานาธิบดี คนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา แฟรงคลิน รูสเลต์ (Franklin D. Roosevelt) ได้เข้ามามีบทบาทในการจัดการปัญหาเรื่องการบริโภค จากนโยบายหาเสียงคือ “อนาคตไม่ใช่เรื่องของการผลิต แต่อยู่ที่การบริโภค” ทำให้ถนนทุกสายมุ่งสู่การบริโภค ภายใต้การบริหารของ รูสเวลต์ ตามนโยบายของรัฐบาล แม้นักธุรกิจ อเมริกัน จะหวาดวิตกต่อ ต่อนโยบายเศรษฐกิจ แบบ เคนเซียน ที่รัฐบาลเข้าไปแทรกแซงภาคเอกชน และกลัวระบบเศรษฐกิจไร้ประสิทธิภาพ และ ในสายตาของ
นักธุรกิจอเมริกันนับแต่ ทศวรรษ 1920 เป็นต้นมา มองว่า การบริโภค เป็นกรอบคิดของกระแส “สังคมนิยม” ที่บรรษัทเผชิญหน้ากับ ผู้ใช้แรงงาน เนื่องจากมาตรการของ รูสเวลต์ ควบคุมราคาสินค้า ซึ่งเป็นการละเมิด กลไกของตลาดเสรี แต่ก็เป็นมาตรการณ์เพื่อ “สาธารณะประโยชน์” และในขณะเดี่ยวกันก็มีการขึ้นค่าแรง เพื่อรักษาความสมดุลย์ไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อเมริการักษา “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” (Human Dignity) โดยใช้กลไกการบริโภค การบริโภคของอเมริกันจึงเป็น “บริโภคนิยม” ด้วยอุดมการณ์ ของ”ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมษุษย์” ซึ่งทำให้บริโภคนิยมมีลักษณะเป็น “ประชานิยม” (Populism) ไปในตัว ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อ “ประชานิยม” กับ “บริโภคนิยม” เป็นกลไกในการจัดการให้ชนชั้นแรงงานได้รับค่าแรงที่สูง เพื่อนำไปซื้อสินค้าที่ ”จำเป็น” ภายใต้กรอบ “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” ที่ทำให้เกิดจิตสำนึกแห่งความเท่าเทียมกัน เพื่อเป็น “มาตฐานการครองชีพแบบอเมริกัน”

ซึ่งในสถานะการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทย ประสบภาวะวิกฤต เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นของตลาดโลก ราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคที่มีแนวโน้มต้องขึ้นตามราคาน้ำมัน ทำให้ชนชั้นล่าง และชนชั้นกลาง ประสบปัญหาราคาสินค้าอุปโภค-บริโภคแม้ในสิ่ง “จำเป็น” และ ปัญหาค่าเงินบาทแข็งตัว ที่รัฐบาลที่ผ่านมาพยายามช่วยเหลือผู้ส่งออกเป็นหลัก (ซึ่งเป็นภาคการผลิต) การออก 6 มาตรการช่วยประชาชนเพื่อให้สามารถคงการ “บริโภค” สินค้าและบริการที่ “จำเป็น” ได้ นอกจากเป็นการแทรกแซงกลไกตลาด เพื่อ”ประโยชน์สาธารณะ”แล้ว ยังเป็นการชลอเงินเฟ้อ ของรัฐบาลจากการขึ้นราคาสินค้าบางรายการด้วย แม้ไม่อาจเทียบได้กับ “มาตรฐานแห่งการครองชีพอเมริกัน” แต่ก็เป็นการรักษาอุดมการณ์ของ “ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” แม้บางคนอาจจะเชื่อมโยงไปกับ “ประชานิยม” (Populism) มาตรการระยะสั้น 6 เดือนของรัฐบาลอย่างน้อยก็ชลอความเดือดร้อนของชนชั้นล่าง ได้เช่นเดียวกับนโยบายของ รูสเวลต์ หลังส่งครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้มาตรฐานการแห่งการของชีพของอเมริกัน ดีกว่าคนยุโรป ในช่วงนั้น
แม้ก่อนหน้านั้นไทยจะมีการนำอุดมการณ์เชิงการเมือง “เศรษฐกิจพอเพียง” มาใช้ในช่วงรัฐบาล ที่มาจากรัฐประหาร 19 กันยา 2549 ที่ไม่สอดคล้องกับกับระบอบเสรีประชาธิปไตย ที่ต้องการความเท่าเทียกัน ของปัจเจก รวมทั้งศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ เพราะเศรษฐกิจพอเพียง ตามผลงานและข้อเขียนของ แอนดรูว์ วอล็กเกอร์ นักมนุษย์วิทยา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ออสเตรีย (ANU) แสดงความเห็นประเด็นสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบคิดแบบกำกับควบคุม มันเป็นการควบคุมพฤติกรรมของคน ทางศีลธรรม และ กรอบศาสนาว่าคนควรใช้ชีวิตอย่างไร มีทัศนที่เป็นลบ ติ่ การบริโภค ที่สังคมชั้นล่างเป็นอยู่ว่าฟุ่มเฟือย โลภ และสุ่มเสี่ยง โดยไม่ได้บอกว่า ชีวิตชนบทจริงๆเป็นเช่นไร เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเคริ่งมือทางการเมืองของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เพื่อโจมตีโครงการต่างๆในรัฐบาล ทักษิณ วอล์กเกอร์ ได้ยกประเด็น ที่น่าสนใจอีกข้อหนึ่งในแง่ของ สำนึกทางวัฒนธรรมและศีลธรรมดั้งเดิมของไทย ชุดหนึ่ง ที่มีอยู่ แล้วโยนลงไปที่สังคมชนบท เพื่อให้สอดคล้องกับ อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่คนกรุงเทพฯ มีรถไฟไฟฟ้า ไปห้างสรรพสินค้า สยามพารากอน และ แทบจะไม่มีใครวิจารณ์หนี้บัตรเครดิตของคนในกรุงเทพฯ แต่การซื้อโทรศัพท์มือถือของคนชนบทกลับเป็นการไม่รู้จักพอเพียง ถูกกดดันด้านศีลธรรม ซึ่งแสดงให้เห็นถึง “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” ในชนบทที่ถุกทำลาย จากการกำกับควบคุม ของอุดมการณ์ทางชนชั้น จึงมีคำถามตามมามากมาย ถึงการมี โทรทัศน์ การมีมือถือ การมีมอเตอร์ไซด์ การส่งลูกเรียนมหาวิทยาลัย หรือ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ เป็นความพอเพียง หรือ ความฟุ่มเฟื่อย ของ “สังคมบริโภค” และ ความพอเพียงของคนในเมือง กับ คนชนบท เท่ากันหรือไม่? มีอะไรเป็นตัวชี้วัดว่า ขนาดไหนคือความพอพียง ขนาดไหนที่เกินความพอเพียง ซึ่งเหมือนในช่วงศตวรรษที่19 ที่ชนชั้นสูงของอังกฤษใช้ การแต่งตัวที่เรียบง่าย และ ความประหยัด เน้นความขยันหมั่นเพียร ไม่ทำตัวฟู่ฟ่าหรูหรา เป็นทางผ่านแห่งกลไกทางอำนาจไปสู่ชนชั้นกลางและชนชั้นล่าง โดยใช้สำนึกเรื่องความพอเพียงซึ่งเป็นสำนึกของการแสดงสถานะ ซึ่งเป็นค่านิยมที่ปฏิเสธ “วิถีชีวิต และ ความคิด แบบพ่อค้า”
สุดท้าย “เศรษฐกิจพอเพียง” ก็ถูกใช้เป็นภาษาที่ยังประโยชน์ให้กับผู้รู้จักใช้ประโยชน์ของภาษา เช่น ในการของบประมาณ หรือ การขอความช่วยเหลือจาก รัฐบาลและนัก การเมือง เพราะ”เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นชื่อ หรือ สัญลักษณ์ ที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ ที่ไม่อาจปฏิเสธ ทั้งที่หลายโครงการไม่ได้แสดงความพอเพียงแต่อย่างใด แต่เป็นสิ่งที่ “จำเป็น” ที่ไม่อาจแยกได้จากสิ่ง “ฟุ่มเฟือย” ให้ชัดเจนได้ สุดท้าย เศรษฐกิจพอเพียง ก็จะเป็นคำทั่วไปที่ไม่ได้มีความหมาย หรืออุดมการณ์ใดๆ ทั้งสิ้น และ ค่อยๆสูญหายไป เพราะในนับแต่โบราณจนถึง ศตวรรษที่ 18 “ ความหรูหราฟุ่มเฟือย” กับ คำว่า “พอเพียง” เป็นสองคำที่หาคำอธิบายให้ชัดเจนได้ยาก ทั้งสองคำจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการโจมตี ฝ่ายตรงข้าม หรือ คู่ต่อสู้ หรือเป็นเครื่องมือ ของชนชั้น
ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงในทางปฏิบัติอาจสวนทางกับความเป็นจริงที่ต้องการ ของรัฐบาล ที่ต้องการลดแรงกดดันของรัฐบาลลงในแง่งบประมาณสำหรับการพัฒนาชนบท โดยให้ประชาชนรู้จักพึ่งตัวเองอย่างพอเพียง จึงขึ้นอยู่กับว่าใครจะนำ เศรษฐกิจพอเพียง ไปหาประโยชน์ได้อย่างไร
สรุปได้ว่าชนชั้นกลางและล่าง ในรัฐประชาชาติ ของไทย แม้จะมีเสรีภาพในทางการเมืองมากขึ้น และไม่ต้องการการแทรกแซงของรัฐ และ ให้ความสำคัญกับปัจเจกชน ตามแนวคิดเสรีนิยมใหม่ (Neoliberal) แต่ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจเช่นนี้ ความต้องการ “การบริโภคของสาธาณะ” ซึ่งเป็นความต้องการของปัจเจก จึงทำให้ความเป็นปัจเจก กับ สาธารณะ แยกกันไม่ออก ในแง่ของการบริโภค แม้รัฐจะต้องแบกภาระเรื่อง การบริโภค ตาม 6 มาตรากร ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทย แต่ก็เป็นการสร้างความเท่าเทียม สิทธิประชา (Civil right) และ “ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” (Human dignity) ให้แก่ ปัจเจก ในระบอบเสรีประชาธิปไตย ของไทย ที่โยงการ บริโภค เข้ากับ มิติทางสังคม เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรมการเมืองของไทย ในสภาวะการมา และ การไล่ล่า ของ “สังคมบริโภค

7. จงอธิบาย บริโภคนิยม กับ เศรษฐกิจพอเพียง ในสถานะของ อุดมการ์ทางการเมือง
บริโภคนิยม และ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นอุดมการณ์ทางการเมือง ที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง เพราะการบริโภค ไม่ได้เป็นเรื่องของ ความพอเพียง เพราะจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มนุษย์ยังไม่เคยมีความพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง ในสมัยกรีกก็มีแนวคิดที่ว่า “ความหรูหราฟุ่มเฟือย” เป็การแสดงถึงความอ่อนแอ หรือ การกินที่มากเกินไปก็ยังกินความถึงความอ่อน และความนุ่มนวล เป็นสภาวะที่ไม่สามารถปกครองตนเองได้ เป็นการแสดงถึง ความขี้ขาดตาขาว ซึ่งชนชั้นสูงถือเป็นลักาณะของช่างฝีมือและพ่อค้า ในขณะที่ โรมันก็ไม่ต่างจากกรีกโบราณนัก เพราะ “ความฟุ่มเฟือย (Luxuria)” ในแนวคิดของโรมแสดงนัย ของการทุจริตคดโกง ความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล ตามกรอบความคิดของโรมัน การกระเหม็ดกระแหม่ ไม่ฟุ่มเฟือย เป็นจริยธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของโรมัน
เศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของ พระเจ้าอยู่หัว ตามมุมมองของ แอนดรูว์ วอล์กเกอร์ วิพากษ์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าเป็นเพียงฐานะที่เป็นเครื่องมือเชิงอุดมการณ์ทางการเมือง ของชนชั้น ซึ่งขัดกับหลักเสรีประชาธิปไตย เพราะเป็นเพียงวิธีคิดแบบกำกับควบคุม มันเป็นการควบคุมพฤติกรรมคม โดยเศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้บอกว่าชีวิตชนบทจริงๆเป็นอย่างไร ทว่ามันเป็นระบบกำกับควบคุมทางศีลธรรมว่าคนควรจะใช้ชีวิตอย่างไร เศรษฐกิจพอเพียง ถูกใช้ไปในทางการเมือง เพื่อโจมตีโครงการ “ประชานิยม” ของ รัฐบาล นายก ทักษิณ เช่น กองทุนหมู่บ้าน โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) และ หลายโครงการ “ประชานิยม” ของรัฐบาลทักษิณ ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เศรษฐกิจพอเพียง
(ดูบทความสรุปของ วอล์กเกอร์)
8. จง วิพากษ์ “บริโภคนิยม” ในมิติทางสังคม วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจในการเมืองไทย
“บริโภคนิยม” ในช่วง ศตวรรษที่ 18 ถึง ศตวรรษที่ 21 สิ่งสำคัญในการบริโภค คือการแสวงหาสิ่งของต่างๆ ที่ทำให้ผู้แสวงหามีความสุข ความสุขจึงเกิดจากการ”ไล่ล่า” หรือ จากการได้ “กระทำ” มากว่าการครอบครอง เช่น การดื่มสุรานั้นไม่น่าอภิรมณ์เท่ากับ บรรยากาศในการดามสุรา หรือ ตัวละครเอก ในอุปรากร ของ โมสาร์ต ...... ความสุขจึงอยู่ที่ได้มีแรงปรารถนา (desire) ต่อไปเรื่อยๆ สภวะของการบริโภคจึงอยู่ที่กระบวนการมากว่า เป้าหมาย (ดู sheet สรุปหน้าที่ 21 )
การไล่ล่าสังคมบริโภค ยังไม่มีที่สิ้นสุดเปรียบเหมือนแรงปรารถนา (Desire) ที่ไม่มีวันได้รับการตอบสนอง ในทางทฤษฎี การมาของ “สังคมบริโภค” เป็นเพียงการบ่งชี้ หรือ การแสวงหา สภาวะใหม่ๆ โดยผ่นทาง ประวัติศาสตร์ของสังคม (Social history) ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ (Economic history) ประวัติศาสตร์วัฒนะรรม (Cultural History) การบริโภค จึงไม่ได้เป็นเรื่องความพอเพียง .....(ดู Sheet สรุป หน่ 22)
จาก Voltaire ที่ว่า “Do not therefore, with simplicity, call virtue that which was poverty.”
“ ดังนั้น ความเรียบง่ายที่เรียกว่าความดี หรือ ศีลธรรมนั้น ก็คือความยากจนนั่นเอง”
[1] สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: World War I หรือ First World War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วง ค.ศ. 1914 - 1918

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น