วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551

1. รม.614 เศรษฐศาสตร์การเมืองไทย

บันทึกการบรรยาย (Lecture Note)
เป็นส่วนหนึ่งของวิชา รม. 614 เศรษศาสตร์การเมือง ประสานวิชาโดย รศ.ดร เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จุดประสงค์ของ ผู้ประสานวิชาคงต้องการดูความสนใจของนักศึกษาว่าเข้าฟังการบรรยายครบถ้วนหรือไม่และคงต้องการดูความเข้าใจของนักศึกษาตามแนวหัวข้อที่บรรยายตามแนวคิดใหม่ระหว่างความเจริญรุ่งเรื่องทางเศรษฐกิจของตะวันตกและ ตะวันออกหรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของคะแนนช่วยก็ตามแต่เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่นักศึกษาเอง หรือประโยชน์ของตัวบันทึกการบรรบยายเองนักศึกษาคงต้องมีส่วนร่วมในการอ้างอิงเหตุการณ์ จากเอกสารอื่นๆและความคิดเห็นของนักศึกษาเองในมุมมองที่อาจแตกต่างหรือสอดคล้องกันแต่ยังคงอยู่ในกติกาของบรรทึกการบรรยายตามข้อกำหนดของ ผู้ประสานวิชาซึ่งประกอบด้วยคำบรรยายของ รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ รศ.ดร.สมภพ มาระรังสรรค์ ผศ.พรชัย ตระกูลวรนนท์
หัวข้อที่บันทึกการบรรยาย
๑. วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจการเมืองโลก
เศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นการศึกษาเพื่อทำความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ที่เปรียบเหมือนการทอผ้า เป็นการถักทอ (Intervolve) กันของเศรษฐกิจ และ การเมือง ที่บางครั้งเศรษฐกิจเปรียบเหมือนเส้นด้ายตั้ง (Vertical line) ที่อยู่เฉยๆ และการเมืองเป็นเส้นด้ายวิ่ง ที่วิ่งไปมาในแนวนอน (Horizontal line) เพื่อให้เกิดเป็นลวดลายบนผืนผ้า เกิดเป็นรูปแบบของเศรษฐกิจการเมือง หรือในทางกลับกัน เศรษฐกิจก็เป็นเสมือนเส้นด้ายตั้ง ที่มีการเมืองเป็นเส้นด้ายวิ่ง และ เกิดรูปแบบเศรษฐกิจการเมืองอีกรูปแบบหนึ่ง ลวดลายบนผืนผ้าก็เหมือนรูปแบบของการเมืองเศรษฐกิจที่มีหลายรูปแบบ หรือ อาจเปรียบเศรษฐกิจการเมืองเป็นสองด้านของเหรียญที่ดำรงอยู่คู่กันไม่สามารถแยกจากกันได้
เนื้อหาของบันทึกการบรรยาย กล่าวถึงยุคต่างๆในมิติมุมมองใหม่ กล่าวถึงความเจริญรุ่งเรื่องของตะวันออกที่มีมาก่อนตะวันตก ความเจริญของตะวันตกที่ตามทันและแซงตะวันออก การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจการเมืองหลังสงครามเย็น ทุนจีนโพ้นทะเลต่อเศรษฐกิจการเมืองไทยและ ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการบรรยายได้แบ่งเป็นช่วงระยะเวลาเพื่อง่ายต่อความเข้าใจคือ
ช่วง ค.ศ. 600- 1500 ซึ่งเป็นช่วงความเจริญของตะวันออกที่มีมาก่อนตะวันตก ในช่วงศตวรรษที่ 7 ถึง 14 ของ อิสลาม จีน อินเดีย โดยอิสลามเจริญรุ่งเรืองอย่างมากในศตวรรษที่ 7 ถึง 9 และความเจริญของจีนในช่วง ศตวรรษที่ 9 ถึง 10 ที่แซงหน้าอิสลาม แม้จะถูกปกครองโดยต่างชาติ เช่น มองโกล ในสมัยราชวงศ์ หยวน (Yuan Dynasty, ค.ศ. 1279-1368) และ แมนจู ในสมัยราชวงศ์ ชิง (Ching หรือ Cheng Dynasty, ค.ศ.1644-1911) จีนยังคงเจริญต่อมาถึง ค.ศ. 1860 และเสื่อมลงหลังความพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น(ค.ศ. 1839-1842) ต่ออังกฤษในสมัยราชวงศ์ชิงนั่นเอง ความเจริญด้านเศรษฐกิจของยุโรปโดยเฉพาะอังกฤษเริ่มตามทันและแซงหน้าจีน และเป็นความเจริญแบบก้าวกระโดดหลังการปฏิวัติทางอุสาหกรรมของอังกฤษ
ช่วง ค.ศ. 1500 – 1700 เป็นช่วงการเดินทางของตะวันตกเพื่อค้นหาส่วนต่างๆของ โลก เช่นการเดินทางพบอเมริกาใต้ของ การเดินทางครั้งที่สามของโคลัมบัส (Christopher Columbus, ค.ศ. 1498 – 1500) การเดินทางอ้อมแหลม กูดโฮบ (Good hope) ของ วาสโก ดากามา หรือการเดินทางรอบโลกของ แมร์ค เจนแลนด์ เป็นเพียงช่วงการเดินทางค้นหาของตะวันตกที่ยังไม่มีการยึดครองดินแดนหรือล่าอาณานิคม
ช่วง ค.ศ. 1800 – สงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1939-1945) เป็นการขยายจักวรรดิโดยการล่าเมืองขึ้นเพื่อเป็นอาณานิคมของ ประเทศตะวันตก จนถึงสงครามโลกครั้งที่สอง
ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง - ปัจจุบัน สงครามโลกที่สองสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1945 เป็นต้นมาโลกก็ก้าวเข้าสู่ยุคสงครามเย็น (ค.ศ. 1945 – 1989) เป็นสงครามระหว่างสองขั้วอภิมหาอำนาจสหรัฐอเมริกา ผู้นำฝ่ายโลกเสรีและสหภาพโซเวียตรัสเซียผู้นำฝ่ายคอมมิวนิสต์ประเทศต่างๆภายใต้อาณานิคมของตะวันตกก็ต่างแยกตัวเป็นอิสระปกครองตนเอง บางประเทศก็ถูกดึงเข้าเป็นพวกของแต่ละขั้ว บางประเทศต้องการแยกตัวอยู่อย่างอิสระจากตะวันตก ฝ่ายโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ต่างดำเนิน เกม การต่อสู้ตามทฤษฎีเกมโดยเลือกวิธีการผลลัพธ์เกมเป็นศูนย์ (Zero Sum Game) ของ John von Neumann ที่ต่างก็คาดหวังว่าตนเองจะเป็นผู้ชนะ แต่ในทีสุดจากการคาดการณ์ผิดผลลัพธ์ที่ทั้งสองฝ่ายได้กลับเป็นผลลัพธ์เกมไม่เป็นศูนย์แบบลบ (Negative non-zero sum game) ตาม ทฤษฎีเกมของ John Forbes Nash ที่ทั้งฝ่ายประสบความพ่ายแพ้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้แก่ทั้งสองฝ่ายจนสงครามเย็นต้องยุติลงในปี ค.ศ. 1989 จากผลการพ่ายแพ้ในสงครามเวียตนามของสหรัฐอเมริกาจนต้องถอนทหารออกจากเวียตนามและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 1991
ช่วงปัจจุบัน – อนาคต เป็นช่วงที่ ตะวันออกเริ่มผงาดขึ้นอีกครั้ง จากเศรษฐกิจแบบตลาด (Market economy) ของจีนในขณะที่ตะวันตก เริ่มเสื่อมถอยลงจากระบบเศรษฐกิจแบบเก็งกำไร (Speculation economy) และกลายเป็นเศรษฐกิจการพนัน (Casino economy) จนสร้างปัญหาอย่างหนักต่อระบบเศรษฐกิจมหภาคและเศรษฐกิจจุลภาคอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะปัญหา Subprime ด้านสินเชื่อที่อยู่อาศัย ที่เกิดจากลูกค้าสินเชื่อที่ด้อยคุณภาพ ในสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ลามไปถึงญี่ปุ่นและเอเซียในระบบโลกาภิวัตรที่วิกฤตโรคระบาด (Contagion effects) สามารถกระจายจากทวีปสู่ทวีปและประเทศสู่ประเทศอย่างรวดเร็วเศรษฐกิจการเมืองไทยในทศวรรษหน้านอกจากจะขึ้นอยู่กับการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศแล้วยังมีปัจจัยการเมืองเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะปัญหา Suprime ของสหรัฐอเมริกาที่กระทบโดยตรงต่อยุโรปและกระทบการเติบโตของเศรษฐกิจจีน ญี่ปุ่น อินเดีย เกาหลี เนื่องจากสหรัฐมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลกเทียบเท่ากับสหภาพยุโปรวมกัน ในขณะญี่ปุ่นซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกย่อมกระทบต่อไทยที่มีการพึ่งพาการส่งออกผ่านทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และ ญี่ปุ่นเป็นหลัก
วิกฤตเศรษฐกิจการเมืองของไทยปัจจุบันเกิดการขัดแย้ง ที่เป็นมิติที่มองการเมืองเป็นหลักโดย ให้ความสำคัญต่อเศรษฐกิจเป็นรอง ด้ายเส้นตั้งของการเมืองเป็นด้ายที่ยุ่งเหยิงดังนั้นเส้นด้ายที่วิ่งทางแนวนอนของเศรษฐกิจจึงยากที่จะถักทอให้ได้ผืนผ้าที่ดีได้ ผืนผ้าที่ออกมาคงมีรูปแบบที่ด้อยคุณภาพ ปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจ ความขัดแย้งทางการเมืองคงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำ วันที่คนไทยต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมันเหมือนกับภัยจากการก่อการร้ายที่คนทั้งโลกเริ่มเคยชินและรับรู้ว่ามันคือส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตามถ้าความขัดแย้งของทั้งสองขั้วการเมืองที่ดำเนินไปเป็นไปแบบไร้อุดมการณ์ที่แท้จริงต่อสังคมของทั้งสองฝ่ายและต้องการเล่นเกมผลลัพธ์ศูนย์คงเทียบได้กับการต่อสู้ในสงครามกลางเมืองของจีนในปี ค.ศ. 1916 – 1928 ในการแย่งชิงอำนาจระหว่างฝ่ายนิยมสาธารณรัฐและกลุ่มนักฉกฉวยโอกาส หยวนซื่อไข่ ที่ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ขาดอุดมการณ์ทางการเมือง ประเทศไทยคงเข้าสู่วิกฤตร้ายแรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ผมคงไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายเกินไปถ้าจะเกิดสงครามกลางเมืองในประเทศไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย
ผมเคยยืนดูสถานทูตไทยในกัมพูชาถูกเผาเมื่อปลายปี ค.ศ. 2003 ขณะทำงานด้านการลงทุนอยู่ในประเทศกัมพูชาและมีความคิดว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่สามรถเข้าใจได้ว่าทำไมชาวกัมพูชาและรัฐบาลกัมพูชาทำลายเศรษฐกิจการลงทุนของจากต่างประเทศ (FDI) ประเทศเขาเองและวันนี้ผมกำลังยืนอยู่ในประเทศไทยที่มีคนที่ผมคิดว่าผมน่าจะเข้าใจคนไทยด้วยกันได้ดีกว่าความไม่เข้าใจแนวคิดของคนกัมพูชาที่ช่วยกันทำลายเศรษฐกิจของประเทศ แต่ผมก็คิดผิด ความจริงผมไม่เข้าใจที่เห็นนักวิชาการนักเคลื่อนไหวและผู้มีอำนาจได้ใช้ประเทศไทยเป็นเดิมพันในการต่อสู่ที่ไร้อุดมการณ์ต่อประชานที่แท้จริงของทั้งสองฝ่าย เราคงต้องพัฒนาประเทศช้าลงบ้างหลายๆอย่างที่เริ่มถูกแซงโดย ลาว กัมพูชาและเวียนาม โดยเฉพาะระบบโทรคมนาคมที่เห็นได้ชัดว่า กัมพูชาและลาว ประกาศให้บริการระบบ 3G ของโทรศัพท์เคลื่อนที่แต่ประเทศไทยซึ่งมีองค์กร กทช.ขนาดใหญ่ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ วัยวุฒิมากมายแต่ทำไม่สามารถขับเคลื่อนอะไรที่เป็นรูปธรรมได้เป็นตัวอย่างที่เกี่ยว ข้องกับความไม่สมดุลยของมิติทางเศรษฐกิจและการเมืองของไทยที่ชัดเจนสิ่งที่น่าสนใจคือประ เทศเหล่านี้เสียเวลาอยู่ในสงครามเป็นเวลาหลายสิบปีที่การเมืองสำคัญกว่าเศรษฐกิจในขณะที่ไทยเคยอยู่ในสภาพการเมืองเศรษฐกิจที่ดีมีความสมดุล ประเทศเหล่านี้มีการพัฒนาที่ยังห่างไกลจากประเทศไทยมากพอสมควรแต่สถานะการเศรษฐกิจการเมืองของไทยปัจจุบันคงกลับไปสู่ประเด็นการเมืองที่เข้มข้นโดยไม่สนใจเศรษฐกิจของประเทศหรือเป็นการให้แต้มต่อกับเพื่อนบ้านโดยไทยอาจเข้าสู่ภาวะสงครามการมืองภายในประเทศและคงหลีกไม่พ้นการรัฐประหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งๆที่ทุกฝ่ายไม่เห็นด้วยผู้เล่นเกมทั้งสองฝ่ายหันหลังให้ทางออกที่มีอยู่ ก็อาจเป็นความล้มเหลวหรือความด้อยความรู้ในการใช้เศรษฐกิจการเมืองให้เหมาะสมในการบริหารประเทศ เศรษฐกิจการเมืองจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและไม่สามารถแยกจากกันได้จริงๆระหว่างเศรษฐศาสตร์และการเมือง
๒. ยุคที่ตะวันออกเจริญกว่าตะวันตก
เศรษฐศาสตร์การเมืองเป็นสหวิชาที่ทำให้เราสามารถนำความสัมพันธ์ของทั้งสองส่วนมาอธิบายปรากฎการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ ภูมิภาคและโลกได้กว้างขวางกว่า การศึกษาหรือการอธิบาย ปรากฎการณ์ทางการเมืองหรือเศรษฐกิจโดยแยกกันเด็ดขาดเพราะการเมืองเป็นผู้วางนโยบายทางเศรษฐกิจและเศรษฐกิจก็ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในบางครั้ง เช่น นโยบายเศรษฐกิจแบบตลาด (Market economy) ของจีนในการปฏิรูปเศรษฐกิจของจีนจากการเมืองโดยการนำของ เติ้งเสี่ยวพิง การล้มเหลวทางเศรษฐกิจแบบเก็งกำไร (speculative economy) ของ สหรัฐฯสมัยประธานาธิบดี บรู๊ช ผู้ลูกก็นำไปสู่การเปลี่ยนขั้วทางการเมืองของสหรัฐเป็นนาย โอบามา จากพรรค เดโมแครตในการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริการที่ผ่านมาดังนั้นเศรษฐศาสตร์และการเมืองจึงเปรียบเสมือนสองด้านของเหรียญที่อยู่ด้วยกันหรือเหมือนการถักทอของเส้นด้ายในแนวตั้งและแนวนอนที่สะท้อนความสวยงามของเนื้อผ้าได้จากการถักทอของเศรษฐกิจและการเมือง ความสัมพันธ์ดังกล่าวได้มีการพัฒนาการมาแต่อดีตไม่ว่าจากความเจริญของตะวันตกหรือของตะวันออก
ความรู้ของฝรั่ง หรือตะวันตกที่เราได้เรียนรู้มาในอดีตมักกล่าวถึงวัฒนธรรมตะวันตกเริ่มจากกรีกโบราณและโรม แต่มีคำถามว่าเป็นเช่นนั้นเท่านั้นหรือจากการค้นคว้าพบหลักฐานใหม่ๆและ ความรู้ใหม่ๆมากขึ้นว่าความเจริญไม่ได้มาจกตะวันตกแต่มีความเจริญที่มาจากตะวันออก ความรู้หรือความรับรู้จึงเปลี่ยนไปตามข้อมูลใหม่หรือการรับรู้ใหม่ๆ เช่น ปัจจุบันพบว่าบรพบุรุษของมนุษย์นั้นมาจาก อาฟริกา คือมนุษย์เกิดขึ้นครั้งแรกที่ อาฟริกา แถบประเทศเคนยาและอพยพออกมาจากอาฟริกาประมาณ แสนห้าหมื่นปีที่แล้ว รูปร่างกระโหลก สีผมและสีผิวก็เปลี่ยนแปลงไปและมีหลักฐานเชื่อได้ว่ามนุษย์แต่เดิมเป็นคนผิวดำทั้งหมด โดยกำเนิดของมนุษย์กำเนิดที่แหล่งเดียวกันคืออาฟริกา ไม่ได้เกิดกระจัดกระจายอยู่หลายๆจุดซึ่งเป็นการท้าทายความเชื่อหรือความรู้เดิมของตะวัน ตกซึ่งอาจจะรับไม่ได้ เพราะจากการศึกษาเมื่อ 200 ปีที่ผ่านมาจากการศึกษาของฝรั่งตะวันตกเชื่อว่าคนผิวดำเป็นคนโง่ ซึ่งความรู้ทางสังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และ มนุษย์ศาสตร์ช่วยลดทอนความ คิดดังเดิมแบบนี้ลงไปเรื่อยๆ ต.ย.โอบามา เป็นคนดำคนหนึ่งก็กำลังจะเป็นประธานาธิบดีของประ เทศอภิมหาอำนาจสหรัฐฯ
จากหลักฐานใหม่ที่ค้นพบโดยนักประวัติศาสตร์ทั้งตะวันตกและตะวันออกทำให้เชื่อได้ว่า ตะวันออกได้เคยเจริญรุ่งเรื่องมาก่อนตะวันตกโดยเฉพาะความเจริญของอิสลาม ในช่วงค.ศ. 600 – 1200 และเริ่มเสื่มถอยลงหลังการรุกรานของ พวกอานารยชน (Nomad) มองโกลในศตวรรษที่ 13 ที่บุกไปตีถึงกรุง “แบกแดด” ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอิสลามในสมัยนั้นแตก ต่อจากนั้นก็เป็นยุคความเจริญของจีน อินเดียและญี่ปุ่นที่แสดงให้เห็นว่าตะวันออกเคยเจริญรุ่งเรืองมาก่อนตะวันตกจนถึงศตวรรษที่ 19 ประมาณปี ค.ศ. 1860 ตะวันตกถึงไล่ทันพร้อมกับการเสื่อมถอยลงของจีนหลังสงครามฝิ่นในช่วงปี ค.ศ. 1839 -1842 และจีนแพ้สงครามแก่อังกฤษ ในช่วงราชวงศ์ ชิง (ค.ศ. 1644-1911) เศรษฐกิจของจีนถูกควบคุมโดยจักวรรดินิยมอังกฤษ
เพื่อการศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการทางเศรษฐกิจการเมืองของตะวันออกและตะวันตกสามารถพิจารณาได้ในแต่ละช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนปลงโดยแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
๑. ยุคความเจริญของอารยะธรรมตะวันออก ในช่วง ค.ศ. 600 – 1500 ความเจริญของ อาณาจักรอิสลาม จีน อินเดียและญี่ปุ่น เป็นยุคที่แสดงให้เห็นว่าตะวันออกได้เคยเผยแพร่ความเจริญเข้าไปสู่ตะวันตก
๒. ยุคการสำรวจและการค้นพบโลกในค.ศ. 1500 – 1700 เป็นช่วงการสำรวจเมืองและส่วนต่างๆของโลกเช่นการค้นพบทวีปอเมริกาของ “โคลัมบัส” การเดินทางอ้อมแหลม กูดโฮบของ “วาสโก ดากามา” หรือ การเดินทางรอบโลกของ “เฟอร์ดินานต์ แมก เจนแลน” นักเดินเรือโปรตุเกสที่พิสูจน์ว่าโลกกลมเป็นยุคที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างตะวันตกและตะวันออกมากขึ้นและเกิดการค้าขายแลกเปลี่ยน การล่าอาณานิคมและ ความเจริญของตะ วันตกก็ตามมา
๓. ค.ศ. 1800 สงครามโลกครั้งที่สองหรือยุคล่าอาณานิคมของตะวันตกเป็นยุคที่ตะวันตกแสวงหาผลประโยชน์โดยใช้กำลังหรือกองทัพในการรุกรานและยึดครองผลประโยชน์ของประเทศทางตะวันออกตลอดจนการครอบครองที่ทำให้ประเทศทางตะวันออกชลอความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจลง
ยุคความเจริญของอิสลาม (ช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 7 -13)
ความเจริญของอิสลามในช่วงแรกเป็นตรงกับสมัยราชวงศ์ถัง (Tang Dynasty: ค.ศ. 618-906) ของจีน ศาสนาอิสลามเกิดขึ้นใน คริสต์ศตวรรษที่ 7 อิสลามเจริญรุ่งเรืองโดยถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่ใหญ่ที่สุดของโลกในช่วงนั้น สามารถขยายทั้งอาณาเขตและเผยแพร่ศานาไปถึงอาฟริกาตอนเหนือ (อาณาจักรโรมันตะวันออก) ตะวันออกกลาง เปอร์เซีย และ สเปนทั้งหมดและปกครองสเปนอยู่นานกว่า 700 ปี (ค.ศ. 700-1452) โดยในปี ค.ศ. 636 ได้โจมตีและยึดได้ ไบเซนไทน์และซีเรียยึดได้เมืองชั้นนำ เช่น แอนติออก (Antioch) ดามัสกัส (Damascus)และกรุงเยรูซาเล็ม (Jerusalem) และได้ใช้ ดามัสกัส เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรอิสลาม และในปี ค.ศ. 637 ก็ทำลายกองทัพอันเกรียงไกรของชาวเปอร์เซียและยึดได้เปอร์เซียทั้งหมดในปี ค.ศ.651 อิสลามกลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งและมีการปกครองที่เป็นอำนาจใหม่ที่ดีเยี่ยมสามารถพิชิตอาณาจักรขนาดใหญ่สองอาณาจักรรวมเข้าเป็นอาณาจักรอิสลามได้คือ อาณาจักรเปอร์เซียและอาณาจักรโรมันตะวันออก จะเห็นได้ว่าอิสลามเกิดมาได้ไม่ถึง 100 ปี ก็สามารถสร้างอาณาจักรได้ยิ่งใหญ่สามารถครอบครองประเทศในแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกกลาง ยุโรปตอนใต้ตั้งแต่สเปน ชิชิลี อิตาลีจนถึงฮังการียกเว้นออสเตรียและรัสเซียซึ่งอยู่ทางยุโรปตะวันตก ออสเตรียจึงกลายเป็นพรหมแดนกั้นระหว่างอาณาจักรอิสลามและยุโรปตะวันตกในขณะนั้น แต่ขณะที่อาณาจักรอิสลามยิ่งใหญ่นั้นยุโรปตะวันตกอยู่ในยุคมืดแล้วกรุงโรมได้แตกไปก่อนแล้วในปี ค.ศ. 476 โดยอานารยชนเผ่าเยอรมันโอเดอร์เอเซอร์ (Odoacer) ซึ่งนับว่าสิ้นสุดจักรวรรดิโรมันและในช่วงปี ค.ศ. 700-1200 ซึ่งนับเป็นช่วงเจริญรุ่งเรืองสุดของอาณาจักรอิสลามได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ “นครแบกแดด (Baghdad) ”ใช้เป็นศูนย์กลางค้าขายและศิลปวิทยาการที่ทรงคุณค่ามากมายเรียกได้ว่าอาณาจักรอิสลามขณะนั้นเป็นศูนย์เชื่อมโยงระหว่างยุโรปตะวันตกเข้ากับตะวันออกสุดคือจีน อินเดียและญี่ปุ่นทั้งทางบกและทางทะเลรวมทั้งเส้นทางสายไหมด้วย
ผู้นำศาสนาอิสลามคือ “มูฮัมมัด” ก็เป็นพ่อค้าและเป็นการค้าขายทางไกลโดยใช้อูฐเป็นพาหนะขนย้ายสิ้นค้า ศาสนาอิสลามจึงเป็นศาสนาที่ส่งเสริมการค้ารวมทั้งการบรรจุไว้ในคัมภีร์กุลาอ่านว่าเงินจากการค้าขายเป็นเงินที่ดีกว่าการทำความผิดอื่นๆเพื่อให้ได้เงินมาดีกว่าปล่อยให้ยากจนโดยไม่ทำอะไรถือเป็นเป็นบาปดังนั้นศาสนาอิสลามจึงไม่มีความขัดแย้งกับการทำธุรกิจการค้าเพราะแม้องค์ศาสดาเองก็ค้าขายคนยุโรปแต่ก่อนไม่รู้จักผ้าไหมจากจีน ผ้าไหมจากจีนและสินค้าเครื่องปั้น ดินเผาที่เรียกว่า “กังไส” ของจีนจึงเป็นสินค้าราคาแพงในยุโรปเพราะจีนมีเทคโนโลยี่เตาเผาความร้อนสูงที่ยุโรปยังไม่มี
การค้าขายของอิสลามมีการค้าขายทั้งทางบกและทางทะเลโดยทางบกผ่านเส้นทางสายไหม จีน ไปถึง ฉางอานหรือซีอานและซินเกียงรวมทั้งในบริเวณรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตะวันออกกลางช่วงนั้นยุโรปยังไม่มีสินค้าอะไรที่น่าสนใจนักสิ้นค้าต่างๆจึงมาจากจีนเป็นส่วนใหญ่คือผ้าไหม และเครื่องเคลือบดินเผาเพื่อแลกกับเงิน (Silver) ของยุโรปการค้าขายทางทะเลผ่านมหาสมุทรอิน เดียซึ่งมีการค้าขายมาก่อนนานแล้วตั้งแต่สมัยโรมันก่อนมีศาสนาอิสลาม เส้นทางทะเลที่มาถึงมหา สมุทรอินเดียมีสองเส้นทางคือผ่านทะเลแดงซึ่งเป็นทะเลที่เชื่อมต่อกับมหาสมุทรอินเดียโดยมีคาบ สมุทรไซนาย (Sinai) คั่นระหว่างทะเลแดงกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน (ปัจจุบันมีการขุดคลองสุเอซ เชื่อมต่อระหว่าง ทะเลแดงและทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยผ่านแม่น้ำไนล์ (Nile river)) อีกเส้นทางหนึ่งคือจากโรมมาลงที่ตะวันออกสุดของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แถวๆ ซีเรีย จอร์แดน มาออกที่อ่าวเปอร์เซีย เพื่ออกมหาสมุทรอินเดีย ประเทศที่สำคัญที่ค้าขายกับอิสลามทางทะเลคืออียิปต์ เพราะจาก อียิปต์ เชื่มต่อไปถึงยุโรปและอาฟริกาและเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่าง 3 ทวีปคือ ยุโรป อาฟริกาและเอ เซียเพราะเหตุนี้อียิปต์จึงเจริญมากและตอนที่อียิปต์เป็นอิสลามก็เป็นศูนย์กลางการค้าขายที่สำคัญ คั่นทางเข้าออกทะเลทั้งหมดรวมทั้งชาวเปอร์เซียซึ่งมีการค้าขายและรับราชการในสมัยอยุธยาด้วย เช่น พวกตระกูลบุนนาค
ในช่วงค.ศ. 1200 – 1300 เป็นช่วงที่มองโกลเรืองอำนาจราชอาณาจักรจีนภายใต้ราชวงศ์หยวน ตกอยู่ใต้ปกครองของ มองโกล ส่วนตะวันตก มองโกล ได้ขายอิทธพลคุมเส้นทางสายไหมจากจีน ไปถึงตะวันตกเกือบถึงกรุงมอสโคของรัสเซียและมองโกลได้สร้างอาณาจักรขึ้นมาอีกหลายอาณา จักรและขยายอิทธิพลเข้ามาในอาณาจักรอิสลามตีได้กรุง “แบกแดด” ของอาณาจักรอิสลาม และ ในทางตะวันออกแล้วมองโกลขยายอิทธิพลไปถึงประเทศเกาหลีและญี่ปุ่นโดยยกกองทัพเรือไปโจมตีญี่ปุ่นถึงสองครั้งคือในปี ค.ศ. 1274 และค.ศ. 1281 แต่ประสบกับพายุ “คามิคาเซ (Kamikaze)” และในการรบทั้งสองครั้ง กุบไลข่าน พ่ายแพ้และเสียหายค่อนข้างยับเยินแต่ไม่สามารถตีญี่ปุ่นได้ ส่วนทางใต้ก็ขยายลงมาถึงอินเดียและพุกามของพม่า
อาณาจักรของอิสลามก็เสื่อมถอยลงหลังจากการรุกรานของ อานารยชนมองโกล ในศตวรรษที่ 13 แต่อิสลามก็ยังคงเจริญอยู่จนถึงประมาณ ค.ศ. 1500 เพียงแต่ไม่ได้เป็นอาณาจักรเดียวแต่แตกเป็นหลายๆอาณาจักร

ยุคความเจริญของจีน (ช่างคริสต์ศตวรรษที่ 11-12)
จีนมีความเจริญที่มีช่วงทับซ้อน (overlap) กับความเจริญของอาณาจักรอิสลามอยู่ในช่วง ค.ศ. 1000- 1110 ที่ได้มีการค้าขายระหว่างอาณาจักรอิสลามและจีน โดยผ่านเส้นทางสายไหมโดยเฉพาะสินค้าจีนที่มีคุณภาพดีผ่านอาณาจักรอิสลามไปยังยุโรปโดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศสซึ่งถือว่าผ้าไหมเป็นของฟุ่มเฟือยมีราคาแพงจึงใช้กันเฉพาะในหมู่คนชั้นสูงเท่านั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งจีนมีการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมมาก่อนประเทศอังกฤษคือมีการปฏิวัติอุตสาหกรรมมาก่อนอังกฤษกว่า 600 ปี กล่าวคือจีนมีการทำอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็ก กล้าตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ้อง (Sung Dynasty ค.ศ. 960 – 1279) ซึ่งจริงๆจีนมีการผลิตมาก่อนพุทธ กาลแล้วในขณะที่ตอนนั้นยุโรปยังใช้โลหะสัมฤทธิ์ (Alloy) และบรอนซ์ (Bronze) ช่วงราชวงศ์ซ้อง ถือได้ว่าเป็นการผลิตเชิงอุตสาหรกรรมในปี ค.ศ. 1064 จีนผลิตเหล็กกล้าได้ถึง 90,000 ตันและ 125,000 ตันในปี ค.ศ.1078 ซึ่งยุโรปผลิตเหล็กกล้าได้ 125,000 ตัน ในปี ค.ศ.1700 คือหลังจีน 600 กว่าปีแต่ถ้านับประเทศอังกฤษประเทศเดียวที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศปฏิวัติอุตสาหกรรมประเทศแรกของยุโรปในปี ค.ศ. 1778 อังกฤษผลิตเหล็กกล้าได้เพียง 76,000 ตันและม่ได้เพียงผลิตมาเพื่อทำอาวุธและเครื่องประดับเท่านั้น ยังนำไปผลิตเป็นเครื่องมือทางการเกษตร เกือกม้า อุปกรณ์ใช้งาน เช่นหม้อ กระทะ สะพาน เป็นต้นซึ่งเหล็กกล้าถือได้ว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังมีการผลิต ผ้าฝ้าย นอกเหนือจากผ้าไหม หัตกรรมและอุตสาหกรรมสิ่งทอมีการใช้กังหันน้ำ เตาเผาอุณหภูมิสูงที่ยุโรปยังทำไม่ได้
นอกจากนี้การคมนาคมขนส่งเพื่อเชื่อมโยงถนนมากมายเข้าด้วยกันและเชื่อมโยงเข้าสู่เมืองหลวงทำให้เกิดการค้าขายและการส่งคนไปประจำตามหัวเมืองต่างๆได้สะดวกที่สำคัญคือการขุดคลองขนาดยาวเชื่อมต่อแม่น้ำสายสำคัญเช่นแม่น้ำแยงซีเข้ากับแม่น้ำเหลืองหรือฮวงโหเพื่อใช้ในการลำเลียงสินค้า เช่น ข้าว ถ่านหิน ทำให้เกิดการตลาดเพื่อรองรับการขนถ่ายสินค้าผ่านการคมนา คมทางเรือ
นอกจากนี้จีนรู้จักก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลี่ยมมาใช้เป็นพลังานมานานกว่า 300 ปี ก่อนคริสต์กาล การใช้ตะเกียงเจ้าพายุในศตวรรษที่ 10 รัฐบาลจีนสมัยราชวงศ์ซ้องมีการพิมพ์ ธนบัตรใช้กว่า 10 ล้านฉบับในช่วงราชวงค์ซ้อง ก่อนหน้าอังกฤษกว่า 700 ปี (ค.ศ. 1797) จีนมีการกลั่นแอลกอฮอล์ในสมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-906) และคิดส่วนประกอบของดินปืนคือกำมะถัน และดินประสิวได้โดยบังเอิญในคริสต์ศตวรรษที่ 3-4 (ราชวงศ์จิ้น ค.ศ. 264 – 420)
ระบบภาษีการค้าแสดงให้เห็นว่าจีนมีระบบการตลาดมานานแล้วและหยุดลงในช่วงการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ในสมัยเหมา เจ๋อตุง ในช่วงราชวงศ์ซ้อง เมืองฉางอาน ของจีนมีประชากรกว่า 10 ล้านคนแล้วขณะที่ ปารีส มีประชากรเพียง 100,000 คนและลอนดอนมีประชากรเพียง 2-3 หมื่นคนจีนจึงมีความเป็นเมืองและมีเมืองจำนวนมากไม่ได้มีแต่ชนบทตามความเข้าใจของชาวยุโรปสมัยนั้นคือมีความเป็นเมืองมาก่อนยุโรป
จีนมีการซื้อขายที่ดินระหว่างประชาชนมากว่าพันปีแล้วโดยรัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวรวมทั้งด้านแรงงานจีนจึงเคยเป็นประเทศเสรีมาก่อนในการค้าขายที่จีนเรียกว่า อู้ เหวย (Wu Wei)[1] ซึ่งตรงกับภาษฝรั่งเศสว่า “Laissez Faire” คือให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติรัฐไม่ควรเข้าไปแทรกแซง ซึ่งก็คือการค้าเสรีตามหลักของ อดัม สมิธ (Adam Smith) ซึ่งสมิธเองก็ยอมรับความเจริญของจีน พ่อค้าจีนมีสิทธิเสรีภาพมากในการค้าขายโดยรัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวมากเหมือนยุโรปสมัยนั้น ซึ่ง หนังสือของ สมิธ เกี่ยวกับตลาดเสรีหรือคัมภีร์ทุนนิยมในปี ค.ศ.1776 “ An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of the Nations” หรือบางที่มักรู้จักกันในชื่อ “The Wealth of the Nations”
ด้านการศึกษาของจีนทำให้มีคนรู้หนังสือมีระบบการศึกษาและให้โอกาสคนทางด้านความรู้ที่ดีและเป็นธรรม เช่นการสอบ “จอหงวน” ซึ่งคนธรรมดาสามัญที่มีความรู้สามารถถูกคัด เลือกเข้ารับราชการด้วยการคัดเลือกที่ยุโรปสมัยนั้นไม่มีเพราะสมัยนั้นยุโรปมีคนรู้หนังสือน้อยมีแต่พระ บาทหลวงหรือชนชั้นสูงที่รู้ภาษาลาตินเพราะยุโรปยังไม่มีการพิมพ์หนังสือขายสิ่งต่างๆเป็นบันทึกจากนักสอนศาสนาเยซูอิดที่เข้าไปในจีน ณ เวลานั้นในช่วงปี ค.ศ. 1100 จีนมีโรงพิมพ์ขนาดใหญ่ที่เมือง ไคฟงและหางโจว เป็นของเอกชนไม่ใช่ของรัฐบาล จีนจึงมีคนรู้หนังสือมากและพูดได้ว่าจีนปกครองโดยคนรู้หนังสือที่เรียกว่า “อภิชน” คือผู้ที่สอบจอหงวนได้ จีนไม่ได้ให้คนธรรมดามาปกครองประเทศ จึงมีคนจีนที่ขยันหมั่นเพียรเรียนหนังสือมาก
การปฏิวัติอุตสาหรกรรมของจีนเกิดขึ้นจากการปฏิวัติทางเกษตรกรรมของจีนมาก่อน เกษตรกรรมของจีนมีประสิทธิภาพสูงและก้าวหน้ากว่าอังกฤษและยุโรปซึ่งอังกฤษมาตามทันในช่วง ศตวรรษที่ 17-18 นี้เอง
การบันทึกความเจริญของจีนส่วนหนึ่งได้จาก มาโค โปโล ชาวเมืองเวนิซในช่วงที่เขาอยู่ในจีนในสมัย กุบไลข่าน หัวหน้ามองโกลที่ปกครองจีนในสมัยราชวงศ์ หยวน ตอนต้นจนทำให้ฝรั่งที่ได้อ่านบันทึกของ มาโค โปโล อยากเดินทางมาจีนจึงเกิดกระแสการเดินทางของชาวตะวันตกที่ต้องการเดินทางมาค้าขายกับจีนและอินเดีย ผ่านทางทะเล เนื่องจากอิสลามขวางทางอยู่และหลังจาก มองโกล เสื่อมอำนาจลงหลัง กุบไลข่านตายและจีนขับไล่มองโกล ออกไปจากจีนได้ทหารมองโกลที่ตกค้างตามเส้นทางสายไหม[2] จึงหากินด้วยการปล้นสะดมและเรียกค่าไถ่สินค้าจากพ่อค้าที่ทำการค้าขายตามเส้นทางสายไหมจึงทำให้พ่อค้าเปลี่ยนเส้นทางค้าขายมาเป็นทางทะเลมากขึ้น
หลังจากแมนจูปกครองจีนมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ตะวันตกเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในตะวัน ออกรวมทั้งจีนด้วยโดยเฉพาะ อังกฤษเข้ามาค้าขายกับจีน แบบจักรวรรดินิยมทำให้รัฐบาลจีนพยา ยามต่อต้านและควบคุมการค้าขายอังกฤษพยายามบีบให้จีนเปิดประเทศค้าขายมากขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1839 – 1842 เกิดสงครามกลางเมืองระหว่างอังกฤษและจีนที่เรียกว่า “สงครามฝิ่น” และจีนเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ทำให้จีนต้องลดฐานะของประเทศลงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนโดยการลงนามในสนธิสัญ ญาสงบศึกที่เรียกว่า สนธิสัญญานานกิง จีนเสียเปรียบอังกฤษในหลายๆเรื่องไม่ว่าเป็นเรื่องภาษี การค้า การยกเลิกกฎระเบียบต่างๆที่สำคัญสุดคือ การยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ และในปี ค.ศ. 1911 ราชวงศ์ชิง ที่ปกครองโดย ชาวแมนจูได้ถูกโค่นอำนาจจากกลุ่มของดร.ซุนยัดเซนและสถาปนาระบบสาธารณะรัฐขึ้นมาแทน นับแต่นั้นมาจีนก็เปลี่ยนมาให้ความสำคัญด้านการแก้ปัญหาการเมืองการปกครองทำให้ด้านหนึ่งของเหรียญคือเศรษฐกิจที่ได้รับความสำคัญรองลงมาเพราะด้านของเหรียญที่เป็นการเมืองของจีนเข้าสู่ระบบสังคมนิยมแบบคอมมิวนิสต์นับได้ว่าสิ้นสุดระบบเศรษฐ กิจแบบตลาดในยุคที่ตะวันออกเคยเจริญกว่าตะวันตกอย่างสมบูรณ์
ยุคความเจริญของอินเดีย
ตะวันตกมักจะมองว่าประเทศอินเดียเป็นประเทศที่ปกครองแบบทรราชและเป็นทรราชตะวัน ออกซึ่งเป็นแนวคิดทางสังคมวิทยาที่สำคัญของตะวันตกในการมองตะวันออก อธิบายว่าที่ตะวัน ออกไม่เจริญหรือเจริญแต่ไม่เป็นสมัยใหม่ก็เพราะตะวันออกมีการปกครองที่เผด็จการ โดยมองว่าตะวันออกไม่สนใจระบบตลาด กดขี่พ่อค้า ขูดรีดพ่อค้า เอกชนไม่มีเอกสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือมีก็น้อยมากมีคนรวยน้อยมองว่าตะวันออกมีศิลป ศีลธรรม ประเพณีและ ปรัชญา ที่ไม่เป็นสมัยใหม่ ตะวัน ตกเรียกการปกครองแบบจีน อินเดีย และ เปอร์เซียว่าเป็นทรราชตะวันออก แต่เมื่อมีการตรวจค้นทางประวัติศาสตร์ของตะวันออกก็พบว่าไม่เป็นความจริง
พบว่าในอินเดียก็ให้ความสำคัญกับการค้าขายของเอกชน เช่น ปรัชญาของเจ้าผู้ครองแคว้นมหาราชชื่อ สิวาจี ที่ว่า “วาณิชเป็นเสมือนอาภรณ์และเครื่องประดับของอาณาจักรนำเกียรติภูมิมาสู่กษัตริย์ผู้ครองนคร พ่อค้าวาณิชเป็นที่มาแห่งความรุ่งเรืองไพบูลย์แห่งราชอาณาจักร ด้วยเหตุนี้เราควรยอมรับนับถือพ่อค้าวาณิชและในตลาดทุนของเรานั้น ควรปกป้องพ่อค้านักธุรกิจขนาดใหญ่เสมอ”
อินเดียภายใต้การปกครองของโมกุล (คริสต์ศตวรรษที่ 14-17) ซึ่งแผ่อาณาจักรไปทางตะวัน ออกกลางด้วยมีแนวคดว่า “ผู้ปกครองต้องปกป้องและสงเสริมพ่อค้า นักลงทุน ตลาด และเส้นทางการค้า เพื่อความเข้มแข็งและรุ่งเรืองของอาณาเขตอยู่เสมอ” คือการที่รัฐร่วมมือกับพ่อค้าโดยเห็นพ่อค้าเป็นพันธมิตร จึงแสดงให้เห็นว่าอินเดียในสมัยโบราณไม่ได้ล้าหลังและไม่ได้เป็นทรราชอย่างที่ตะวันตกคิดและไม่ได้เป็นเผด็จการ จริงๆแล้วรัฐไม่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ มีการแบ่งอำนาจให้กับแค้วน และเมืองมากทีเดียว ทำให้อำนาจรัฐไม่ได้เข้มแข็งมากนัก ผู้ปกครองแคว้นและเมืองมีบทบาทมากในการส่งเสริมพ่อค้าวาณิช รัฐส่วนกลางของอินเดียเกิดขึ้นน้อยมาก ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 จักรวรรดิโมกุลร่ำรวยที่สุดมีพลเมือง 100 ล้านคนและยังดึงดูดชาวต่างประ เทศให้เข้ามาอยู่จำนวนมาก มีการค้าขายกับเอเซียและอาฟริกา ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอที่ทำจากฝ้าย มีการเสียภาษีที่ดินเป็นผลผลิต ทำให้มุสลิมในอินเดียมีวิถีชีวิตที่ฟุ่มเฟือยมาก ในอินเดียมีการจ้างงานที่ต้องจ่ายค่าแรง จ่ายดอกเบี้ยอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญระบบดอกเบี้ยของอินเดียในศตวรรษที่ 16-17 อยู่ในระดับเดียวกันกับอังกฤษและดอกเบี้ยของอินเดียต่ำ แสดงว่าอินเดียมีการออมสูงและในศตวรรษที่ 17 มหาเศรษฐีของอินเดีย อับดุล กาฟู มีรายได้จากธุรกิจมีมูลค่าสูงเท่ากับการค้าของบริษัทอีสท์อินเดียเกือบทั้งบริษัทโดยมีเรือบรรทุกสินค้าประมาณ 20 ลำ แต่ละลำมีขนาดตั้งแต่ 300-800 ตัน และมีเศรษฐี คนอื่นๆของอินเดียอีก
สินค้าของอินเดียที่ขายให้ยุโรปเป็นสินค้าค่อนข้างมีคุณภาพ และถือว่าเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจ เช่น การขายเหล็ก “วู๊ด” ให้พวกอาหรับไปทำเป็นเหล็ก “ดามัสกัส” แล้วนำไปขายยุโรป ซึ่งเหล็ก “วู๊ด” ของอินเดียมีคุณภาพดีกว่าเหล็ก “เซพฟิล” ซึ่งเป็นเหล็กชั้นดีของอังกฤษ อินเดียเป็นชาติที่นำหน้าทางด้านเหล็กกล้าซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหลัก นอกจากนี้อินเดียเป็นประเทศมีผลิตสิ่งทอที่ทำจากฝ้ายได้ดีที่สุดและถูกสุด
นักประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส บราวเดล (Bra duel) ศึกษาเรื่องการเกิดเศรษฐกิจการเกิดระบบโลกใหม่ โดยบอกว่า “ไม่เป็นที่ต้องสงสัยเสียเลยว่า อังกฤษปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้แล้ว อินเดียคืออุตสาหกรรมสิ่งทอค่ายที่สำคัญที่สุดของโลก ต่อมาตำแหน่งนี้ตกเป็นของอังกฤษ”
ยุคความเจริญของญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นได้รับอารยธรรมจากตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 และดำเนินการปิดประเทศในปี ค.ศ. 1639 โดยมีการติดต่อกับ จีนและดัช เท่านั้น ต่อมาสหรัฐอเมริกาส่ง นายพลเรือแมทธิว ซี.เปอรี่ (Commodore Matthew Calbriath Perry ค.ศ. 1794-1854) เดินทางมาญี่ปุ่นจากสหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ.1853 และ บังคับให้ญี่ปุ่นต้องเปิดประเทศในปี ค.ศ.1854
จากการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์พบว่าญี่ปุ่นมีอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ที่เน้นระดับเริ่มต้นมากที่เดียว มีเมืองมีพาณิชยกรรมมากมาย มีบริษัทหลายบริษัทที่มีอายุมากกว่า 100 ปี การเปิดประเทศของญี่ปุ่นเป็นการต่อยอดจากความเจริญเดิมมากกว่าการรับ อารยธรรมตะวันตกสมัยใหม่ที่เดียว
ญี่ปุ่นมีการค้าขายกับอยุธยามาก่อน เช่น การซื้อหนังกวาง เขากวาง ไปทำเกราะอ่อนและยาบำรุงกำลังและส่วนหนึ่งส่งไปขายให้ ฮอลแลนด์ ชี้ให้เห็นว่าความร่ำรวยของกษัตริย์อยุธยาและ รัตนโกสินทร์ มาจากการค้าขาย ไทยเองก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องแต่ตะวันตกมีการพัฒนาที่เร็วกว่า
การพัฒนาของญี่ปุ่นในสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทย และ จักรพรรดิ เมจิ มีลักษณะคล้ายกันแต่ไม่เหมือนกันโดยเฉพาะ การเริ่มต้นใช้รัฐธรรมนูญและมีการเลือกตั้งในสมัยเมจิแต่ไทยยังไม่มีคือไม่ ได้ให้ทั้งรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง แต่ญี่ปุ่นในสมัยนั้นมีสิทธิเลือกตั้งเพียง 2 % เท่านั้นและช่วงนั้นญี่ปุ่นมีประชากร 20 ล้านคน ส่วนไทยมีประชากรเพียง 4 ล้านคนและญี่ปุ่นมีอุตสาหกรรมแล้ว มีพาณิชยกรรม ค้าขาย มีปืนใหญ่ ซึ่งพื้นฐานของญี่ปุ่นในช่วงนั้นสูงกว่าไทยมากถึงแม้ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นจะมีพระมหากษัตริย์และจักรพรรดิที่ทรงพระปรีชาสามารถรวมทั้งอุปนิสัยของประชาชนก็ต่างกันโดยสิ้นเชิง ญี่ปุ่นเป็นชาติที่เคร่งครัดในการปฏิบัติตามผู้นำอย่างมีระเบียบเยี่ยม ไม่ว่าก่อนหรือหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ญี่ปุ่นเป็นชาติที่เจริญได้อย่างก้าวกระโดด
๓. การเปลี่ยนแปลงของระบบโลก
๓.๑ การเปลี่ยนแปลงของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1945) ในยุค สงครามเย็น
(ค.ศ.1945-1989)
หลังสงครามโลกครั้ที่สองโลกถูกแบ่งออกเป็น 3ระบบใหญ่คือ ระบบเสรีประชาธิปไตย (Liberal Democracy) ระบบสังคมนิยม (Socialism) และระบบรัฐเกิดใหม่ (Emerging states) ซึ่งเกิดจากการได้รับอิสรภาพของรัฐ เช่น พม่า ที่เคยอยู่ใต้การปกครองของประเทศจักวรรดินิยม เช่น อังกฤษ ระบบเสรีประชาธิปไตยมีสหรัฐอเมริกาเป็นศูนย์กลาง ส่วนระบบสังคมนิยมมีสหภาพโซเวียตเป็นศูนย์กลางที่สามารถแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจ ความคิดและวัฒนธรรม กับระบบเสรีประชาธิปไตยได้
แม้สงครามโลกที่สองจะเพิ่งยุติลงในปี ค.ศ. 1945 แต่เกิดการแบ่งกลุ่มใหม่ของโลกทำให้ เกิดสงครามในรูปแบบใหม่ขึ้นมาแทนนั่นคือสงครามเย็น (Cold War) เป็นการเผชิญหน้าของประเทศอภิมหาอำนาจของสองระบบใหญ่คือสหรัฐอเมริกาผู้นำฝ่ายโลกเสรีกับสหภาพโซเวียต ผู้นำฝ่ายโลกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ทำให้ผู้นำแต่ละขั้วต่างวางเกมการเมืองเพื่อเอาชนะกันโดยทั้งสองฝ่ายต้องการชัยชนะและเปลี่ยนระบบโลกให้เป็นไปตามผู้ชนะตามทฤษฏีเกมแบบผลลัพธ์เป็นศูนย์ (Zero Sum Game) ของ จอห์น ฟอน นอยมันน์ (John von Neumann) นักเศรษฐ ศาสตร์ชาวอเมริกันเชื้อสายฮังการี สิ่งที่ตามจากสงครามเย็นและทฤษฎีเกมคือการหาพันธมิตรร่วมของทั้งสองฝ่าย การสะสมอาวุธ เช่น นิวเคลียส์ การคุมเข้มพันธมิตรเพื่อไม่ให้เปลี่ยนข้าง ประเทศ ต่างทั้งยุโรปและเอเซียได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์มากขึ้น เช่น ยุโรปตะวันออก จีน เวียต นาม ลาว เป็นต้น
ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศขนาดเล็กก็ไม่สามารถอยู่ได้ตามลำพังในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านรอบๆได้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ เช่น เวียตนาม ลาว ทำให้ไทยต้องเลือกข้างฝ่ายโลกเสรีโดยรัฐบาลสมัยนั้นนำโดย จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ทำข้อตกลงกับสหรัฐอเมริกา ทางด้านการทหารและวิชาการ การตั้งมูลนิธิฟูลไบร์ท รวมทั้งสหรัฐเห็นว่าระบอบการปกครองของไทยซึ่งมีมหากษัตริย์เป็นประมุข จึงส่งเสริมในการสร้างภาพการเทิดทูนระบบกษัตริย์เพื่อเป็นเครื่อง มือต่อต้านคอมมิวนิสต์ด้วย รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายธุรกิจแบบชาตินิยมที่มีรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการในรูปของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นการผูกขาดทางเศรษฐกิจและต่อต้านการลงทุนของต่างชาติและเป็นการสร้างการสะสมทุนในกลุ่มผลประโยชน์และสองกลุ่มใหญ่ในขณะนั้นคือ กลุ่มซอยราชครู ซึ่งมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ผิน ชุณหวรรณและพล.ต.อ เผ่า ศรียานนท์กับกลุ่มของสี่เสาเทเวศน์ ของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภายหลังการปฏิวัติ 20 ตุลาคม 1958 ของจอมพลสฤษดิ์ กลุ่มราชครูก็หมดอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ เศรษฐกิจแบบชาตินิยมและการต่อต้านการลงทุนจากต่างประเทศก็หมดไปด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกาและจอมพลสฤษดิ์ ค่อนข้างราบรื่นมีการตั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและได้รับการส่งเสริมการพัฒนาประเทศเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ การสะสมทุนในสมัยสฤษดิ์ จึงเกิดขึ้นมากและเป็นการสะสมทุนขนาดใหญ่ที่มีหลายธุรกิจจากการที่ใช้ไทยเป็นฐานทัพในการสนับสนุนการสู่รบกับประเทศคอมมิวนิสต์เพื่อนบ้านเป็นช่วงที่ประเทศไทยมีความเจริญทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงจากการสนับสนุนนของสหรัฐ
ก่อนสงครามเย็นสิ้นสุดในปี 1989 สงครามเวียตนามก็สิ้นสุดในปี 1975 เป็นการพ่ายแพ้ของสหรัฐอย่างย่อยยับในช่วงสงครามเย็นสหรัฐฯประกาศถอนทหารออกจากเวียตนามตั้งแต่ ปี 1973-1975 การล่มสลายของสหภาพโซเวียตจากสภาวะเศรษฐกิจ ในปี 1991 ได้เริ่มปฏิรูปทางการเมืองและเศรษฐกิจ ตามนโยบาย เปเรสตรอยกาและกลาสนอสต์ ในปี 1985 ทฤษฎีเกม ที่ทั้งสองขั้วเล่นแบบเกมศูนย์ แต่กลับกลายเป็น Negative Non Zero Sum Game ของ แนส (John Forbes Nash) คือทั้งสองฝ่ายถือว่าพ่ายแพ้ (lose – lose) เนื่องจากการประเมินสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจผิดพลาดทั้งคู่ โดยคิดว่าเป็นผู้ที่สามารถเป็นต่อและคุมเกมได้สงครามเย็นสิ้นสุดในปี ค.ศ.1989
ในช่วงทศวรรษ 1990 หลังสงครามเย็น ความตึงเครียดทางการเมืองและการยุติของสง ครามทางด้านอุดมการณ์ โลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคหลังสงครามเย็น (Post Cold War Era) เป็นโลกแบบอภิมหาอำนาจขั้วเดียวคือสหรัฐอเมริกา เกิดการแข่งขันต่อสู้ทางเศรษฐกิจที่มีความชัดเจน และมีอิทธิพลครอบคุมทั่วโลกภายใต้ชื่อใหม่ว่า Washington Consensus คือ แนวทางเสรีการค้า การเงินและการลงทุน (Liberalization) แนวทางลดการกำกับและควบคุมโดยรัฐบาล (Deregulation) แนวทางถ่ายโอนการผลิตไปสู่ภาคเอกชน (Privatization) และ แนวทางเน้นการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Stabilization) การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเมืองของสหรัฐ อเมริกาแบบมาตรการฝ่ายเดียว (Unilateral) ถ้ามีโอกาสและใช้นโยบายกีดกันทางการค้าโดยอาศัยองค์กรอิสระด้านสิทธิมนุษยชน การเมือง แรงงาน สภาพแวดล้อมโลก
โลกหลังสงครามเย็นก้าวสู่ระบบทุนนิยม (capitalism) แบบโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม รวมทั้งการกลับไปสู่อดีต ท้องถิ่นนิยม วัฒนธรรมนิยม เช่นในเมืองไทยมีกาแฟโบราณ เป็นการย้อนแย้งกระแสโลกาภิวัฒน์ ของกาแฟสตราบัค การต่อต้านทุนนิยมด้วยการเน้นด้านสิทธิมนุษยชน (Human Right) มากขึ้นควบคุมการเลยเถิดหรือมากเกินไปของทุนนิยม ด้วยการให้ความสำคัญด้านสภาพแวดล้อม การดูแลโลกร้อน ธรมมาภิบาล (Good Governance) เพื่อความโปร่งใสของการบริหารจัดการ โลกาภิวัตร เองก็ก่อให้เกิดกระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ เกิดเป็นวัฒนธรรมนิยม เช่น การต่อต้านตลาดค้าปลีกขนาดใหญ่เช่น Tesco Lotus, 7 Eleven สร้างความพอเพียงเกิดเป็นการย้อนแย้งกับกระแสโลก (Global Paradox)
๓.๒ การผงาดขึ้นมาอีกครั้งของตะวันออกจากการนำของจีน
หลังจากที่จีนเคยรุ่งเรื่องมาก่อนตะวันตกในช่วง ค.ศ. 1100 และเริ่มเสื่อมถอยลงในยุคล่าอาณานิคมของตะวันตกหลังปี ค.ศ. 1800 เป็นต้นมา อิทธิพลของตะวันตกได้ขยายเข้ามาในจีนมากขึ้นโดยการยึดครองของอังกฤษหลังจากที่จีนแพ้สงครามฝิ่นแก่อังกฤษในปีช่วงปี ค.ศ. 1839-1842 ในสมัยราชวงศ์ ชิง ทำให้จีนต้องลดฐานะลง จีนได้ทำการปฏิรูปการปกครองแต่ล้มเหลว สุดท้าย ดร.ซุนยัดเซน หัวหน้าสมาคมถงเหมยฮุ่ย (พรรคก๊กมินตั๋ง) ยึดอำนาจราชวงศ์ ชิง และเปลี่ยนการปกครองจีนเป็นระบบสาธารณรัฐ ในวันที่ 12กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1912 จักรพรรดิ ผู่ยี ทรงสละราชสมบัติ ราชวงศ์ ชิง สิ้นสุดลงและถือเป็นการสิ้นสุดการปกครองระบบจักรวรรดิของจีน
หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1945 ประชาชนเริ่มเสื่อมความนิยมในพรรคก๊กมินตั๋งและให้ความสนใจพรรคคอมมิวนิสต์ที่นำโดย เหมา เจ๋อตุง (Mao Tse-tung ค.ศ.1893-1976) และเหมาสามารถยึดรัฐบาลกลางได้เมื่อ 1 ตุลาคม ค.ศ.1949 และพรรคคอมมิวนิสต์จัดตั้งรัฐบาลสาธารณะรัฐประชาชนจีน ปกครองจีน ส่วนพรรคก๊กมินตั๋งโดยการนำของนายพล เจียงไคเช็ค ได้ลี้ภัยไปตั้งรัฐบาลจีนคณะชาติหรือสาธารณะรัฐจีน(Nationalist หรือ Republic of China) ที่เกาะไต้หวัน
ภายหลังการอสัญกรรมของ ประธานเหมา เจ๋อตุง เมื่อ 9-กันยายน 1976 และการสิ้นสุดการปฏิวัติวัฒนธรรมและคดีข้อกล่าวหา ของ เติ้ง เสี่ยวผิง ได้รับการรื้อฟื้นใหม่และชำระเป็นผู้บริสุทธิ์ ในปี 1979 หลัง “ฮว่ากวั๋อฟง” ประธานพรรคถูกลดทอนบทบาทลง จุดเปลี่ยนของจีนได้เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศครั้งใหญ่ตามหลักการพื้นฐาน 4 ประการของเติ้ง เสี่ยวผิง เพื่อรองรับนโยบาย “สี่ทันสมัย” ซึ่งประกอบด้วย นโยบายการพัฒนาการเกษตร อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่และการทหาร เป็นการนำจีนกลับมาผงาดทางเศรษฐกิจอีกครั้งหนึ่ง โดยในช่วงแรกของการพัฒนาเศรษฐกิจ จีนได้เปิดเขตเศษฐกิจพิเศษ(Special Economic Zones-SEZ’s) การลงทุนจากต่างประเทศสส่วนใหญ่ในช่วงแรกได้รับการสนับสนุนจาก ”ทุนจีนโพ้นทะเล” เช่น เขตเศรษฐกิจพิเศษ “เซินเจิ้น” และ “จูไห่” ส่วนใหญ่เป็นทุนจีนโพ้นทะเลกวางตุ้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษ “เซียะเหมิน” ส่วนใหญ่เป็นทุนจีนโพ้นทะเลฮกเกี้ยน เขตเศรษฐกิจพิเศษ “ซัวเถา หรือ ซันโถ” ส่วนใหญ่เป็นทุนจีนโพ้นทะเลแต้จิ๋ว ส่วนเกาะ “ไห่หนาน” หรือ “ไหหลำ” ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของทุนจีนโพ้นทะเลไหลหลำ หลังจากนั้นจีนได้เปิดเมืองตามชายฝั่งทะเลอีกมากต่อการลงทุนจากต่างประเทศ
การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนแบบก้าวกระโดด เกิดขึ้นเมื่อ จีนได้รับเข้าเป็นสมาชิก WTO เมื่อ11 ธันวาคม 2001 เพราะต่างชาติมองว่าจีนเป็นตลาดขนาดยักษ์และมีระเบียบทางเศรษฐกิจเป็นสากลตามกรอบของ WTO ในปี 2006 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในจีนมีมูลค่าถึง 69,500-ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจีนมีแรงจูงใจด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax)ในอัตราไม่เกิน 15 % สำหรับนักธุรกิจ ซึ่งต่ำกว่าอัตราภาษีของนักธุรกิจท้องถิ่นที่สูงถึง 33% การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนค่อนข้างร้อนแรง ได้ดุลการค้าและมีเงินทุนสำรองต่างประเทศ (Foreign reserves) สูงถึง140,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเข้าเป็นสมาชิก WTO และ ในปี 2006 จีนมีเงินทุนสำรอง ต่าง ประเทศมากกว่า 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (USD Trillion) ซึ่งจีนเป็นประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดในโลก ขณะเดียวกันการมีเงินทุนต่างประเทศเข้ามาในจีนมากย่อมมีแรงกดดันให้ เงินหยวน ของจีนแข็งค่าขึ้น ตามหลักอุปสงค์ อุปทาน ซึ่งจะกระทบต่อการส่งออกของจีนซึ่งเป็นเศรษฐกิจแบบผลิต (Productive Economy) จีนหลังจากเปิดประเทศสู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด (Market Economy) จีนได้มีการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงระบบภาคการเงิน มีการระดมเงินออมจากประชาชนจีนและจีนโพ้นทะเล มีการปรับปรุงและออกพ.ร.บ. การเงินและธนาคารเพื่อสนับสนุนภาคการเงิน ธนาคาร และการลงทุนแต่ในระดับมหภาคจีนยังเปิดภาคการเงินของตนต่อต่างประเทศไม่มาก นอกจากนี้จีนยังแทรกแซงควบคุมการเงินค่อนข้างมาก จีนยังไม่ยอมเปิดเสรีบัญชีทุน (Capital account) เพื่อให้มีการแลก เปลี่ยนเงินหยวนกับเงินตราต่างประเทศอย่างเสรี จะยอมให้มีการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเพื่อกิจการที่เกี่ยวข้องกับดุลบัญชีเดินสะพัด (Current account) นอกจากการควบคุมตลาดการเงิน (Money market) จีนยังควบคุมตลาดทุน (Capital market) ด้วย โดยอนุญาตต่างประเทศเข้าถึงตลาดทุน ที่เป็นตลาดหลักทรัพย์ได้เฉพาะตลาดหุ้นพิเศษ “B” เท่านั้น โดยยังไม่เปิดให้ต่างชาติเข้าลงทุนในตลาด “A”ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามากอย่างไรก็ตามเนื่องจากจีนเข้าเป็นสมาชิก WTO จีนต้องเตรียม พร้อมทาง ภาค การเงิน (Financial sector) ภายใต้แรงกดดันของสภวะโลกาภิวัตน์ (Globalization)
จะเห็นว่าจีนได้อาศัยบทเรียนในอดีตของประเทศต่างๆในการเปิดประเทศแบบระมัดระวังโดยเฉพาะภาคการเงินและมีการใช้เงินทุนสำรองต่างประเทศในการลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในต่าง ประเทศโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา การตั้ง SWF (Sovereign Wealth Fund) เพื่อกองทุนในการลงทุนในต่างประเทศและพยายามสร้างแบรนด์สินค้าของตัวเอง สหรัฐอเมริกาไม่สามารถกดดันค่าเงินหยวนของจีนได้เหมือนที่เคยทำกับ ญี่ปุ่นและเกาหลี เมื่อ กันยายน 1985 จากการประชุม “พลาซ่าแอ็กคอร์ด” ที่มีการกระตุ้นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโลกขณะนั้น – สหรัฐฯ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันนี และ ญี่ปุ่น- แทรกแซงเงินตราของตนเพื่อกระตุ้นให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง เนื่องจากการขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ จำนวนมหาศาล ผลกระทบตกกับญี่ปุ่นและเกาหลีในปีถัดมาประสบภาวะขาดดุลอย่างมากมายจากการแข็งค่าของเงิน เยนแล เงิน วอน แต่สำหรับจีนมีความระมัดระวังภาคการเงินโดยยังไม่ยอมเปิดเสรีทั้งหมด
จีนเตรียมผงาดขึ้นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจโลกใหญ่เป็นอันดับสามของโลกแซงเยอรมันหลังการประสบผลสำเร็จจากการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2008 ในขณะที่จีนโชคดีที่ได้กุศลจากการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกมาขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจของจีนยิ่งโตแบบก้าวกระโดด ก็ต้องพบกับผลกระทบทางวิกฤต ซับไพร์ม (Subprime) ของสหรัฐอเมริกาที่ลามไปทั่วยุโรปและเอเซีย ดึงให้ เศรษฐกิจโลกต้องชลอหรือถดถอยลงไปไม่น้อยกว่า สาม ปี การเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนที่เคยเป็นตัวเลข 2 หลักเหมือนที่ผ่านมาคงเป็นไปไม่ได้ จีนคงต้องพยายามรักษาการเติบโตไม่ให้ต่ำกว่า 7% โดยเฉพาะจีนอาจจะประสบปัญหาในสองไตรมาสแรกของปี 2009 `เป็นผลเนื่องมาจากการหดตัวทางเศรษฐกิจของ สหรัฐ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของจีน รวมทั้ง ยุโรป และ ญี่ปุ่น

๔. เศรษฐกิจ การเงิน การคลัง และนโยบายของไทย
สถานะการทางเศรษฐกิจของไทย นโยบายการเงิน การคลังของไทยเป็นสิ่งที่เราได้ยินได้ฟังอยู่ตลอดเวลา มาถึงจุดที่เป็นอยู่ปัจจุบันได้อย่างไร?และจะไปต่อได้อย่างไรในสภาวะของการเมืองและเศรษฐกิจปัจจุบัน? คงเป็นคำถามพื้นฐานที่ทุกคนอยากรู้คำตอบ เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในระยะที่โลกตกอยู่ในวิกฤตเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ (Globalization) เศรษฐกิจและการเมืองเป็นสองด้านของเหรียญ ที่แยกจากกันไม่ได้ ปัญหาการเมืองนำไปสู่ปัญหาทางเศรษฐ กิจ เช่นการชุมนุมยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบินที่ผ่านมาของฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ก็สร้างผลเสีย หายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเมืองเป็นที่มาของนโยบายทางเศรษฐกิจ การตัดสินใจทางนโยบาย (Policy decision making) และจากนโยบายไปสู่การปฏิบัติ (From Policy to Actions) เศรษฐกิจเองก็นำไปสู่การเมือง เช่น ราคาน้ำมันซึ่งเป็นสาเหตุหลักของเงินเฟ้อและต้นทุนทางเศรษฐกิจนำไปสู่การผลักดันด้านแรงงาน ความเดือดร้อนของผู้ประกอบการและความเป็นอยู่ของประชาชนรากหญ้า ที่ส่งผลต่อการเมืองและรัฐบาล
เบื้องต้นในการทำความเข้าใจเศรษฐกิจของไทยนโยบายการเงิน การคลัง คงหนีไม่พ้นการทำความเข้าใจเรื่อง ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP- Gross Domestic Product) การบริโภคหรือการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในประเทศ (Consumption) การลงทุนในประเทศของภาคเอกชน (Private investment) การหารายได้ของรัฐบาล (Revenue) การใช้จ่ายของภาครัฐบาล (Expenditure) การก่อหนี้สาธารณะ (Public debt) การส่งออกและการนำเข้าสินค้า (Import & Export) เพราะเป็นสิ่งที่เราได้ยินและได้อ่านจากข่าวสารประจำวัน สิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปอย่างไร? ปัญหาวิกฤตด้านสินเชื่อด้านที่อยู่อาศัยหรือซับไพร์ม (Sub prime) ที่เกิดในอเมริกามีผลกระทบกับไทยอย่างไรและผลข้างเคียงกับธุรกิจอื่นๆได้อย่างไร ทำไมคนถึงต้องตกงาน หลายบริษัทต้องเลิกกิจการ หลายบริษัทต้องขอเข้าสู่การคุ้มครองล้มละลาย (Chapter 11) ? ในโลกยุคโลกาภิวัตรและเราคงต้องทำความเข้าใจถึงลำดับของการพัฒนาเศรษฐกิจ (Sequences of economic development) ของแต่ละประเทศเพื่อทราบปัญหาของมัน เช่น ลำดับการพัฒนาเศรษฐกิจของสหรัฐในยุคการเก็งกำไร (Speculation economy) และจีนที่กำลังเติบโตจากลำดับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบผลิต (Production economy) และกำลังก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจบริการ (Service –based economy) นอกจากนี้ในกระแสโลกภิวัตรประเทศไทยก็ต้องเข้าใจสาเหตุหลักของการพัฒนาของโลก (Major causes of global development) เช่น ปัจจัยจีน (China factor) ประเด็นอินเดีย (India issue) กรณีรัซเสีย (Russia Subject) หัวข้อสนทนาเวียตนาม (Vietnam topic) หรือ เรื่องราวข่าวสารของบราซิล(Brazil item) ว่ามีผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเมืองของประเทศไทยอย่างไร? อะไรคือพื้นที่ทางธุรกิจซึ่ง สหรัฐอเมริกาและจีนแข่งขันและมีข้อขัดแย้งกันอยู่ เช่น ด้าน พลังงาน ภาคการเงิน การวิจัยและพัฒนา (R&D) การสร้างแบรนด์สินค้า ด้านภาคธุกิจบริการ? การพัฒนการทุนนิยมโลกของจีนที่รัฐบาลสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง (State backed capitalism) กับ ของสหรัฐอเมริกาที่นำโดยเอกชน (Private- led capitalism) ซึ่งนำไปสู่การเมืองโลกที่ไม่สมดุลทางเศรษฐกิจและสหรัฐจะกลายเป็นทุนนิยมที่มีการแทรกแซงทางการเมืองหรือต้องเข้าใจความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในเรื่องวิจัยและพัฒนาการสร้างแบรนด์ ด้านเครือข่าย และด้านความมั่นคงไม่ควรมองข้ามรูปแบบเศรษฐกิจของสิงคโปร์ที่เป็นประเทศจิ๋ว แต่แจ๋ว สุดท้ายเมื่อกลับมามองดูประเทศไทยว่าอะไรเป็นข้อจำกัดของประเทศไทยในการลงทุนในประเทศจีนเพราะเราเชื่อว่า จีนและอินเดีย เอเซีย จะเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ในปัจจุบันและ อนาคตส่วนยุโรปและอเมริกาเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ยิ่งใหญ่ในปัจจุบันและอดีตด้วยความเชื่อว่า เป็นยุคที่ตะวันออกจะกลับมาผงาดเหนือตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง
การวิเคราะห์เศรษฐกิจคงต้องอาศัยตัวชี้วัดที่สำคัญๆ เช่น ตัวชี้วัดเศรษฐกิจมหภาค (Macro economic indicator) หรือเศรษฐกิจของระดับประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ภาวะเงินฝืด (Deflation) การนำเข้าและส่งออกสินค้า เป็นต้นตัวชี้วัดเศรษฐกิจจุลภาค (Micro economic indicator) เช่น ต้นทุนของบริษัทในการลงทุน ตัวชี้วัดต้นทุนรวม[3] (Total cost) ของธุรกิจที่ประกอบด้วยต้นทุนคงที่ (Fixed cost) และต้นทุนแปรผัน (Variable cost) เพื่อเป็นตัวชี้ว่าเศรษฐกิจจุลภาคในช่วงเวลานั้นๆกำลังการผลิต (Capacity) อยู่ที่จุดไหนจำเป็นต้องขยาย การผลิตหรือไม่ อย่างไร รวมทั้งผลกระทบที่เกิดจาก เศรษฐกิจมหภาค เช่น ราคาน้ำมัน แรงงาน ค่าของเงินบาท ซึ่งเป็นปัจจัยต่อการ ลงทุนด้านเครื่องจักรกล การขยายโรงงาน การจ้างงาน ของเศรษฐกิจจุลภาค ซึ่งจะขยายความเข้าใจในหัวข้อต่อไป
สิ่งแรกที่เป็นพื้นฐานที่ต้องเข้าใจคือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP: Gross Domestic Product เพื่อให้เข้าใจง่ายการเข้าใจ GDP คือรายได้ทั้งหมดที่เกิดในประเทศไทย คือใช้ พื้นที่ประเทศไทยเป็นตัวตั้งในการพิจารณา (Made in Thailand) โดยไม่จำกัดสัญชาติ เช่น การลงทุนของเอกชนต่างชาติที่ก่อให้เกิดรายได้ขึ้นในระเทศไทยซึ่งต่างจาก ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ GNP: Gross National Product ซึ่งเป็นรายได้ที่เกิดจากคนไทยแม้จะอยู่ต่างประเทศ ให้เอาคนไทยเป็นตัวตั้ง ในการพิจารณา (Made by Thai) เช่น ทำธุรกิจร้านอาหารใน ลอนดอลและส่งเงินกลับมาประเทศแรงงานไทยในต่างประเทศเป็นต้นที่สำคัญต่อธุรกิจมหภาคในการพิจารณาเราจะใช้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือ GDP เพราะมีขนาดใหญ่กว่า GNP และมีนัยสำคัญทางทิศทางเศรษฐกิจของไทย เราสามารถ พิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศหนึ่งๆได้จาก GDP เพราะ GDP จะเพิ่มขึ้นหรือลดลง เป็นภาพใหญ่ของเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ เพราะภายใน GDP มีองค์ประกอบที่สำคัญทางเศรษฐกิจคือ GDP เกิดจากองค์ประกอบของ การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนในประเทศนั้นๆ (Consumption) การลงทุนของภาคเอกชน (Private investment) การหาเงินและการใช้จ่ายภาครัฐบาล (Government revenue and expenditure) และ ผลลัพธ์ของการส่งออกและนำเข้าสินค้า (Import & Export) เขียนเป็นสมการง่ายๆ คือ
GDP = C + I +G + (X-M)
สำหรับ การพิจารณา GDP ของประเทศไทย
GDP: คือผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไทย
C: มูลค่าการบริโภคการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศไทย
I: มูลค่าการลงทุนของภาคเอกชนภายในประเทศไทย
G: มูลค่าการหาเงิน และ ค่าใช้จ่ายภาครัฐบาลไทย
X-M: มูลค่าของผลลัพธ์ ของ การส่งอออกและนำสินค้าเข้าประเทศไทยโดย X คือ มูลค่าการส่งสินค้าออกนอกประเทศไทยและ M คือมูลค่าการนำสินค้าเข้าประเทศไทย
ทำไมเราต้องเรียนรู้หรือทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ผลลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ? ประโยชน์ ของ GDP นำไปสู่การวางแผนงานด้านต่างๆ ของแต่ละภาคส่วนของประเทศ คือ
- การวางแผนการผลิต (Production planning)
- การวางแผนการสำรองสินค้าและวัตถุดิบ (Stock planning)
- การวางแผนงานการตลาด (Marketing planning)
- การวางแผนด้านการเงิน (Financial planning)
- การวางแผนด้าน นวัตกรรม (Innovation planning)
โดยพิจารณาจากองค์ประกอบทางวัฒนธรรม (Culture factor) การเมือง (Political) สังคม (Social) และนโยบาย ทั้งทางเศรษฐกิจและไม่ใช่เศรษฐกิจ (Economic & non- economic policy) และเราต้องเข้าใจถึงลำดับขั้นตอนของการพัฒนาการทางเศรษฐกิจคือ
1. เศรษฐกิจแบบเก็บรวมรวบแล้วส่งขาย เช่น ในสมัยโบราณ การเก็บของป่า หนังสัตว์ หรือ การส่งออกน้ำมันดิบ วัตถุดิบ ทอง อัญมณี ส่งขาย เพื่อสร้างเศรษฐกิจ ที่เรียกว่า Collection economy เช่น การส่งออกก๊าซ ธรรมชาติ และ อัญมณี ของพม่า
2. เศรษฐกิจแบบผลิตแล้วส่งขายเพื่อสร้างเศรษฐกิจ เช่น จีน ขณะนี้ถือเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลก เนื่องจากการได้เปรียบในด้านต้นทุนและแรงงานในการผลิต เป็นเศรษฐกิจที่พัฒนาขึ้นมาจาก Collection economy เป็น Production economy
3. เศรษฐกิจที่อิงกับภาคบริการ เช่น ด้านการเงินและไอที ซึ่งเป็นการพัฒนาการจากเศรษฐกิจแบบผลิต เพราะต้นทุนด้านแรงงานที่สูงขึ้น เช่น เศรษฐกิจในยุโรป หสรัฐอเมริกา ฮ่องกง สิงคโปร์ ไทยเป็นต้น ซึ่งประเทศไทย จีน เป็นการผสมผสานของ production economy และ service – based economy ซึ่งก็ขึ้นอยู่ว่ามีน้ำหนักอยู่ที่เศรษฐกิจไหน ตามค่าแรงงาน และ ความได้เปรียบทางการตลาดและองค์ความรู้ เช่น ธุรกิจ onlineแบบreal time ต.ย. การให้บริการ Call Center และข้อมูลคนไข้ ของ สหรัฐและ ยุโรป ที่ให้บริการแบบ online และ real time แต่การให้บริการหรือการดำเนินงานอยู่ในอินเดีย โดยผ่านเทคโนโลยี่ไอที ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เนต รวมทั้งเทคโนโลยี่การออกแบบเครื่องบินโดยสาร แอร์บัสและโบอิ้ง ที่ลดต้นทุน สามารถให้วิศวกรรัสเซียออกแบบผ่านระบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
4. เศรษฐกิจแบบเก็งกำไร ซึ่งเป็นเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาการผ่านเศรษฐกิจแบบ การผลิต และภาคบริการมาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา บางประเทศในยุโรป เป็นส่วนใหญ่และบางประเทศในเอเซีย เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง เป็นการเก็งกำไรจากราคาสินค้าในอนาคต เช่น ราคาน้ำมัน พืชผล อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบันอย่างมาก เช่น การซื้อขายสินค้าล่วงหน้า (Commodity) การซื้อขายอนุพันธ์ (derivative) ตลาดหลักทรัพย์ วาณิชธนกิจ ต่างๆ ซึ่งเราถือเป็นพัฒนการทางเศรษฐกิจ แบบ specuration economy ซึ่ง ถ้าเลยเถิดไป ก็กลาย เป็น Casino economy ซึ่งไม่ได้สร้างมูลค่าหรือคุณค่าที่แม้จริงทางเศรษฐศาสตร์ แต่เป็นการสร้างฟองสบู่ในทางเศรษฐกิจโลกและรอวันที่ฟองสบู่แตก ดังที่เกิดเป็นปัญหาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันหรือปัญหา ซับไพร์มของสหรัฐ ก็เนื่องมาจาก การเลยเถิดของ Specuration economy ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปถึงสาเหตุและผลกระทบต่อประเทศต่างๆทั่วโลกและประเทศไทยที่เป็น ผลของโรคระบาด (Contagion effects) ที่ระบาดจากทวีปสู่ทวีป และจากประเทศสู่ประเทศ
ก่อนที่จะดูภาพรวม และ การวิเคราะห์ เศรษฐกิจของประเทศไทย ในยุคโลกาภิวัฒน์ เราต้องเข้าใจภาพรวมของเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีนและอินเดีย ซึ่งสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP สูงที่สุดในโลกถึง 32% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก ในขณะที่ GDP ญี่ปุ่นเท่ากับ 11% จีน 6% และอินเดีย 2% ในปี ค.ศ. 2006[4] และ GDPของ สหรัฐฯลดลง เหลือ 30.96 % ในปี 2007 ในขณะที่ GDP ของ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย เป็น 7.8% , 6% และ 2% ตามลำดับ จะเห็นว่าอภิมหาอำนาจอย่าง สหรัฐฯ และมหาอำนาจอย่าง ญี่ปุ่น เริ่มมีปัญหาเศรษฐกิจชลอตัวถึงถดถอย สาเหตุของมันเกิดจากอะไร ? คงต้องวิเคราะห์ต่อไป
การวิเคระห์เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาก็ เพื่อโยงหาความสัมพันธ์และผลกระทบแบบโลกาภิวัตร ต่อเศรษฐกิจของ ทวีปยุโรป ทวีปเอเซีย และต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า เศรษฐกิจของสหรัฐฯได้พัฒนามาถึงเศรษฐกิจแบบเก็งกำไร (Specuration Economy) ทำไมต้องเก็งกำไร? ก็เพราะมันมีช่องว่างทางการตลาดที่เปิดให้เกิดการเก็งกำไรในระบบการค้าแบบเสรี ขอแยกการวิเคราะห์ วิกฤตทางการเงินของสหรัฐก่อนเกิดปัญหา ซับไพร์ม ดังต่อไปนี้คือ
สาเหตุหลักๆ
การขาดระเบียบทางการเงิน (Financial deregulation)
นโยบายการผ่อนปรนเศรษฐกิจมหภาค (Expansionary macro economic policy) หลังปี ค.ศ. 2001 ทั้งนโยบายการเงิน (Monetary policy) และ นโยบายการคลัง (Fiscal policy) ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของ อุปทาน เงิน ดอลลาร์สหรัฐฯ
การพัฒนา สินค้าทางการเงินใหม่ๆ ภายใต้โลกาภิวัตรทางการเงินที่รวดเร็ว (Development of New Financial Products Under Speedy Financial Globalization) เช่น ตราสารอนุพันธ์ (Derivative) ดัชนี (Index) CDS:Credit Default SWAPs เป็นต้น
ผลจากการที่จีนเข้าเป็นสมาชิก WTO ในปี 2001 ทำให้จีน
- ขยายการลงทุน ( Investment expansion)
- เพิ่มการนำเข้า (Import increase)
- เปิดการส่งออก (Export rising)
ผลที่ตามมา (Consequences) ที่เรียกว่า “5 Over” หรือ การเลยเถิด 5 ประการคือ
การกู้ยืม ที่เลยเถิด
การใช้จ่าย ที่เลยเถิด
การลงทุน เลยเถิด
การเก็งกำไร ที่เลยเถิด และ
มูลค่าสินทรัพย์ เฟ้อ (พองขึ้น) จนเลยเถิด
ผลเหล่านี้นำไปสู่การเติบโตอย่างรวดเร็วของฟองสบู่จากการเก็งกำไรที่เกินปรกติ (Hyper speculative bubble Boom) และเกิดการแตกของฟองสบู่จากการเก็งกำไรเกินไป (Super speculative bubble burst) ตามมาและเกิด เป็น “โดมิโน เอฟเฟ็ค: Domino Effects” จากสถาบันการเงินหนึ่งไปยังอีกสถาบันการเงินหนึ่งและภาคธุรกิจหนึ่งไปยังอีกภาคธุรกิจหนึ่ง จนกลายเป็นวิกฤตโรคระบาด (Contagion effects) จาก ทวีปหนึ่งสู่อีกทวีปหนึ่งจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่ง
หลักฐานของราคาสินทรัพย์ที่ เฟ้อ (สูงขึ้น) ในช่วงปี 2001 - 2006 คือ
ราคาน้ำมันสูงขึ้น 500 – 600 %
ราคาทองเพิ่มขึ้น 500 – 600 %
ราคาสินค้าพื้นฐาน เพิ่มขึ้น 300 – 400 %
สิทรัพย์ ของ กองทุนรวม (Mutual Funds) เพิ่มขึ้น 300 – 400 %
ราคา อสังหาริมทรัพย์ เพิ่มขึ้น 100 – 200 %
ความล้มเหลวทางการเงิน (Financial Melt Down) เป็นผลมาจาก
มูลค่า ทรัพย์สิน ลดลงอย่างต่อเนื่อง (Property deflated value)
มูลค่า กองทุน บำนาญ ลดลงอย่างต่อเนื่อง ( Pension- Fund deflated value)
ภาคการเงิน ต่อไปนี้ ล้มเหลว
- ตราสารอนุพันธ์
- เครื่องมือการบริหารจัดการความเสี่ยง
- ราคา สัญญาซื้อขายสินค้าล่วงหน้า เช่น พลังงาน สินค้าพื้นฐานอื่นๆ
- จาก ระบบความเชื่อถือ (เครดิต) นำไปสู่ระบบ ขาดความเชื่อถือ (เงินสด)
- จาก ธนาคารเพื่อการลงทุน ไปสู่ ธนาคารพาณิชย์
- การลดลงของ อัตรา หนี้ต่อทุน (Debt / Equity Ratio)
เมื่อพิจารณาดูโครงสร้างทางเศรษฐกิจของสหรัฐ จะพบว่ามีลักษณะเป็น ปิรามิด กลับหัวคือ

ผลกระทบของ วิกฤตการเงินสหรัฐ ต่อ เอเซีย
1. ภาคการเงิน (Financial Sector)
2. ภาคธุรกิจจริง (Real Sector)
3. ประเทศ และ พื้นที่เศรษฐกิจ ในเอเซีย ที่กระทบหนัก คือ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง เพราะประเทศเหล่านี้ ลงทุนสูงในจีนและ ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ที่กล่าวมาทำให้พอทราบถึงโครงสร้าง การพัฒนาการทางเศรษฐกิจและเศรษฐกิจแบบเก็งกำไรของสหรัฐฯ สาเหตุและผลที่เกิดจากวิกฤตการเงินและผลกระทบที่มีต่อประเทศในภูมิภาคเอเซีย จากวิกฤตการเงินของสหรัฐอเมริกาถ้าจะวิเคราะห์ถึงต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของปัญหาวิกฤตการเงินที่เป็นปัญหาใหญ่สุดของสหรัฐนั้นถือได้ว่าต้นน้ำมาจากปัญหาการปล่อยสินเชื่อด้านที่อยู่อาศัยแก่ลูกค้าด้อยคุณภาพที่เราเรียกว่า ซับไพร์ม (Sub - prime) คำว่า “ซับไพร์ม” เป็นเพียงคำวิเศษณ์ ที่แปลว่าคุณภาพเป็นรอง ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปขยายคำนามอะไร คำว่า Sub มีความหมายว่า “ต่ำกว่า” ส่วน Prime ในทางการเงินธนาคารคือ Prime rate – “ดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี” ดังนั้น Sub - prime loan จึงเป็น “เงินกู้ที่สถาบันการเงินปล่อยกู้แก่ผู้กู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่มักถูกปฏิเสธการให้กู้จากสถาบันการเงินหลัก” ดังนั้น ซับไพร์ม เป็นการแบ่งชั้นของลูกค้าและเครดิต โดยธนาคารสินเชื่อหรือธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐ ลูกค้าชั้นซับไพร์มจึงเป็นลูกค้าที่มีระดับต่ำกว่าและมีเงื่อนไขด้อยกว่า ลูกค้าชั้น ไพร์ม เช่น อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า เงื่อนไขวงเงินที่ผ่อนชำระที่เข้มงวดกว่าดังจะเห็นได้ว่ารายได้ต่อหัวของประชากรสหรัฐเฉลี่ยประมาณ 40,000 ดอลลาร์ต่อปีกลุ่มลูกค้าซับไพร์มของสหรัฐฯ มีรายได้ต่อหัวเฉลี่ยเพียงประมาณ 13,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี ซึ่งมีจำนวนถึง 20% บริษัทสินเชื่อด้านอสังหารมทรัพย์ขนาดใหญ่ 2 บริษัทของสหรัฐคือแฟนนี่ เม (Fanni Mae) และเฟรดดี้ แมก (Freddie Mac) ได้ปล่อยสินเชื่อซับไพร์มและประสบการณ์ขาดทุนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2551 สูงกว่าที่นักการเงินวิเคราะห์คาดการไว้ถึง 3 เท่าทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องอัดฉีดเงินทุนเพื่อซื้อหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock)ของบริษัททั้งสอง เสมือนการโอนบริษัททั้งสองเป็นของรัฐ และขจัดผู้ถือหุ้นสามัญที่อาจสร้างความเสียหายให้กับผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิและผู้ถือครองตราสารที่มีมูลค่าถึง 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯและส่งผลให้หนี้สาธารณะของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ของยอดหนี้สาธารณะปัจจุบันจึงถือว่าบริษัททั้งสองเป็นผู้รับความเสี่ยงจากสินเชื่อซับไพร์ม แต่เนื่องจากเศรษฐกิจของสหรัฐเป็นเศรษฐกิจแบบเก็งกำไร หนี้จากสินเชื่อหรือสินทรัพย์ ดังกล่าวจึงถูกแปลงเป็นหลักทรัพย์ ที่เรียกว่า CDO : Collateralization Debt Obligation และนำออกขายทั่วโลกขึ้นอยู่กับว่าใครซื้อไปบ้าง เนื่องจากความเป็นโลกาภิวัตร หลักทรัพย์ CDO จึงถูกขายไปทั้งทวีปยุโรปและ เอเซียอย่างกว้างขวางและรวดเร็วในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาจาก ปี 2001-2006 ราคาอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐมีราคาสูง เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 100-200 % จึงมีผู้ซื้อและถือตราสาร CDO อย่างมาก CDO เป็นตราสารชนิดหนึ่งที่จะจ่ายเงินสดคืนที่ได้จากการเก็บหนี้ที่นำมาค้ำประกันนั้นๆ ตราสาร CDO อาจแบ่งเป็นกลุ่มและมีหลายเกรดตามเครดิต เช่น AAA; AA; A; BBB และ BB โดย CDO เกรด AAA จะได้รับเงินคืนก่อนแต่ดอกเบี้ยไม่สูงและ BB ซึ่งได้ดอกเบี้ยสูงและกลุ่มสุดท้ายคือกลุ่มทุน (Equity) และคาดว่าในปี 2006 มีตราสาร CDO มูลค่าถึง 489,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ CDO เหล่านี้มีการแปลงเป็นสินทรัพย์ที่มีหลักประกัน (Asset Backed Securities) คือ ทำ Securitization และเมื่อเงินกู้ยืมซับไพร์มมีปัญหา CDO เหล่านี้ก็มีปัญหาขาดความน่าเชื่อถือราคา CDO ก็ตกลง เช่น กองทุนที่ลงทุนใน CDO3 ของบริษัทบีเอ็นพีพาริบาร์ซึ่งเป็นผู้จัดการ CDO รายใหญ่ของยุโรปที่มีมูลค่ารวมกันถึง 2 พันล้านยูโรและต้องหยุดการซื้อขายเมื่อราคาตกลงมาก สถาบันการเงินสหรัฐก็เริ่มระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อก็ทำให้ตลาดการเงินในสหรัฐเริ่มตึงตัว ต้นทุนการกู้ยืมเงินจึงสูงขึ้น คล้ายกับกรณีวิกฤตการเงินในปี 1997 ของไทยและเอเซีย ธนาคารกลางสหรัฐต้องอัดเม็ดเงินเข้สู่ระบบ 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ บริษัทแบร์เสติ์นและAIG: American International Group ซึ่งเป็นบริษัทประกันได้ทำการออก CDS: Credit Default Swap เพื่อขายให้แก่ลูกค้าผู้ถือ CDO เป็นตราสารประกันการชำระหนี้ แต่เมื่อเศรษฐกิจชลอตัวลูกค้า ซับไพร์ม ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ลดต่ำลง การผิดนัดชำระหนี้ของลูกค้าเริ่มขยายวงกว้างจนเป็นระบบ ทำให้ผู้ให้ประกันทั้งแบร์สเติร์นและAIG ก็ไม่สามารถชำระเงินประกัน CDO ได้สุดท้ายจึงขอเข้า Chapter 11 เพื่อเข้าสู่ขบวนการล้มละลาย วอร์เรน บัฟเฟตต์ กูรูตลาดหุ้น เคยกล่าวไว้ว่า ตราสารอนุพันธ์เป็นอาวุธทางการเงินที่มีอานุภาพในการทำลายสูง
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเมืองของไทยต่อปัญหา “ซับไพร์ม” และเศรษฐกิจโลกชลอตัวจะมีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร? ไทยควรวางแผนรับมืออย่างไรใน 3-5 ปีข้างหน้าต่อปัญหาของ ซับไพร์มและเศรษฐกิจโลก? จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าตัวชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญคือ GDP เราก็ต้องมาดูว่าอะไรที่มากระทบต่อ GDP ของประเทศ ที่แน่นอนก็คือ 2 ปัจจัยหลักด้านการเมืองภายใน ประเทศและเศรษฐกิจการเมืองโลก เราจะมองที่ปัญหาใหญ่ก่อนเพราะเราไม่สามารถควบคุมได้ก็คือเศรษกิจการเมืองต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาวิกฤตการเงินของสหรัฐจากปัญหา ซับไพร์ม สิ่งที่แน่นอนและชัดเจนคือการชลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ปัญหาการปิดตัวของธุรกิจและกิจการทางการค้าของสหรัฐอย่างต่อเนื่องที่เป็นข่าวผ่านมา เช่นการล้มละลายของ วาณิชธนกิจหรือ Investment Bankรายใหญ่อย่าง เลห์แมน บราเธอร์ส และการเข้าอุ้มบริษัทสินเชื่อขนาดใหญ่ของสหรัฐ อย่าง แฟนนี่ เมและเฟรดดี้ แมกและบริษัทประกันอย่างแบร์เสติร์นและเอไอจี ซึ่งแน่นอนว่า บริษัทขนาดใหญ่เหล่านี้มีสาขาอยู่ทั่วโลกทั้งยุโปและเอเซียรวททั้งประเทศไทยด้วยนอกจากนี้การเคาะระฆัง(Bailout) ขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลของ 3 บริษัทผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ของสหรัฐก็ส่งผลเบื้องต้นถึงธุรกิจรถยนต์สหรัฐฯที่มีฐานผลิตในไทยก็ต้องปลดลดคนงานลง การส่งออกย่อมลดลงแน่นนอน การท่องเที่ยวจากปัญหาการเมืองที่มีการปิดสนามบินและการนำมาซึ่งการชลอการลงทุนของภาคเอกชน สิ่งที่พอมองเห็นคือภาครัฐเพียงอย่างเดียวที่พอจะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้ ขอย้อนกลับไปดูสมการ
GDP = C + I + G + (X-M)
GDP ลดลงแน่นอนแต่จะเป็นเท่าไร? หรือ เลวร้ายขนาดไหน? ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเมืองภายในประเทศว่าจะเข้ามาซ้ำเติมอีกหรือไม่ ต้องยอมรับว่าในช่วงปี 2006 -2008 เป็นต้นมาการเมือง ไทยเป็นตัวซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศมาตลอด ถ้ามองในแง่ดีว่าหลังการตั้งรัฐบาลใหม่แล้วการ เมืองไทยจะนิ่งไม่มีใครออกมาซ้ำเติมเศรษฐกิจของประเทศอีก ซึ่งอาจเป็นสมมุติฐานที่ผิดแต่แรก แต่ก็ลองตั้งไว้ก่อน เมื่อพิจาณาองค์ประกอบแต่ละตัวก็พอวิเคราะห์เศรษฐกิจของไทยได้ดังนี้
- การบริโภคของประชาชน (C) จะลดลงอย่างแน่นอนถ้ารัฐบาลไม่มีนโยบายกระตุ้น คำถามว่าเพราะอะไร? สาเหตุเพราะสภาวะต่อไปนี้เศรษฐกิจจะเข้าสู่สภาวะเงิน ฝืด เนื่องจากราคาน้ำมันที่ลดลงและราคาสินค้าที่กำลังลดลดอย่างต่อเนื่องและขาดเสถียรภาพ C ของประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็น 60% ของ GDP
- การลงทุนภาคเอกชน (I) ลดลง เนื่องจากสภวะเงินฝืด ราคาสินค้าไร้เสถียรภาพด้านขาลงและอุปสงค์ของตลาดที่ลดลง การขยายธุรกิจหรือการรับพนักงานใหม่ไม่เกิดขึ้น นักศึกษาจบใหม่ยังไม่มีงานทำ คนงานเก่าบางส่วนตกงานและสัญญานเหล่านี้ได้เริ่มให้เห็นบ้างแล้ว เช่น การปลดคนงานโรงงานผลิตรถยนต์ในค่าย จีเอ็มและฟอร์ดในไทย โรงงานผลิตกล้องนิคอน ฯลฯ ปัญหาที่ตามมาคือปัญหาสังคมและด้านอาชญา กรรม
- ในส่วนของภาครัฐบาล(G) ในแง่การหารายได้ก็คงเป็นไปได้ยากเพราะรายได้ส่วนใหญของการเก็บภาษีมาจากภาษีมูลค่าเพิ่มถ้าไม่มีการลงทุนภาคเอกชนการจับจ่ายใช้ซอยของประชาชนไม่เกิดก็คงยากที่การเก็บภาษีจะเข้าเป้า
- ส่วนรายจ่ายที่เกิดจากงบประมาณของรัฐ ถ้าแบ่งเป็นรายจ่ายตามงบประมาณ (In budget) และรายจ่ายนอกงบประมาณ (Out budget) ก็พบว่ารายจ่ายตามงบประมาณ 75% เป็นงบค่าใช่จ่ายตายตัวของรัฐบาล เช่น เงินเดือน คุรุภัณฑ์ ค่าน้ำค่าไฟ ไม่เหลือพอที่จะไปกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ก็คงเหลือแต่รายจ่ายนอกงบประมาณที่ต้องกู้มาหรือการก่อหนี้สาธารณะ เพื่อสร้าง “เมกโปรเจค” แต่ก็มีคำถามว่า เครดิตของประเทศขณะนี้เป็นเช่นไร? จะมีคนให้กู้หรือไม่สำหรับโครงการขนาดใหญ่? และ Risk premium ที่เพิ่มขึ้นจากดอกเบี้ยเงินกู้ไทยจะรับได้หรือไม่?
จากผลที่จะเกิดขึ้นดังกล่าว รัฐบาลคงต้องใช้เครื่องมือทั้งการเงิน และการคลังเข้าช่วย
นโยบายการคลัง
- กระตุ้นการลงทุนในประเทศโดยลดภาษีนิติบุคคลในช่วงสั้น 1-2 ปี เพื่อกระตุ้นและ จูงใจการลงทุนของภาคเอกชน (I) แต่ไม่ควรทำยาวเหมือนอเมริกาเพราะจะเกิดผลเสียจากการเก็งกำไร
- ลดภาษีรายได้บุคคลเพื่อกระตุ้นการการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ( C ) เพราะ C คิดเป็น 60 % ของ GDP ในสภาวะปกติ
- คลัง ต้องใช้นโยบายการเงินผ่อนคลาย (Expansionary fiscal policy) ในกรณีที่รายจ่ายรัฐ > รายรับเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐบาล (G) ผ่านโครงการขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “เมกกะโปรเจก” แต่เนื่องจาก Risk Premium ของโครงการจะเพิ่มขึ้นจากต้นทุนการกู้เงินสำหรับโครงการต่างๆ ถึงแม้หนี้สาธารณะจะมาจากภาษีของประชาชนแต่เพื่อการกระตุ้นเศรษฐ กิจก็จำเป็น
นโยบายการเงิน
- นอกจากการควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในช่วง 0-3.5 % ซึ่งต่อนี้ไปไม่น่าจะกังวลเท่ากับปัญหาเงินฝืด หรือขาดสภาพคล่องของระบบการเงินที่จะตามมา
- สภาวะการเงินโลกอาจเข้าสู่สภาวะเงินฝืดถ้าเศรษฐกิจสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นอยู่ในสภาพขาลงยาว ถ้าราคาสินค้าไร้เสถียรภาพด้านขาลง
- การลดดอกเบี้ย R/P จากการที่แบงค์ชาติเพิ่งประกาศลดดอกเบี้ยแรง 1 % ทำให้ดอกเบี้ย R/P เหลือเพียง 2.75 % น่าจะเป็นการใช้เครื่องมือทางการเงินที่ถูกต้องและปรับเป้าเงินเฟ้อ ใหม่ เป็น 0.5 – 3% เป็นการแทรกแซงทางอ้อมในการซื้อพันธบัตรคืนจากธนาคารพาณิชย์ เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์นำไปปล่อยในระบบและเป็นการทำให้อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอ่อนตัวลงเพื่อกระตุ้นการส่งออก (X)
- แบงค์ชาติต้องควบคุมการไหลเวียนของเงินเข้าออกจากระบบอย่างเคร่งครัดและเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงิน


๕. การเข้าใจเศรษฐกิจการเมืองไทย ผ่านทุนจีนโพ้นทะเลในไทย และ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
อะไรคือทุนจีนโพ้นทะเล? ทำไมถึงต้องศึกษาทุนจีนโพ้นทะเล? ทุนจีนโพ้นทะเลบอกอะไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเมืองของไทยและประเทศในภูมิภาค เอเซียตะวันออกเฉียงใต้?
ที่ตั้งคำถามเพื่อความง่ายต่อการทำความเข้าใจ เพื่อการตั้งสมมุติฐานและการนำไปสู่การค้นหาข้อมูลและข้อสรุปในที่สุด คำถามอื่นๆคือคนจีนเกิดมากับการค้าขายเลยหรือเปล่า? ชาวจีนเป็นชาติพันธุ์ที่มีลักษณะวัฒนธรรมผู้ประกอบการชุดหนึ่งอยู่หรือไม่? ถ้ามีวัฒนธรรมชุดนั้นคืออะไร? การสะสมทุนเกิดขึ้นได้อย่างไร? การส่งผ่านของทุนไปสู่การเมืองในประเทศไทยได้อย่างไร?
ก่อนอื่นต้องเขาใจว่าชาวจีนก็เหมือนชาติอื่นๆ ที่มีอาชีพทั้งทำนา ประมง ช่างฝีมือ ค้าขาย และอื่นๆซึ่งเป็นไปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ นิเวศน์ ประชากรศาสตร์ โครงสร้างทางสังคม และ ความร่วมมือทางสังคมที่คนจีนนั้นๆอาศัยอยู่ ซึ่งในการพิจารณา นิเวศน์ ของประเทศจีนพอแบ่ง นิเวศน์ (ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสภาพแวดล้อม) ของจีนออกได้เป็น 4 แบบกว้างๆ
๔.๑ ถิ่นที่อยู่ที่เป็นทะเลทรายล้วนๆ
๔.๒ ถิ่นที่อยู่ที่เป็นที่ราบสูงริมน้ำซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ในสี่มณฑลใหญ่ของจีนที่อยู่สองข้างแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) เป็นแหล่งผลิตธัญพืชที่สำคัญ เช่น ข้าวโพด ข้าวสาลี และ อาหารหลักของจีนทางเหนือ นี่เป็นสาเหตุที่จีนทางเหนือกิน “หมั่นโถว” เพราะไม่มีการปลูกข้าว เพิ่งมาได้กินข้าวในช่วงราชวงศ์ ชิงที่มีการสร้างเส้นทางคมนาคมและการแปรรูปข้าวจ้าวจากทางใต้ส่งขึ้นไป มีการขุดคลองจากปักกิ่งลงไปถึงหางโจวเพื่อการลำเลียง ใบชาและข้าว ให้ราชสำนัก
๔.๓ ถิ่นที่อยู่ที่เป็นที่ราบลุ่มริมน้ำในหุบเขาคือที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ “แยงซี” ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในระบบนิเวศน์สูงมีสัตว์ป่าปลูกอะไรก็ขึ้นงอกงาม เสียแต่เพียงพื้นที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก ถ้าต้องการขยายที่ดินก็ต้องข้ามเขาไปอีกลูกหรือย้ายถิ่นฐาน ซึ่งเป็นจีนทางใต้หรือในที่ราบลุ่ม
๔.๔ ถิ่นที่อยู่ที่ราบสูงหนาวเย็นเป็นพื้นที่ที่ทำอะไรไม่ได้เลย เป็นภูเขา
โดยหลักแล้วประชากรจีนจะอยู่หนาแน่นในสองนิเวศน์คือ ถิ่นที่ราบสูงริมน้ำและถิ่นที่ราบลุ่มริมน้ำในหุบเขา สาเหตุก็คงมาจากความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ทางการเกษตรและการกสิกรรมเป็นหลักเพราะเป็นพื้นฐานของการดำรงชีพของมนุษย์และแน่นอนว่าบริเวณนิเวศน์ที่เป็น ทะเลทรายและที่ราบสูงหนาวเย็นย่อมมีผู้อาศัยอยู่น้อยหรือไม่มีเลย เพราะความยากลำบากต่อการดำรงชีวิตและคมนาคมดังนั้นก็พอสันนิษฐานเบื้องต้นด้ว่าชาวจีนส่วนใหญ่ก็มีอาชีพเกษตรและกสิกรรมโดยทำการเพาะปลูกและทำการประมงหรือเลี้ยงสัตว์เพราะอาศัยแหล่งน้ำจากแม่น้ำฮวงโห และแยงซี นิเวศน์เหล่านี้นำมาซึ่งข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์การเมืองของสังคมนั้นๆ เพราะในนิเวศน์ที่สมบูรณ์สามารถบ่งบอกถึงกรรมสิทธิที่ชัดเจนในทรัพย์สินได้ว่ามีมากหรือน้อย? นิเวศน์ที่มีคนอยู่หนาแน่นและขนาดใหญ่ ความชัดเจนของกฎหมายและการปกครองมีมากหรือน้อย? ในชุมชนหนาแน่นขนาดใหญ่การใช้อำนาจทางการเมืองมีสูงหรือต่ำ? และชุมชนขนาดเล็กที่มีคนอยู่ไม่หนาแน่นจะมีความชัดเจนของอำนาจทางการเมืองสูงหรือต่ำ?
อย่างไรก็ตามความสมบูรณ์ของนิเวศน์ทั้งสองก็มีธรรมชาติที่ไม่สามารถควบคุมได้และบางครั้งก็ทำลายความสมบูรณ์ลงได้เป็นครั้งคราวเช่นภัยจากอุทกภัยโดยเฉพาะแม่น้ำฮวงโหหรือแม่น้ำวิปโยค ที่เกิดอุทกภัยสร้างความเสียหายแก่พืชไร่และชีวิตคนและสัตว์เลี้ยงอย่างมากมาย จึงมีคำพูดว่าเมืองจีนมีมังกรอยู่สองตัวถ้าจักรพรรดิองค์ใดสามารถควบคุมได้ก็จะเป็นจักพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ และมักรทั้งสองตัวก็คือแม่น้ำฮวงโหทางเหนือและแยงซีทางใต้ กษัตริย์ จิ๋นแห่งราชวงศ์ฉินเป็นกษัตริย์องค์แรกของจีนที่ควบคุมมังกรได้ตัวหนึ่งโดยการขุดคลองเชื่อมต่อแม่น้ำแยงซีเพื่อการคมนาคม
วิถีชีวิตของประชาชนจีนในสองนิเวศน์นี้ต่างหรือเหมือนกันอย่างไร? รอบบริเวณสองฝั่งแม่น้ำฮวงโหเป็นที่ราบกว้างใหญ่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกแต่เวลาเกิดอุทกภัย ความเสียหายย่อมเกิดเป็นบริเวณกว้างและมีน้ำขังเป็ระยะเวลายาวนาน ส่วนประชากรรอบๆแม่น้ำแยงซีเป็นที่ราบลุ่มริมเขาเวลาเกิดอุทกภัยหรือเกิดพายุไต้ฝุ่น น้ำจะมาเร็วและไปเร็วความเสียหายจึงต่างกันแต่บริเวณรอบที่ราบแม่น้ำฮวงโหสามารถทำเกษตรกรรมขนาดใหญ่ได้มากกว่าแม่น้ำฮวงโหจึงมีความต้องการเขื่อนขนาดใหญ่ เพื่อป้องกันน้ำท่วมและชลประทานทำให้เวลาค้นพบทางประวัติศาสตร์จะพบว่าทางเหนือแถบแม่น้ำฮวงโหมีการพัฒนาด้านเครื่องมือทางวัสดุศาสตร์ จากการพัฒนาการถึงอาณาจักรมากกว่าทางใต้ จะเห็นว่าจากระบบนิเวศน์มีส่วนให้จีนทางฮวงโห พัฒนาไปเป็นอาณาจักรหรือจักรวรรดิ แต่ทางใต้บริเวณรอบแยงซีพัฒนาไปเป็นชนเผ่าบริเวณที่มี นิเวศน์อุดมสมบูรณ์มักจะเอื้อให้เกิดช่างฝีมือเพราะเกิดแรงงานส่วนเกินเหมือนคำพูดที่ว่า สามคนทำสี่คนกิน ในครอบครัวหนึ่งจึงเกิดแรงงานส่วนเกินซึ่งตามหลักการของ มาร์กซิส (Marxism) แรงงานส่วนเกินนำไปสู่การผลิตนอกภาคการเกษตร แต่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์น้อยทำการผลิตอย่างไรก็ยังไม่พอกินโอกาสที่จะเกิดแรงงานส่วนเกินได้ยากดังนั้นแรงงานส่วนเกินในแถบลุ่มน้ำ ฮวงโหจึงเกิดช่างฝีมือเพื่อผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ส่วนแรงงานส่วนเกินในแถบแยงซี มักจะถูกบีบบังคับให้เดินทางออกจากถิ่นฐานเดิมไปขยายที่ทำกินในถิ่นใกล้เคียงอื่นๆหรือทำการค้าขายเพราะพื้นที่เดิมมีขนาดไม่ใหญ่เป็นที่ราบลุ่มในหุบเขา
จะเห็นว่าแรงงานส่วนเกินของทั้งสองนิเวศน์มีการนำไปใช้ในการพัฒนาเศรษกิจในแนว ทางที่แตกต่างกันคือในแถบ ฮวงโห มักเกิดช่างฝีมือไม่ต้องอพยพไปหาที่ทำมาหากินใหม่เพราะมีที่ราบกว้างขวางแต่แรงงานส่วนเกินของ ประชากรแถบแม่น้ำแยงซีต่างกันเนื่องจากพื้นที่ที่มีขนาดเล็กและจำกัดถ้าจะขยายพื้นที่หากินก็อาจต้องข้ามเขาไปบุกเบิกที่ใหม่หรือทำให้เกิดการเดินทางหากินต่างถิ่นนำมาซึ่งการค้าขาย ถามว่าทำไมแรงงานส่วนเกินจึงต้องดิ้นรนทำงานในเมื่อ สามคนทำสี่คนกิน? ต้องไม่ลืมว่าแม้พื้นที่รอบๆแม่น้ำทั้งสองสายจะอุดมสมบูรณ์ แต่ภัยธรรมชาติก็นอกเหนือการควบคุมของมนุษย์ จึงเกิดคำใหม่อีกคำว่า 5 ปีทำได้ 3ครั้ง ตีความว่าในห้าปีมักจะเกิดภัยธรรม ชาติถึงสองครั้งจึงทำเกษตรกรรมได้เพียงสามปีในห้าปี เพื่อความมั่นคงปลอดภัยและรับประกันด้านเศรษฐกิจเป็นแนวคิดด้านการสร้างความมั่นคงและการประกันทางเศรษฐกิจ แรงงานส่วนเกินจึงมีหน้าที่สร้างสิ่งที่รับประกันทางเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดความมั่นคงของครอบครัวและชุมชนโดยการสร้างหรือการค้าขาย การหาผลิตผลอื่นๆเพิ่มเติมจากความสมบูรณ์เดิม
ดังนั้นการเกิดพ่อค้าหรือการค้าขายอาจเกิดจากการขาดแคลนสินค้าบางอย่างที่ท้องถิ่นนั้นๆไม่มีหรือการสร้างความมั่นคงให้กับระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเอง ในขณะที่จีนทางเหนือหรือตอนบนก็ยากต่อการพัฒนาเป็นพ่อค้าในยุคนั้นเพราะเป็นอาณาจักรมีการก่อสร้างมากมาย เช่นเขื่อนขนาดใหญ่ จึงมักผลิตช่างฝีมือชั้นสูงที่มีความรู้ในการก่อสร้างมากมาย ตลอดจนการชลประทาน และการสงคราม ดังนั้นวิวัฒนาการของการค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าในสองนิเวศน์นี้จึงมีความแตก ต่างกันโดยสิ้นเชิงเหมือนกับมีคนตั้งคำถามว่าทำไมชาวดัชจึงค้าขายเก่งส่วนหนึ่งก็มาจากสภาพ แวดล้อมทางนิเวศน์หรือ ชาวยิวทำไมค้าขายเก่งก็เกิดจากการกระจัดกระจายทางนิเวศน์เช่นกันหรือ อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมทางนิเวศน์ที่ทุรกันดารหรือขาดแคลนสินค้าก็ทำให้เกิดการค้าต่างแดนได้ ตัวอย่างเช่นมณฑล “อันฮุย” ซึ่งด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับ “ซูโจว” ที่มีชื่อเสียงด้านผ้าแพรไหมอีกด้านติดกับ “เจ้อเจียง” ซึ่งมีเกลือและติดกับ “ฮกเกี้ยน” ซึ่งมีชาคุณภาพดีลงมาทางใต้ที่ติดกับ “เจียงซี หรือ กังไส” ซึ่งมีเครื่องกระเบื้องหรือเครื่องปั้นดินเผาที่มีชื่อเสียง “อันฮุย” ซึ่งเป็นเมืองกันดารไม่มีทรัพยากรหรือการผลิตอะไรที่สำคัญจึงต้องทำการค้าขาย เพื่อนำสินค้าที่ เมืองหนึ่งมีไปขายอีกเมืองหนึ่งที่ขาดแคลนและซื้อสินค้าจากเมืองนั้นกลับไปขายอีกเมือง ก็เกิดระบบการค้าข้ามแดนหรือโพ้นทะเลขึ้นได้
กล่าวสรุปได้ว่าการค้าขายของจีนมีเหตุผลมาจาก ระบบนิเวศน์ ประชากรศาสตร์ โครงสร้างสังคม สำหรับจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้พอจะแยกเป็นเชื้อสายใหญ่ๆได้ 5 เชื้อสายคือ ฮกเกี้ยน กวางตุ้ง แต้จิ๋ว ฮักหรือแคะและเชื้อสายสุดท้ายคือ ไหหลำ ชาวจีนโพ้นทะเล (Oversea Chinese) หมายถึงกลุ่มคนเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่นอกประเทศจีน คนจีนเรีนกว่า “หัวเฉียว” หมายถึงคนจีนโพ้นทะเลที่เกิดในประเทศจีน ชาวจีนมีประวัติการอพยพไปยังดินแดนต่างๆมานานแล้ว ในราชวงค์หมิง ได้ส่งนายพล เจิ้งเหอ และคนจีนนับพันคนเดินเรือไปสำรวจทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดียซึ่งส่วนมากเป็นชาวจีนเชื้อสายกวางตุ้งและฮกเกี้ยน ชาวจีนที่เดินทางไปกลับเรือบางส่วนจะอยู่ถาวรในแต่ละถิ่นฐานที่เดินทางไปและไม่เดินทางกลับจีน ส่วนหนึ่งเกิดชุมชนขนาดเล็กในอยุธยาแต่ไม่เกิดการสะสมทุนแต่อย่างใด อีกส่วนหนึ่งของชาวจีนโพ้นทะเลเกิดในช่วงล่าอาณานิคมคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในสมัยของราชวงศ์ชิง อาณานิคมขาดแคลนแรงงานจำนวนมาก มณฑลฮกเกี้ยนและกว้างตุ้งเป็นเมืองที่มีแรงงานส่วนเกินเจ้าอาณานิคมคืออังกฤษจึงบังคับแรงงานจีนในมณฑลทั้งสองไปทำงานในประเทศอาณานิคมต่างๆของอังกฤษ โดยเฉพาะอาณานิคมใน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ในสมัยราชวงศ์หมิงจึงมีชาวจีนโพ้นทะเลเดินทางและบางส่วนอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ออสเตรเลียและแคนาดา
ในสมัยอยุธยาก็มีชาวจีนพ้นทะเลเข้ามาตั้งรกรากในไทยแต่ไม่ได้เป็นชุมชนหรือมีการสะสมทุนอะไร การอพยพของจีนโพ้นทะเลที่สำคัญคือระลอกหลังสงครามโลกครั้งที่สองเนื่องจาก เกิดสงครามกลางเมืองในจีน ก็มีจีนส่วนหนึ่งอพยพไปอยู่อังกฤษและฮอนแลนด์ สำหรับชาวจีนโพ้นทะเลในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนถึง 34 ล้านคนกระจายอยู่ในประเทศต่างๆ เช่น สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเวียตนาม ซึ่งอพยพเข้ามาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-19 ชาวจีนโพ้นทะเลจะรวมตัวกันเป็นชุมชนตามเมืองต่างๆเรียกว่า ชุมชนชาวจีนหรือ ไชน่าทาวน์
ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทยถึงปี ค.ศ. 2003 มีสัดส่วนถึง 12% ของประชากรไทยทั้งหมดของประเทศและแทรกตัวอยู่ในวงการเมืองเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง ค้าขาย รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ก็มีเชื้อสายจีน
คนจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย มีที่มาพอแบ่งได้เป็น 3 ช่วงเวลา คือ
๑. ช่วงอยุธยาและกรุงธนบุรี เป็นชาวจีนที่ส่วนหนึ่งมาตั้งเป็นชุมชนเล็กๆในสมัยอธุธยา ในสมัยกรุงธนพวกจีนแต้จิ๋วช่วยพระเจ้าตากสินในการกู้ชาติ ยังไม่เกิดการสะสมทุนอะไร
๒. ช่วงรัตนโกสินทร์ เกิดชุมชนพัฒนาเศรษฐกิจของจีนในไทยแต่การสะสมทุนก็เป็นเพียงเล็กน้อย บางช่วงไทยก็มีการนำเข้าชาวจีนโพ้นทะเลมาเป็นนายอากรบ่อนเบี้ย เก็บภาษี ในช่วงที่ไทยต้องการทุนในการทำสงครามกับพม่าในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ชาวจีนไหหลำเป็นชาวจีนโพ้นทะเลกลุ่มท้ายๆที่เข้ามาทำงานเป็นแรงงานสร้างทางรถไฟสายเหนือ ดังนั้นจึงมีคนจีนไหหลำบางส่วนที่ไม่เดินทางกลับกรุงเทพฯแต่กระจายอยู่ตามข้างทางรถไฟ ทำไร่ทำนา บางส่วนที่เดินทางกลับกรุงเทพฯ เป็นช่างฝีมือเป็นส่วนใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการสร้างความเจริญมากจึงเป็นโอกาสของคนจีนโพ้นทะเลที่เข้ามาทำงานด้านแรงงานในเบื้องต้นแล้วเปลี่ยนไปตามนิเวศน์และสภาพแวดล้อมที่ตนอาศัยอยู่เช่นพวกที่อยู่ริมน้ำก็มีการค้าขายทางเรือ ในสมัยรัตนโกสินทร์มีสถานีค้าขายของคนจีนอยู่ทั่วไปแต่มีจำนวนแต่ละสถานีไม่มากเพียงสถานีละ 2-3 คนเท่านั้น จึงมีคนจีนที่ร่ำรวยแต่ไม่มากพอจะเรียกได้ว่าเป็นการสะสมทุนของจีนโพ้นทะเลในไทย
๓. ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นช่วงสำคัญของการสะสมทุนของจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย จากส่วนหนึ่งที่ทหารญี่ปุ่นนำทองที่ปล้นมาจากการยึดครองจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่นำเข้ามาเป็นทุนการทำในสงคราม ก็มีจำนวนหนึ่งที่กลายเป็นทุนทางเศรษฐกิจหลังที่ญี่ปุ่นแพ้สงครามและอีกส่วนหนึ่งมาจากการถอนตัวออกไปของธุรกิจตะวันตกที่ร่วมทุนกับจีนโพ้นทะเลก็อยู่ในความครอบครองของชาวจีนต่อไปซึ่งเป็นการสะสมทุนที่สำคัญหนึ่งหลังสงคามโลกสมัยจอมพล ป. และสมัยจอมพล สฤษดิ์ ทุนจีนโพ้นทะเลในไทยมีการแข่งขันระหว่างทุนจีนเดิมที่มีความสัมพันธ์กับทหารในช่วงที่สหรัฐ อเมริกาให้ความช่วยเหลือไทยเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ ทหารมีสภาพคล่อง (ด้านทุน) ค่อนข้างสูงขณะเดียวกันรัฐบาลช่วงจอมพล ป. มีนโยบายการลงทุนในรัฐวิสาหกิจเพิ่มมากขึ้นและเกิดการแข่งขันระหว่างทุนเดิมที่พัฒนามาจากการอุปถัมภ์ของทหารกับรัฐบาลที่พัฒนารัฐวิสาหกิจและกลุ่มทหารกึ่งทหารพลเรือนขึ้นมาแข่งขัน การสะสมทุนจีนเด่นชัดมากในช่วงการให้สัมปทาน ข้อหนึ่งที่น่าสนใจของทุนจีนโพ้นทะเลในไทยคือคนจีนไม่สามารถลงทุนในที่ดินหรือมีกรรมสิทธิในที่ดินได้ในสมัยก่อน การสะสมทุนจีนจึงเป็นในรูปของทรัพย์สินหมุนเวียนเร็วคือเงินและทอง ดังนั้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คนจีนจึงมีทุนในการซื้อเครื่องจักรกลและอุตสากรรมต่อเนื่องจากชาวตะวันตก ส่วนทุนไทยเชื้อสายไทยมักมีทรัพย์สินเป็นที่ดิน ซึ่งในทางเศรษฐศาสตร์ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่ไม่มีสภาพคล่องจึงเป็นสาเหตุหนึ่งให้ทุนจีนยิ่งมีการสะสมทุนได้อย่างรวดเร็วในยุคนี้โดย เฉพาะในยุคที่มีการเปิดให้สัมปทานแก่เอกชนในการลงทุน
ความสำคัญของการสะสมทุนจีนโพ้นทะเลในไทยพัฒนาการไปสู่การส่งผ่าน (Transfer) ทุนเหล่านั้นเข้าสู่ระบบการเมืองในรูปแบบต่างๆ ซึ่งพอแยกได้ถึงการพัฒนาการส่งผ่านในรูปแบบต่างๆคือ
๑. การส่งผ่านทุนเพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง ในสมัยเผด็จการทหารที่ประชา ธิปไตยยังไม่แบ่งบาน บริษัทเอกชนไม่ได้เล่นการเมืองเองแต่เป็นนายทุนให้แก่พรรคการเมือง บริษัท ธนาคาร และสถาบันการเงินส่วนใหญ่ก็มาจากกลุ่มสะสมทุนจีนโพ้นทะเลไทยเป็นส่วนใหญ่
๒. การส่งผ่านทุนโดยการส่งตัวแทนของกลุ่มทุนเข้าสู้การเมืองเพื่อดูแลกลุ่มธุรกิจเจ้าของทุนกลุ่มธุกิจก่อสร้าง กลุ่มเกษตร กลุ่มอุตสาหกรรม เกิดขึ้นมากหลัง 14 ตุลคม พ.ศ.2516 (ค.ศ.1973)
๓. การเริ่มไม่ไว้วางใจในตัวแทนกลุ่มหลังเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ปี 2535(ค.ศ.1992) ที่มองเห็นว่าตัวแทนกลุ่มที่ส่งเข้าสู่การเมืองสร้างผลประโยชน์ให้แก่กลุ่มไม่ได้มาก จึงเกิดแนวคิดตัวใครตัวมันในการส่งผ่านทุนเข้าสู่การเมืองด้วยทุนตัวเองและเข้าสู่การเมืองเอง จนเกิดเป็น บุปเฟ่คาบิเน็ต ในสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหวัณ เพราะเป็นตระกูลที่มีการสะสมทุนสูงและพร้อมที่จะลงมาเล่นการเมืองเองหรือเป็นทุนขนาดใหญ่ เช่น อดีตนายกรัฐมนตรี ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่เป็นทุนขนาดใหญ่ด้านโทรคมนาคม เป็นการสะสมทุนของจีนโพ้นทะเลเชื้อสายจีน “ฮัก หรือ แคะ” ในรุ่นพ่อบ้างและมาเจริญสูงสุดจากการเข้าสู่ทุนจากธุรกิจสัมปทานของรัฐ
๔. หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) ทุนการเมืองเริ่มเปลี่ยนมาเป็นการใช้ตัวแทนแบบ Nominee เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบตามข้อกฏหมายรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007) และการรับโทษในคดีอาญาของนักการเมือง ที่ ดร.ทักษิณ ต้องรับโทษ
ทุนจีนโพ้นทะเลที่พัฒนาและส่งผ่านเข้าสู่การเมืองมีการพัฒนการต่อไปตาม บริบทของ กฏกติกาของกฏหมายและรัฐธรรมนูญ ดังนั้นในอนาคตตราบใดที่การเมืองกับทุนยังแยกกันไม่ได้กับระบบการเมืองไทย ที่ต้องอาศัยระบบอุปถัมก์ ทุนและการเมืองย่อมมีการพัฒนาไปตามบริบทของกฏกติกาของไทย
พอสรุปได้ว่าจีนโพ้นทะเลเข้าสู่สังคมไทยในแต่ละช่วงแต่ละสมัยก็มีช่องว่าง ทางการตลาดที่แตกต่างกัน จึงเอื้อให้เกิดอำนาจในการสะสมทุนที่แตกต่างกัน ตอนที่เป็นสถานีการค้าก็ยังไม่มีการสะสมทุน คนที่เป็นขุนนางในราชสำนัก ไทยก็มีเพียงการโดยสารพ่วงเรือค้าขาย เริ่มมีการสะ สมทุนบ้าง คนจีนที่เข้ามาเป็นนายภาษีอากร ก็อีกแบบหนึ่ง การผูกขาดค้าฝิ่นก็เริ่มสะสมทุนได้มากเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังน้อยกว่ายุคสะสมทุนจากสัมปทานของรัฐ การรับช่วงธุรกิจจากยุโรป ตะวันตก ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลและการสะสมทุนหลังสงครามโลกครั้งที่สองมีการขยายตัวของการสะสมทุนได้มาก ดังนั้นการสะสมทุนจีนโพ้นทะเลในไทยจึงขึ้นอยู่กับโอกาสและเงื่อนไขของเหตุการณ์ ไม่ได้อยู่ว่าเป็นจีน แต้จิ๋ว ฮกเกี้ยน แคะ กวางตุ้ง หรือไหหลำหรือชุดวัฒนธรรมหนึ่ง
จีนโพ้นทะเลในภูมิภาคอื่นหรือเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีการสะสมทุนตามบริบทของ นิเวศน์ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมืองของประเทศนั้นๆ ซึ่งก็จะมีการค้าขายหรือทำธุรกิจตามช่องว่างของการตลาดในประเทศนั้นๆแต่ก็เป็นทุนจีนโพ้นทะเลที่สำคัญในการขยายเศรษฐกิจของประเทศจีนในช่วงต้นๆของการเปิดประเทศ ของเติ้ง เสี่ยว ผิง เช่น ทุนกวางตุ้งที่สะสมอยู่มากมายในฮ่องกง ก็กลับไปลงทุนในเขตพิเศษที่ เซินเจิ้น กับ จูไห่ ส่วนทุนฮกเกี้ยนที่เป็นทุนที่สะสมอยู่มากมายในไต้หวัน และกลุ่มอาเซียน เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ อินนีเซีย ในเขตพิเศษ ซัวเถา หรือ ซันโถ เป็นเขตดึงดูดทุน แต้จิ๋ว ที่เป็นทุนสะสมอยูในเอเซียอาคเนย์เช่นกัน เช่น ในไทย ลาว กัมพูชา และ เวียตนาม ส่วนทุนไหหลำ มีอยู่ทั่วโลก ทุนจีนโพ้นทะเลมีคุณูปการต่อการพัฒนาเศรษกิจจีนในช่วงเปิดประเทศใหม่ๆ หรือกล่าวได้ว่าในทศวรรษแรกๆที่จีนเปิดประเทศปีค.ศ. 1979 การลงทุนจากต่างประเทศในจีนช่วงแรกส่วนใหญ่ล้วนมาจาก “ทุนจีนโพ้นทะเล”










หนังสืออ่านประกอบ ตามเนื้อหาของบันทึกคำบรรยาย
1. รศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์. ความคืบหน้าการเจรจาเขตการค้าเสรีของไทย และ Strategic Economic War Game เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา.รม 614 เศรษฐศาสตร์การเมืองไทย โครงการปริญาโทสาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ ภาค 2/2551
2. รศ. ดร.สมภพ มานะรังสรรค์. จีน มหาอำนาจในศตวรรษที่ 21 เศรษฐกิจหลังยุคปฏิรูปกรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง, 2546.
3. รศ. ดร.สมภพ มานะรังสรรค์. ทุนโลกบุกจีน กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน, 2551.
4. รศ. ดร.สมภพ มานะรังสรรค์. ธุรกิจ จีน ในต่างแดน กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน, 2551.
5. รศ. ดร.สมภพ มานะรังสรรค์. Thailand and Global Economy เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา.รม 614 เศรษฐศาสตร์การเมืองไทย โครงการปริญาโทสาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ ภาค 2/2551
6. รศ. ดร.สมภพ มานะรังสรรค์. Thailand and Global Economy เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา.รม 614 เศรษฐศาสตร์การเมืองไทย โครงการปริญาโทสาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ ภาค 2/2551วีณา ศรีธัญรัตน์ อารยะธรรมตะวันออกและตะวันตก กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร, 2548.
7. วรศักดิ์ มหัทธโนบล. เศรษฐกิจการเมืองจีน กรุงเทพมหานคร: สถาบันเอเซียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549.
8. ผศ. พรชัย ตระกูลวรานนท์. เศรษฐศาสตร์การเมืองไทย เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา.รม 614 เศรษฐศาสตร์การเมืองไทย โครงการปริญาโทสาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ ภาค 2/2551อุกฤษฏ์ ปัทมานันท์. การศึกษาเปรียบเทียบบทบาทสหรัฐต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไทย ทศวรรษ 1960 และ 1990 กรุงเทพมหานคร: สถาบันเอเซียศึกษา, 2544.
9. Dr. Sompop Manarungsan. US Financial Melt-Down: Causes and Consequences .Faculty of Economics. Chulalongkorn University.
10. http://en.wikipedia.org/

[1] Wu แปลว่า not being, not have หรือ without และ Wei แปลว่า act, do, govern or effort, serve as Wu Wei คือ การกระทำตามธรมชาติ เช่น การโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ โดยดวงอาทิตย์ไม่ได้ทำอะไร เต๋า มองว่า ดาวเคราะห์ “do” this revolution, but without “doing” it. ในทางเศรษฐกิจการเมืองคือปล่อยให้ประชาชนทำตามธรรมชาติของมันเช่นการค้าขายโดยปราศจากการแทรกแซงของรัฐ
[2] เกิดในสมัยจักรพรรดิ ฮั่นหวู่ตี้ (Wu Ti) ปี 138 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นเส้นทางค้าขายระหว่างจีน และ ตะวันตก ชาวตะวันตกสนใจผ้าไหมจีน และ จีนก็สนใจม้าของตะวันตก
[3] ตัวชี้วัดหนึ่งของเศรษฐกิจจุลภาค คือ ต้นทุนรวมของการผลิต หรือ บริการ Total cost = Fixed cost + Variable cost
[4] GDP โลก USD 42 Trillion (ล้านล้าน) และ GDP ของสหรัฐฯ USD 13.7 Trillion (ล้านล้าน) ในปี 2006 และ GDP โลกในปี 2007 เป็น USD 54.48 ล้านล้าน, GDP ของสหรัฐ USD 16.9 ล้านล้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น