วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

3.รม. 623 รัฐธรรมนูญกับสถาบันการเมือง

รม 623 รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง

อ.ธเนศ วงศ์ยานนาวา
๑. การปกครองด้วยกฎหมาย (The rule of law) ย่อมดีกว่าการปกครองด้วยมนุษย์ (The rule of man) มนุษย์ ไม่มีความเชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน เสรีนิยมต้องการควบคุมมนุษย์ภายใต้กรอบของ กฎหมาย และรัฐธรรมนูญ บนปทัสถาน (norm) ของ ความถูกต้อง และเที่ยงธรรม (Validity) แต่ Norm ของเสรีนิยม ก็ยังอยูบนพื้นฐานของความปราถนา (desire) ในความเห็นของ Chantal Mouffe เมื่อมีแรงปรารถนา บนปทัสถานแล้ว ก็ไม่สามารถแก้ความขัดแย้งทางการเมืองได้ ดังนั้นกฎหมายของมนุษญืจึงเป็นเพียงตัวแทน (representative) ที่เลียนแบบพระเจ้าเท่านั้น จึงหาความยุติธรรมไม่ได้ ดังนั้นกฎหมายจึงเป็นของเทียม (artificial)
๒. กฎหมาย ความรุนแรง และ ความยุติธรรม
ความยุติธรรมและ กฎหมาย เป็นคนละสิ่งกัน มนุษย์เป็นผู้ตีความกฎหมาย ย่อมจะหลีกหนี ค่านิยม ผลประโยชน์ และ ศีลธรรม ไปไม่พ้น
Hans Kelsen เห็นว่า ความยุติธรรมเป็นสิ่งสัมบูรณ์ (Absolute) แต่กฎหมายเป็น สิ่งสัมพัทธ์ (Relative) จึงมีคำถามว่าทำอย่างไรให้กฎหมายบริสุทธิ์ (pure law) คือปราศจากค่านิยม ผลประโยชน์ และ ศีลธรรม เพื่อให้กฎหมาย validity ดังนั้น กฎหมายต้องมี กฎ ที่มีอำนาจสูงกว่ามารองรับหรือให้ความสมเหตุเหตุผล (Justification) ซึ่งเสรีนิยม มองว่า มันคือ รัฐธรรมนูญ และให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ดังนั้น รัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถอ้างอิงกฎหมายอะไรที่สูงไปกว่ามันได้ เพราะมันถูกวางให้เป็น กฎหมายสูงสุด รัฐธรรมนูญ จึงกลายเป็นกฎหมายที่ไม่บริสุทธิ เพราะมันต้องพึ่งพาสิ่งอื่นที่ไม่ใช่กฎหมาย (Extra Legality) เช่น อำนาจอธิปไตย
๓. ความเป็นประชาชน ไม่ได้ต้องการกฎหมาย เพราะในระบอบเสรีประชาธิปไตย กฎหมายมาจากประชาชน แต่การเป็นประชาชนได้นั้นต้องการรัฐ แต่รัฐไม่ได้ต้องการประชาชน(แต่นักการเมืองต้องการประชาชน) รัฐต้องการประชากร (Population) เพราะประชากรมีลักษณะที่เป็นพลวัตร คืเกิดแก่เข็บตาย
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของอำนาอธิปไตย ที่แบ่งแยกไม่ได้นั้น ทำให้ผู้คนที่แตกต่างกันสามารถมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ รัฐจึงทำให้คนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ ประชาชน เมื่อไม่มีรัฐแล้ว ประชาชน ก็เป็นเพียง ฝูงชน (Multitude)
๔. สภาวะของ “การเมือง” และ “กฎหมาย” ทำให้รากฐานของการปกครองที่ต้องการปกครองด้วยกฎหมาย กลับไปสู่สภาวะไร้กฎหมาย แต่ด้วยแรงปรารถนา (desire) ทางการเมืองที่ต้องการปกครองด้วยกฎหมาย หรือ รัฐกฎหมาย (legal State) การเมืองจึงกลายเป็นการรวมทุกอย่างเบ็ดเสร็จ (Totalization) ให้มาเป็นการเมือง จนทำให้ประโยค “ทุกสิ่งทุกอย่างเป็การเมือง” เป็นจริงขึ้นมา
๔. แนวคิดทางกฎหมายเองตั้งอยู่บนรากฐานที่ต้องการเป็นเอกเทศ ทีบริสุทธิไม่แปดเปื้อน แต่ไม่สามารถเป็นได้เพราะไม่สามารถรัษาความเป็น อัตตกฎ (Autonomous) ได้ เพราะการจะเป็น “กฎ” ขึ้นมาได้กลับต้องอาศัยสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่กฎหมาย (Extra Legality) เช่น การเมือง เพราะ อำนาจรัฐธรรมนูญ และ อำนาจในการสร้างรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจคนละชนิดกัน จึงเกิดสภาวะ ที่ไม่จบสิ้น (endless circle) ของการต่อสู้ว่าอะไรเหนือกว่ากันระหว่าง “กฎหมาย” และ “การเมือง”
๕.อำนาจในการสร้างรัฐธรรมนูญจึงเป็นอำนาจนอกกฎหมายที่กลับไม่ต้องการรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจจริงๆ หรือ อำนาจดิบ เช่น นักปฏิวัติในฝรั่งเศส อำนาจทหารที่ยึดอำนาจ
๖. คำกล่าว ของ Hannah Arendt สรุปได้ว่า คณะกรรมการร่างกฎหมาย (หรือ รัฐธรรมนูญ) นั้น ปราศจากความเป็นรัฐธรรมนูญ (unconstitutional) หมายความคือ ไม่เป็นไปตาม หรือ ไม่ ตรงกับ รัฐธรรมนูญ ของสถาบันทางการเมือง ของประเทศ[1] ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่มารวมตัวกันเพื่อร่างรัฐธรรมนูญ นั้น คือไม่มีอำนาจอันชอบธรรมมารองรับ เพราะขาดเหตุผล (rationality) ของการเป็นตัวแทนของประชาชน (คำถาม ว่าอะไรคือมาตรฐานที่จะตัดสินว่าคณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นตัวแทนของประชาชนทั้งประเทศ?) อะไรคืออำนาจสัมบูรณ์(Absolute Power) อันเป็นอำนาจตัดสินสุดท้าย(Ultimate)ที่สร้างความเป็นเอกภาพ ของการเป็นตัวแทนของประชาชน?
๗. อย่างไรก็ตามในการ่างรัฐธรรมนูญก็มักจะเกิดจากการใช้ความรุนแรง เช่น การขับไล่ผู้ปกครองประเทศเดิม การปฏิวัติ รัฐประหาร คงยังไม่ต้องถามแม้แต่ความชอบธรรมด้วยซ้ำไป เพราะเป็นความชอบทำ อยู่แล้ว
๗. อำนาจประอธิปไตยของประชาชน ที่แสดงถึงลักษณะของประชานิยม (populism) ก็ยังมีผู้คัดค้านว่าไม่ใช่อำนาจสูงสุด เพราะสิ่งสำคัญสำหรับ เสรีประชาธิปไตย ก็คือ “สิทธิ” ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในทรัพย์สินส่วนตัว สิทธิในความเท่าเทียมกัน สิทธิของผู้เสียเปรียบทางสังคม จึงเกิดคำถามอีกว่า “อำนาจอธิปไตยกับสิทธิ อะไรใหญ่กว่ากัน ?”


๘.ข้อถกเที่ย เรื่อง “สิทธิ” ที่เป็นฝ่ายสากลนั้น ยืนยันว่าไม่ควร คำนึงถึง จารีต และ วัฒนธรรม ท้องถิ่น เช่น ศาสนา และ วัฒนธรรม ท้องถิ่นเพราะ สิ่งเหล่านั้นเป็น อำนาจของรัฐท้องถิ่น และ อำนาจของวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่อีกฝ่ายยืนยัน ว่าสามารถผ่อนปรนให้สอดคล้องกับจารีต วัฒนธรรมท้องถิ่นได้ ยอมรับความแตกต่างด้วยความอดกลั้นได้ ตามกรอบความคิดเสรีนิยมของ John Rawls โดยยอมให้ท้องถิ่นมีกระบวนการตัดสินใจกันเองว่าจะจัดการอย่างไร เพราะในขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่ากรอบคิดเสรีนิยมนั้นเป็นเพียงกรอบความคิดที่เกิดขึ้นจากกรอบคิดและวัฒนธรรมเฉพาะอันเท่านั้น ดังนั้นจึงมีฝ่ายที่สาม (ไม่ยึดในหลักของเสรีนิยมและสิทธิ) ที่เห็นว่า สิทธิมนุษชน เป็นกลไกของการแทรกแซงอำนาจอธิปไตยของรัฐ จึงมีการกล่าวในเรื่องสิทธิมนุษชนว่า “ สหประชาชาติไม่ฝ่พ่อ”
๙. ตัวแทน- ผู้ถูกแทน- ที่แทนไม่ได้ ระบอบประชาธิปไตย เชื่อว่า อำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดมาจากประชาชน รัฐธรรมนูญ เป็น กฎหมายสูงสุด เป็นอำนาจอธิปไตย แล้วรัฐธรรมนูญร่างโดยประชาชน ? ดังนั้น “ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ” จึงเป็น “ตัวแทนประชาชน” ที่ถูกสร้างขึ้นมา จากอะไรก็ตาม เช่น จากคณะรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ดังนั้น “ผู้ที่ถูกแทน” คือประชาชน จึงเป็นของเทียม (artificial representative) ดังนั้น การ ถูกแทนที่ แบบนี้ เป็นลักษณะของ ฟาสซิสม์ มากกว่าเสรีประชาธิปไตย ดังนั้นระบบตัวแทน เป็นกรอบคิดของ อภิสิทธิ์ชน (aristocracy) มากว่าจะเป็นระบบเสรีนิยม ดังนั้นการมีตัวแทน แล การเป็นตัวแทน จึงไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นประชาธิปไตย เพราะระบอบเสรีประชาธิปไตยสมัยใหม่ แม้จะเน้นการมีตัวแทน ไม่ยึดหลักการปกครองโดยตรง แต่เป็นกรอบคิดเรือ่งความยินยอม (consent) เป็นหลักในการปกครอง
คำถาม ระบบตัวแทน เป็นปะชาธิปไตย หรือ ไม?(ระบบตัวแทน เป็นกรอบคิดสมัย ยุโรปกลาง ไม่ใช่ประชาธิไตยของกรีกโบราณ ในศตวรรษ ที่ ๑๓ และ ๑๔)
๑๐. กรอบความคิดเรื่อง “การกระทำในนาม” เป็นความคิดมาแต่สมัยโรมัน ที่ยอมให้ผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน แต่งตั้งคนอื่นทำหน้าที่ในนามตน[2] และ ต้องรับผิดชอบต่อการกระทำ ที่เกิดขึ้น จากคนอื่นๆ ที่ตนแต่งตั้งนการทำหน้าที่ร่วม Thomas Hobbes แสดงแนวความคิดเรื่องตัวแทน ผ่าน ทางบทละคร เรื่อง Leviathan (ลี-ไว-อะ-ทาน) (ข้อคิดของนักศึกษา ถ้าตัวแทน และ ผูกระทำแทน มีช่องว่างของการกระทำแทน ยังถือเป็นตัวแทนได้หรือไม่? นักศึกษามองว่า ความเป็นตัวแทนน่าจะมี Degree หรือ องศา ของความเป็นตัวแทน ว่าใกล้เคียงกับ ผู้ถูกแทนหรือไม่ ) เพราะการกระทำแทนเป็นการเลียนแบบบุคคล (Personating) ตัวละคร ก็เป็นการกระทำ แทน ดังนั้น “การแสดง” กับ “ของจริง” ก็ไม่เหมือนกัน เป็นสิ่งที่มีช่องว่าง การแสดงที่แนบเนียนน่าจะถือเป็นตัวแทนได้หรือไม่
๑๑. การเป็นตัวแทนเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบของการมอบอำนาจ (Authorization) ระหว่างผู้ปกครอง และ ผู้ถูกปกครอง และ ถ้าสามารถมอบอำนาจให้กับสถาบันการเมืองที่เป็น “อมตะ” การเป็นตัวแทนภายใต้กรอบสัญญาประชนะชาคม นั้น จะกลายเป็นสิ่งที่คงที่ไม่เปลี่ยนแลง เป็นแนวคิดสมัยกลางของโรมัน ในการในการนำความคิดด้านการเป็นตัวแทน ไปเชื่อมเข้ากับ สถาบันกษัตริย์ ในกรอบคิดที่ว่าสถาบันกษัตริย์ไม่มีวันตาย หรือเปลี่ยนแปลง แต่กษัตริย์ต้องตาย เช่นเดียวกับ ผู้ถูกแทน หรือประชาชน ดังจะเห็นได้จากภาพยนตร์เรื่อง “The Queen” ขณะที่ Tony Blair เข้าไปพบพระราชินีอังกฤษ พระนางเจ้า อลิซาเบ็ท พระองค์รับสั่งว่า ในรัชกาลของพระนาง เก้าอี้ที่ท่าน นายกนั่ง มีนายกนั่งมาแล้วเป็นสิบ คน คือ แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงนายกมามากมาย แต่กษัตริย์ ก็จะยังคงเป็นองค์อธิปัติย์ คนเดิม (ข้อคิด ผู้ใช้อำนาจองค์อธิปัติย์ ของอังกฤษอยู่ใด้ จากการปรับตัวให้เป็นไปตามความต้องการ ของ ผู้ถูกแทน และ อยู่ใต้กฎหมาย ใช่หรือไม่? สถาบันกษัตริย์น่าจะเป็นตัวแทน โดยกษัตริย์ เป็นผู้ใช่อำนาจ อธิปัตย์ ผ่านตัวแทน นิติบัญญัติ บริหาร และ ตุลาการ ได้ ยืนยาวกว่าตัวแทนอื่นๆ ถ้า กษัตริย์ สามารถลดช่องว่าง ของผู้แทน และ ผู้ถูกแทนลง )
๑๒. แนวความคิดเรื่องตัวแทน ยากที่จะหาข้อสรุป ได้ว่าคืออะไร และ แนวความคิดเรื่องตัวแทนมีช่องว่างระหว่าง ตัวแทน(Representation) และ ผู้ถูกแทน (represented) แสดงให้เห็นถึงความไม่สัมบูรณ์ของการเป็นตัวแทน ซึ่งสาเหตุของความไม่ สัมบูรณ์ ไม่ได้เกิดจาก ผู้แทน และ ประชาชนเท่านั้น แต่รวมไปถึงส่วนต่างๆของสังคม ความแตกต่างกันระหว่างโครงสร้างทางสังคม โครงสร้างทางการเมืองของรัฐ
๑๓. พื้นฐานของเสรีนิยม คือ ความเป็นปัจเจกชน ที่มีคุณสมบัติ ที่แตกต่างกันจนสามารถที่จะดำรงค์ ความเป็น “เอกลักษณ์” ไว้ได้ ความแตกต่างเกิดจากรากฐานความต้องการหรือความอยากได้ อยากมี ที่แตกต่างกัน ถือว่าความต้องการที่แตกต่างทำให้ลดความขัดแย้ง ใน ทรัยพยากรที่มีจำกัดลง ในแง่ของเสรีนิยม จึงเห็นว่ามีความหลากหลายในความต้องการที่ต้องตอบสนองด้วยการมีทางเลือก (choices) นั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่า การมีทางเลือกจึงไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดความหลากหลาย แต่ยังสามารถลดความขัดแย้งลงไปในตัว
๑๔. ความ(ไม่) เป็นกลางของรัฐ ในความคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย รัฐต้องหาทางตอบสนองความต้องการของ เสรีนิยมที่แตกต่างกัน สิ่งแรกรัฐต้องมีความเป็น กลางจึงจะสามารถ เฉลี่ยการกะทำของรัฐเพื่อตอบสนองความต้องการนั้น กรอบคิดแบบ เฮเกเลี่ยน (Hegelian) ของ Hegel[3] (ในปลายศตวรรษที่ ๑๘ และ ต้นศตวรรษที่ ๑๙:1770-1831) มองว่า ประชาชนยังขาด เหตุผล (Rationality) และ ขาดสำนึกในทางปฎิบัติ ดังนั้น คนในรัฐต้องพึ่งพาความรู้ของผู้เชี่ยวชาญและกลไกของรัฐ เช่น ด้านกฎหมาย และ “ไม่เชื่อว่าประชาชนรู้ดีว่าอะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง” ซึ่งตรงข้ามกับกรอบคิดเสรีประชาธิปไตย แต่กรอบความคิด มาร์กซิส (ปลาย ศตวรรษที่ ๑๙: 1818-1883) กลับมองว่า ความไม่เป็นกลางของรัฐ และ ข้าราชการเอง รวมทั้งการเป็นเครื่องมือให้ชนชั้นของรัฐ เป็นกลไกจัดสรรผลประโยชน์ให้นายทุน มาร์กซิส มองว่าอำนาจรัฐ เป็นกลไกในการควบคุม และ จัดสรรผลประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับ กรอบคิดของเสรีนิยมที่ว่ารัฐต้องวางตัวเป็นกลาง
๑๕. ปัจเจกชนถือว่ากิจการใดก็ตามเกิดขึ้นจากการตัดสินใจของปัจเจกชนโดยไม่มีรัฐเข้าชี้นำ และรัฐจะต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
๑๖. รัฐสังคมนิยม(คอมมิวนิสต์) และ รัฐสวัสดิการ (Welfare State) สำหรับ สังคมนิยม ไม่มีปัญหา เพราะไม่ได้ยึกตามหลักการของเสรีนิยมประชาธิปไตย แตต่รัฐสวัสดิการ ของเสรีประชาธิปไตย (ในอดีต) กลับมีปัญหา เพราะรัฐเข้ามายุ่งกับปริมณฑลส่วนตัวของปัจเจกชนได้ ซึ่งเสรีนิยมมองว่ารัฐเล่นบทเป็นพ่อแม่ปกครองลูก โลกเสรีประชาธิปไตยจึงมองว่า รัฐสวัสดิการเป็น “รัฐพ่ออุปถัมภ์”Paternalistic State [4] (พา-เทอ-นาล-อีส-ติก) หลักเสรีประชาธิปไตย ต้องการแยก อาณาเขตของ ส่วนตัว และ สาธารณะ ออกจากกัน เพื่อต้องการให้รัฐเป็นกลาง เพราะ ถ้ารัฐทำตัวเป็นพ่อ (ส่วนตัว) มากกว่า การเป็นทางการ (formal) รัฐก็ไม่เป็น สถาบัน เพราะฐานะความเป็นพ่อ ไม่ต้องการความชอบธรรมทางการเมือง แบบ “สัญญาประชาคม” ที่เกิดจาก ข้อตกลงที่เป็นความสมัครใจ (Voluntary) ดังนั้น รัฐสวัสดิการจึงขัดต่อระบบเสรีประชาธิปไตย ที่ต้องมี มิติ ของ สัญญาประชาคม “Social Contract” และ ความยินยอม (Consent) ดังนั้น Paternalism จึงเป็น รากฐานสำคัญของระบบสมบูรณายาสิทฺราช (Absolutism) มากกว่าที่จะเป็นระบอบประชาธิปไตย
๑๘. ความขัดแย้ง ของ รัฐประชาชาติ ในฐานะบูรณาการทางเมืองกับเสรีประชาธิปไตย
รัฐประชาชาติ อำนาจอธิปไตยเป็นของ “ประชาชน” หรือ “ชาติ คือ ประชาชน” ในขณะที่รัฐสมบูรณายาสิทธิราช อำนาจอธิปไตย เป็นของ กษัตริย์
การดำรงอยู่ในรัฐประชาชาติไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักการของ “Rationality” เพราะรัฐประชาชาติ ต้องการความรักและศรัทธาต่อชาติมากกว่า Rationality โดยความรักความศรัทธาไม่ได้นำมาซึ่ง ความเท่าเทียมกันในทางการเมืองแต่อย่างใด เพราะรัฐประชาชาติเป็นการจัดระเบียบทางการเมืองที่ถือว่าความเป็นปัจเจกชนไม่มีความสำคัญ เท่ากับชุมชน และ กลุ่มขนาดใหญ่ ดังคำขวัญที่ว่า “ตัวตายดีกว่าชาติตาย” แต่ปัจเจกชนกลับมองว่า ความตายเป็น ลักษณะเฉพาะ (particularity) ความตายไม่สามารถมีตัวแทน (Representative) หรือ มอบให้ใครได้ เพราะ ถ้ามองว่าการมอบ” ความตาย” ให้ รัฐ (ประชาชาติ) ไม่ว่าในกรณีสงคราม หรือ เพื่อ ทำลายคนชั่ว มีสิ่งซ้อนเร้นอยู่ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น เศรษฐกิจ การรักษาอำนาจ (ตัวอย่าง กรณี สงครามอิรัค เป็น ความต้องการน้ำมัน เป็นต้น) เพราะในระบอบเสรีประชาธิปไตย การที่ประชาชนได้มอบอำนาจ หรือ เจตณารมณ์ (Will) ให้แกรัฐนั้นไม่ใช่การมอบความตาย เพราะ ภายใต้ระบอบเสรีประชาธิปไตย เน้นความเท่าเทียมกันของมนุษย์ (ที่เป็นนามธรรม) การที่รัฐเรียกร้องให้ คนหนึ่งสละความตาย นั้นเท่ากับว่า บางคนเสียอะไรบางอย่างไป ในขณะที่บางคนไม่เสียอะไรเลย ดังนั้น รัฐประชาชาติ เป็นลักษณะของความเชื่อ ที่เกิดจาก ขบนธรรมเนียม จารีตประเพณี มากว่าการใช้ เหตุผล (Rationality) ของ เสรีนิยม เพราะตามกรอบความคิดแบบ ฮ็อบเซี่ยน(Hobbesian) แล้ว การเข้ามาอยู่ในรัฐก็เพื่อหลีกหนีความตายที่เกิดขึ้นจากความรุนแรง เช่น สงคราม ดังนั้น รัฐประชาติจึงเป็นรัฐที่ละเมิดหลักการขั้นพื้นฐานของกรอบสัญญาประชาคม (Social Contract) และ หลักเสรีประชาธิปไตย
๑๙. การเมืองแบบ พรรค และ รัฐสภา- การเมืองไม่นิยมเสรี
สำหรับโลกเสรีประชาธิปไตย เมื่อเกิดความขัดแย้ง การแก้ไขปัญหาที่นิยมคือ การออกเสียง เช่น การยกมือออกเสียงใน รัฐสภา เพราะ เป็นสิ่งเดียวที่มีความหมายในการต่อสู้ทางการเมือง ของมนุษย์ ระบบประชาธิปไตยที่เน้นการเลือกตั้งโดยเสียงข้างมาก ก็เป็นการทำลายเสรีประชาธิปไตย ถ้าไม่คำนึงถึงเสีนงข้างน้อย เพราะจะทำให้ รัฐสภาเป็นการใช้ “กำลัง” ของเสียงข้างมากที่เกิดจากจำนวนที่มากกว่า และ ไม่จำเป็นต้องทำให้การเมืองเป็นเรื่องของ มิตร ศัตรู เพราะการเมืองแบบรัฐสภา การใช้ เหตุผลถูกจำกัดอยู่ภายใต้การถกเถียง ที่ไม่ต้องทำให้ใครต้องตาย



ในความคิของ คาร์ล ชมิทท์[5] มองว่า การเมืองแบบ รัฐสภา การอภิปรายถกเถียงกันในสภา เป็นเพียง “ละคร” ซึ่งเป็น “กำลัง” ของกลุ่มทางการเมือง มากกว่าความเป็นปัจเจก ตามแบบเสรีนิยม เพราะ ชมิทท์




























อธิบายคำศัพท์

Norm ปทัสถาน
Trust ความไว้วางใจ
The Rule of Law การปกครองที่เกิดจากกฎหมาย
The Rule of man การปกครองโดยมนุษย์
Righteousness ทีมีรากฐานมาจากความถูกต้อง
Rationality เหตุผล
Judgment การประเมินค่า
Normal สิ่งปกติ
Regular กฎ สภาวะทั่วๆไป
Validity ความถูกต้องและแม่นยำ
Desire แรงปรารถนา
Representative ตัวแทน
Artificial ของเทียม
Absolute สัมบูรณ์ (มักจะหมายถึงความอิสระจากอะไรบางอย่าง เช่น รัฐ รัฐธรรมนูญ เป็นต้น)
Pure Law กฎหมายเป็นสิ่งบริษุท
Causa Sui สาเหตุในตัวเอง
Justification ความสมเหตุผล
Demos ประชาชน
Political Association สายสัมพันธ์ทางการเมือง
Ethnos กลุ่มชาติพันธ์
Ethnic nation กลุ่มชาติพันธ์เป็นเกณฑ์
Kinship การเป็นเครือญาติ
Contract สัญญา
Citizenship การเป็นพลเมือง
Universal ความเป็นสากล
Particularistic มีลักษณะเฉพาะ
Collective มวลรวม
Agency ผู้กระทำ
Population ประชากร
People ประชาชน
Legal State การปกครองโดยกฎหมาย หรือ รัฐกฎหมาย
Totalizing รวบรวมทุกอย่างเบ็ดเสร็จ
Autonomous อัตตกฎ (มีอิสระปกครองตนเอง) ความเป็นเอกเทศ
Multitude ฝูงชนที่มีความหลากหลาย (ภาวะที่หลากหลาย)
Extra Legality สิ่งที่อยู่นอกเหนือกฎหมาย เช่น การเมือง
Endless circle สภาวะวงจรที่ไม่จบสิ้น
Unconstitutional ปราศจาก (ไร้) ความเป็นรัฐธรรมนูญ
Ultimate สุดท้าย เช่น อำนาจตัดสินสุดท้าย
Consent ความยินยอม
Person บุคคล
Rhetoric วาทศิลป์
Identity อัหนึ่งอันเดียวกัน หรือ เหมือนกัน
Personating การเลียนแบบบุคคล
Authorization การมอบอำนาจ
Private ส่วนตัว
Dignity ศักดิ์ศรี
Paradox ย้อนแย้ง
Direct rule ปกครองโดยตรง
Consensus ฉันทานุมัติ
Fantasy ความฝันเฟื่อง
Relativism ความสัมพันธ์นิยม
Basic Norm ปทัสถานขั้นต้น
Infinite regression การถดดอยไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด
Foundation รากฐาน
Neutrality ความเป็นกลาง
Enlightenment ความคิดแบบภูมิธรรม (เน้นเหตุผล ละ สังคม ศาสนา และ การเมือง โบราณ)
Liberation การปลดปล่อย
Welfare State รัฐสวัสดิการณ์
Paternalistic State รัฐพ่ออุปถัภ์
Genetic พันธุกรรม
Monopoly Violence ความรุนแรงแต่เพียงผู้เดียว
Integration บูรณาการ
Absolutist State รัฐสมบูรณาญาสิทธิราช
Modern State รัฐสมัยใหม่
Repressive การกดบังคับ
Will เจตนารมณ์
Professional Politician อาชีพการเมือง
Discipline วินัย
Bureaucracy ความเป็นองค์กร
Eudemonia ความสุขสุดยอด
Homogeneity ความเป็นเอกพันธ์
Modernity สมัยใหม่
Heterogeneity ความแตกต่างหลากหลาย
Differentiation จำแนกแจกแจง
Assimilation การกลืนกลายทางวัฒนธรรม
Deliberative Democracy ประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ
Public Reason การยอมรับ
Pluralism พหุนิยม
Dispersed Group กลุ่มกระจัดกระจาย
Nostalgia โหยหาอดีต
Anxiety ความหวาดวิตก
Indigenous knowledge ภูมิปัญญาความรู้ท้องถิ่น
Imagining Community จินตนาการถึงชุมชน
Dependency การพึ่งพิง
Neo Liberalism เสรีนิยมใหม่
Emotion อารมณ์ความรู้สึก
Monitoring การติดตาม
Social Movement ขบวนการทางสังคม
Civil Movement ประชาสังคม
Self Sufficient ระดับที่พอเพียง
Civil Norms บรรทัดฐานของประชาคม
Tyranny ทรราชย์
Accountability การตรวจสอบ
Reason of the State เหตุผลแห่งรัฐ
Exception ข้อยกเว้น หรือ พิเศษ
Patriot Act กฎหมายรักแผ่นดิน
Authoritarianism อำนาจนิยม


Royal prerogative พราะราชอำนาจ อำนาจพิเศษ
Judicial Review ตุลาการณภิวัฒน์
Monarchical Network เครือข่ายราชบริพาร
Constitutional Monarchy ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
Oxymoron ปฏิพจน์
Failed State รัฐล้มเหลว
Ad hoc Absolutism อำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์เฉพาะกิจ
The State of Nature ภาวะธรรมชาติ
Coercion การใช้กำลังบังคับ
Re-founding Political Society สถาปนาสังคมการเมืองขึ้นใหม่
Civil disobedience อารยะขัดขัดขืน
Majoritarian democracy ประชาธิปไตยเสียงของข้างมาก
Tyranny of the majority ระบอบทรราชของเสียงข้างมาก
Risk Society สังคมแห่งความเสี่ยง
Judicial Rule ตุลาการธิปไตย หรือ การปกครองโดยฝ่ายตุลาการ
Minority Ideological อุดมการณ์เสียงข้างน้อย
Majoritarianism ลัทธิเสียงข้างมาก
Judiciallization of Politics กระบวนการตุลาการภิวัฒน์ของระบอบการปกครอง
Power of judicial review) การตรวจสอบโดยระบบตุลาการ
Prerogative an exclusion or special right, power, or privilege
Binding ผลผูกพัน
Unconventional ฝ่าฝืนธรรมเนียมปฏิบัติ หรือ ไม่ชอบด้วยธรรมเนียมปฏิบัติ
Unconstitutional ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
Aristocracy อภิสิทธิ์ชน



[1] Not according or consistent with the constitution of body politic (as a nation)
[2] ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์แบบสากลแตกต่างจากศักดิ์ศรีของ ตัวแทนในกรอบความคิดของโรมัน เพราะ การมอบอำนาจให้กับตัวแทน บ่งบอกถึงสถานะ และ ศักดิ์ศรี (Dignity) บุคคลในฐานะมนุษญ์ที่มีศักดิ์ศรีเท่านั้น จึงจะสมควรทำหน้าที่เป็นตัวแทน
[3][3] George Wilhelm Friedrich Hegel เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน (1770-1831) เป็นตัวแทนของ German Idealism ได้รับอิทธิพลจาก (Influenced by) Aristotle, Rousseau, Kant (Immanuel Kant) และ เขามีอิทธพลต่อ Fukuyama, Lenin (Vladimir Lenin), Marx (Karl Heinrich Marx),
[4] Paternalism เป็นแนวคิดที่ว่า Pater ในภาษา ลิติน ที่แปลว่า Father จะทำการตัดสินใจ แทนคนอื่น คือ ลูก แสดงให้เห็นว่าความคิดของพ่อ ฉลาดกว่าลูก
[5] Carl Schmitt เป็น นักทฤษฎีการเมือง ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย และ ศาตราจารย์ด้านกฎหมาย ของ เยอรมันในปลาย ศตวรรษที่ 19 และ 20 งานของเขามีการถกเถียงอย่างกว้างขวางเนื่องจากเขามีส่วนพัวพันกับ”ลัทธินาซี” ศึกษากฎหมาย และ การเมือง ที่ Berlin, Munich, และ Strasbourg , Schmitt เข้าร่วมกับ พรรคนาซี (NSDAP: National Socialist German Workers Party) หรือ เรียกสั้นๆว่า Nazi Party เมื่อ May 1, 1933 ขณะสอนหนังสืออยู่ที่มหาวิทยาลัย เบอร์ลิน หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกจับในปี 1945 โดยกองกำลังของสหรัฐอเมริกา ถูกกักตัวอยู่ใน Interment Camp (สถานกักกันทีเป็นที่ฝังศพ) แห่งหนึ่ง และถูกปล่อยตัวในปีถัดมา 1946 และ เขาได้เริ่มศึกษา International Law ในช่วงปี 1950s : ผลงาน ในปี 1922 เขาเขียนบทความ “Politic Theology” หรือ เทววิทยาการเมือง ซึ่งต่อต้านเสรีประชาธิปไตยว่า “ Sovereign is he who decides on the exception.; ว่าเสรีประชาธิไตยแล้ว จริงๆ เป็น Decisionism ; ในปี 1923 เขาเขียน “The Crisis of Parliament of Democracy” ซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Ellen Kennedy เป็นกรอบความคิดว่า อาณาเขต ของรัฐเสรีประชาธิปไตย (State Sovereignty) และ อัตตกฎ (Autonomous) ขึ้นอยู่กับ การแยก ระหว่าง มิตร และ ศัตรู (The distinction between friend and enemy);

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น